Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1282
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิทยา แก้วเจริญศรี, พุฒิสรรค์ เครือคำ-
dc.contributor.authorนคเรศ รังควัต, สายสกุล ฟองมูล-
dc.date.accessioned2023-03-29T06:45:07Z-
dc.date.available2023-03-29T06:45:07Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1282-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และ สังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 3) เพื่อความต้องการใน การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ของเกษตรกร 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความ ต้องการในการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ของเกษตรกร และ 5) เพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอ พยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเกษตรกรตัวอย่างจำนวน 380 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 39 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีรายได้รวมในครัวเรือนเฉลี่ย 15,938.59 บาทต่อเดือน จำนวนหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 123,909.21 บาท มีจำนวนพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 7.09 ไร่ มี ประสบการณ์การทำเกษตรเฉลี่ย 16 ปี มีประสบการณ์การทำเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 1 ปี มีประสบการณ์ อบรมและดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ได้รับความรู้ด้านการเกษตรจากสื่อต่าง ๆ เฉลี่ย 3 ช่องทาง เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการในการส่งเสริมการปลูกพืช สมุนไพรในระบบอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริม ปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ประสบการณ์การทำเกษตรอินทรีย์ และความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการทำเกษตรในระบบอินทรีย์ ปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรเกี่ยวกับ การส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในระบบอินทรีย์ คือ 1) การขาดองค์ความรู้ในขั้นตอนการบำรุงดินและการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชในระบบเกษตร อินทรีย์ 2) การขาดการสนับสนุนในภาคการตลาด โดยเฉพาะการกำหนดราคาและข้อมูลช่องทางการ จำหน่ายผลผลิตที่ยังไม่มีความชัดเจน 3) การขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการเงินทุนเพื่อการผลิต ในระบบเกษตรอินทรีย์ และ 4) การขาดสื่อที่มีเนื้อหาในการนำเสนอที่เข้าใจง่ายในการผลิตสมุนไพร ในระบบเกษตรอินทรีย์สู่เกษตรกร เกษตรกรมีข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรใน ระบบอินทรีย์ คือ 1) ควรมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดการการผลิตให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ 2) ควรมีการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสมุนไพรอินทรีย์เพื่อเพิ่มฐานอำนาจ ต่อรองทางการตลาด 3) ควรมีการอบรมเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนในการผลิตสมุนไพรในระบบ เกษตรอินทรีย์ และ 4) ควรมีการพัฒนาสื่อในการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ที่มี รูปแบบเนื้อหาเหมาะสมกับเกษตรกร LS C Sc Pr Mc Get d Senden_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.subjectความต้องการของเกษตรกรen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- วิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตรen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- คอลเลคชันพิเศษ -- สิ่งพิมพ์ภาคเหนือen_US
dc.subjectพืชสมุนไพรen_US
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร -- ไทย -- นครสวรรค์en_US
dc.subjectระบบเกษตรอินทรีย์en_US
dc.titleความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพรในระบบอินทรีย์ของเกษตรกร อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์en_US
dc.title.alternativeNeeds For Agricultural Extension In Growing Organic Medicinal Plants Of Farmers Phayuha Khiri District, Nakhon Sawan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:SCI-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wittaya_kaewjaroensri.pdf62.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.