Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/119
Title: THE DEVELOPMENT OF AN OCCUPATIONAL GROUP AND GREEN PRODUCTS AS A SOCIAL ENTERPRISE BASED ON LOCAL IDENTITY OF SA-MOENG DISTRICT CHIANG MAI PROVINCE
การพัฒนากลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์สีเขียวในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นของอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Sirinat Feaungchuchat
สิริณัฏฐ์ เฟื่องชูชาติ
Suriyajaras Techatunminasakul
สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล
Maejo University. School of Administrative Studies
Keywords: การพัฒนากลุ่มอาชีพ ผลิตภัณฑ์สีเขียว อัตลักษณ์ท้องถิ่น กิจการเพื่อสังคม
occupational group development green products local identity social enterprise
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this qualitative and quantitative study were to: 1) facilitate a development administration process of an occupational groups and green products based on local identity of Sa-moeng district, Chiang Mai province so as to be a social enterprise and 2) make conclusions of the development administration process of an occupational groups and green products in Sa-moeng district, Chiang Mai province. There were four product groups in this study: stevia, rice, strawberry, and herb. Data collection was done through focus group discussion, in-depth interview, observation, and questionnaire administered with 20 farmers. Content analysis and statistical analysis were employed. Results of the study revealed that needs for development of an occupational groups and green products consisted of two groups: organic stevia and organic rice. Meanwhile, strawberry and herb groups involved in- safe framing leading to organic farming. In addition, results of the study and development resulted in five aspects of development as follows: 1) Need for development for positive thinking towards production and green products. This made the farmers have good attitudes and perceive important of non-toxin production process which was environmentally friendly. 2) Managerial administration in the form of group forming to be a community enterprise as a social enterprise at the community level. 3) The production reduced chemical using to prevent hazardous to man and environment. There was the development of product design and packaging to be environmentally friendly. 4) Marketing included pricing and distribution channels focusing on online, sale promotion and product brand creation. 5) Co-investment in some activities especially packaging and marketing. For suggestions about the development administration, concerned government agencies should truly promote and support the farmers who involved in an occupational groups and green products.This included managerial administration, production, marketing, and finance/investment in order to create concreteness of an occupational group as a social enterprise. Also, the farmers was aimed to be able to develop their occupational for self-reliant and disseminate outcomes to neighboring areas.
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อจัดกระบวนการบริหารการพัฒนากลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นของอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นกลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์สีเขียวในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม และ2) เพื่อสรุปบทเรียนจากการบริหารการพัฒนากลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นของอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นกลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์สีเขียวในรูปแบบกิจการเพื่อสังคมสู่ชุมชน โดยการวิจัยได้จัดกระบวนวิจัยและพัฒนากลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นของอำเภอสะเมิง จำนวน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ หญ้าหวาน สตรอเบอรี่ ข้าว และสมุนไพร การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัย แบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม สังเกต มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้หลักการการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยแบบเชิงปริมาณได้มาจากแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกร 20 ราย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ  ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการพัฒนาเกษตรกรกลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์มีผลิตภัณฑ์สีเขียว 2 กลุ่ม คือ หญ้าหวานอินทรีย์ และข้าวอินทรีย์ ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์ที่ทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ อีก 2 กลุ่ม คือ สตรอเบอรี่และสมุนไพร ทำการเกษตรแบบปลอดภัย มุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ นอกจากนั้นผลการวิจัยและพัฒนาส่งผลต่อการพัฒนา 5 ประการ คือ 1) ด้านความต้องการ การพัฒนาด้านความคิดทางบวกต่อการผลิต ผลิตภัณฑ์สีเขียว ทำให้เกษตรกรมีทัศนคติที่ดี เล็งเห็นถึงความสำคัญของการไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) ด้านการบริหารจัดการ มีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนตามรูปแบบกิจการเพื่อสังคมในระดับชุมชน ซึ่งดำเนินการโดยคนในชุมชน เครือข่ายเกษตรกร 3) ด้านการผลิต มีการลดใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตที่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม ได้รับการพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีการสร้างเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการได้รับรองมาตรฐานการผลิต 4) ด้านการตลาด มีการตั้งราคาสินค้า ช่องทางการจำหน่าย เน้นการตลาดออนไลน์ การส่งเสริมการขาย และการสร้างตราสินค้า 5) ด้านการเงิน/การลงทุน การลงทุนร่วมกันในบางกิจกรรมโดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ และการทำตลาด ข้อเสนอแนะในการบริหารการพัฒนา คือ หน่วยงานราชการที่ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม เกษตรกรของอำเภอสะเมิง ควรให้การสนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจัง แบบครบวงจรของการประกอบธุรกิจ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการผลิต ด้านการตลาด และด้านการเงิน/การลงทุน ให้เกิดรูปธรรมกิจการเพื่อสังคม ทั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรสามารถพัฒนาอาชีพเพื่อการพึ่งพาตัวเองได้ และนำกำไรที่ได้ขยายผลในพื้นที่ใกล้เคียง
Description: Master of Public Administration (Master of Public Administration (Public Policy and Public Management))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายและการบริหารสาธารณะ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/119
Appears in Collections:School of Administrative Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6005404002.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.