Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/127
Title: DEVELOPING A MODEL OF BAAN PASAKNGAM COMMUNITY-BASED TOURISM MANAGEMENT, LUANG NUEA SUB-DISTRICT, DOI SAKET DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Sasitorn Buamali
ศศิธร บัวมะลิ
Preeda Srinaruewan
ปรีดา ศรีนฤวรรณ
Maejo University. Business Administration
Keywords: การจัดการการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยว
tourism management
community-based tourism
sustainable tourism
management of tourism activities
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of the study were to: 1) explore context of tourism management of Baan Pasakngam community; 2) analyze factors effecting community-based tourism management of Baan Pasakngam; and 3) investigate and develop an appropriate model of community-based tourism management of Baan Pasakngam. Interview schedule was used for data collection conducted with agencies participating in tourism management there. Focus group discussion was conducted with Baan Pasakngam community members. Besides, participatory observation was employed. Obtained data were sorted, arranged, and connected for an analysis. Results of the study revealed that Baan Pasakngam community had eco-system resources and culture suitable for being tourist attractions. External factors had a tendency to support the community to earn incomes from tourism management. For example, a public sector agency having a policy to urge grass root economy by using community-based tourism to generate incomes for the community. Also, an important internal factor was group members in the community who were ready to manage an organization, area, and activities of cussing on the participation between community members and tourists. In fact, the community had designed and developed activities to serve tourists in the form of the combination between tourism in natural/cultural sources and tourism based on special interest. That was, 3 forms of community-based tourism: 1) learning exchange (1 day trip and 2 days/1 night trip) and the target groups included tourists in Chiang Mai province, aged 25-55 years old, friend, lovers, and family. They were people who wanted to relax and learn rural atmosphere. 2) Educational trip on environment (3 days/2 nights) and the target groups included students/youths, This focused on an awareness of environment and operated by the community organization group i.e. community-based tourism group, forest protection group, housewife group, elderly group, and occupational group. 3) Volunteer group assisting the community and public relations was done through social media. The preparation of a model of community-based tourism was on the basis of benefit distribution in the community. The community was supported in terms of production and selling by people in the community. In addition, way of life of people in the community was conserved such as beliefs and traditions. Importantly, tourism activities in Baan Pasakngam community avoided impacts on the environment for sustainable tourism.
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของการบริหารจัดการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านป่าสักงาม 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านป่าสักงาม และ 3) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านป่าสักงาม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก กับหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในพื้นที่ชุมชนบ้านป่าสักงาม และการสนทนากลุ่มกับสมาชิกในชุมชนบ้านป่าสักงาม รวมไปถึงการสังเกตุแบบมีส่วนร่วม ส่วนการวิเคราะห์ผู้วิจัยจะใช้หลักการจำแนกข้อมูล เรียบเรียงข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลในการวิเคราะห์ตามกรอบการวิจัยที่วางไว้ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านป่าสักงามมีทรัพยากรทางระบบนิเวศ และวัฒนธรรม ที่เหมาะแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีปัจจัยภายนอกที่มีแนวโน้มในการสนับสนุนและผลักดันให้ชุมชนมีรายได้จากการจัดการท่องเที่ยว เช่น หน่วยงานภาครัฐที่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นกิจกรรมหลักในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และมีปัจจัยภายในที่สำคัญคือ สมาชิกกลุ่มในชุมชนมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการองค์กร พื้นที่ รวมถึงกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกในชุมชนกับนักท่องเที่ยว ซึ่งชุมชนได้ออกแบบและพัฒนากิจกรรมเพื่อบริการนักท่องเที่ยว ในรูปแบบที่ผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวในความความสนใจพิเศษ ออกมาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 รูปแบบ 3 โปรแกรมท่องเที่ยว คือ 1) รูปแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 2 โปรแกรมการท่องเที่ยว คือ เที่ยว1 วัน (1 Day Trip) เที่ยว 2 วัน 1 คืน (2 Day 1 Night) โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ มีอายุระหว่าง 25 – 55 ปี เป็นกลุ่มเพื่อน คู่รัก หรือครอบครัว ที่ต้องการการพักผ่อนและเรียนรู้ช่วงวันหยุดสั้นๆ ในบรรยากาศชนบท 2) รูปแบบศึกษาดูงาน มีโปรแกรมเป็นค่ายสิ่งแวดล้อม 3 วัน 2 คืน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน-เยาวชน เน้นปลูกฝังจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม ดำเนินการโดยกลุ่มองค์กรชุมชน ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน กลุ่มพิทักษ์ป่า กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มอาชีพ ซึ่งมีการแบ่งบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามความเหมาะสม และ 3) รูปแบบจิตอาสา เป็นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่จัดขึ้นเพิ่มเติมเมื่อชุมชนต้องการอาสาสมัคร โดยจะใช้วิธีประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นทางโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านป่าสักงามนั้นได้คำนึงถึงการกระจายผลประโยชน์สู่ชุมชน โดยสนับสนุนการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่ผลิตโดยคนในชุมชนเท่านั้น และออกแบบให้ยังคงวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไว้ เช่น ความเชื่อ ประเพณี อีกทั้งการร่วมรักษาทรัพยากรในพื้นที่ จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/127
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5806401051.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.