Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/130
Title: A Guideline for Competency Development of Nong Pa Khrang Municipality Staff, Muang District, Chiang Mai Province
แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Nutdawan Maneeworn
ณัฐดาวรรณ มณีวร
Jongkolbordin Saenga-saphawiriya
จงกลบดินทร์ แสงอาสภวิริยะ
Maejo University. Business Administration
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: This quantitative study aimed to investigate a guideline for competency of Nong Pa Khrang municipality staff, Muang district, Chiang Mai province. A set of questionnaires was used for data collection administered with all of the staff (140 persons) and they were obtained by purposive sampling. Obtained data were analyzed by using descriptive statistic i.e. frequency, percentage, mean, and standard deviation. Hypothesis testing was conducted by using inferential statistic i.e. One-Way-Anova, t-test, and LSD. Results of the study revealed that most of the respondents were female, 31-40 years old, married, bachelor’s degree holder, and they were in the Education Division. Their years of service was 1-5 years and their salary was 5,000-10,000 baht. As a whole, the respondents had a highest level of competency in practice. Based on its details, the following were found at a highest level: code of conduct, good service, and teamwork. However, achievement intention and accumulation of occupational skills were found at a high level, respectively. For the hypothesis testing, it was found that sex had an effect on work competency of the respondents based on good service. Age had an effect on work competency of the respondents in terms of teamwork. However, educational attainment had no effect on work competency of the respondents. Meanwhile, educational attainment had an effect on different work competency of the respondents based on 4 aspects: achievement intention good service, accumulation of occupational skills, and teamwork. Occupation had an effect on work competency of the respondents based on the difference in three aspects: achievement intention, good service, and accumulation of occupational skills. Levels of line of activity and salary had an effect on work competency of the respondents based on the difference in five aspects: achievement intention, good service, accumulation of occupational skills, code of conduct, and teamwork. Years of service had an effect on work competency of the respondents based on the difference in two aspects: achievement intention and good service. For the hypothesis testing, it was found that achievement intention and accumulation of occupational skills were found at a high level. This level of opinion ranked the last two out of five aspects. Thus, the organization must improve these competencies of the respondents to be at a highest level.
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ พนักงานทุกคนที่ปฏิบัติงานอยู่ที่เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 140 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานเป็นการใช้ค่าสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างสองกลุ่ม (T-test) และ LSD ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี ลักษณะงานข้าราชการ สังกัดกองการศึกษา สายงานระดับปฏิบัติงาน (ลูกจ้างประจำ/พนักงานจ้าง) ระดับเงินเดือน 5,000-10,000 บาท และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 1–5 ปี ผลการวิเคราะห์ พบว่า สมรรถนะในการปฏิบัติงานตามความเป็นจริงของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้ง 5 ด้าน พบว่า สมรรถนะด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการบริการที่ดีอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมากที่สุดด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับมาก และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า เพศมีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง ด้านการบริการที่ดี อายุมีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง ด้านการทำงานเป็นทีม สถานภาพไม่มีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง ระดับการศึกษามีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง มีความแตกต่างกัน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ และด้านการทำงานเป็นทีม อาชีพมีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง มีความแตกต่างกัน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ สังกัด ระดับสายงาน และระดับเงินเดือน มีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง มีความแตกต่างกัน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมจริยธรรม และด้านการทำงานเป็นทีม และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานมีผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่งมีความแตกต่างกัน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านการบริการที่ดี เมื่อทำการสรุปผลจากการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าระดับความคิดเห็นเป็นสองลำดับสุดท้ายจากทั้ง 5 ด้าน ซึ่งองค์กรจะต้องมีการปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาสมรรถนะในด้านดังกล่าวให้ดีขึ้น เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะแก่พนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่งมากที่สุด
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/130
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5806401058.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.