Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/151
Title: RETAIL FLOWER SEEDS PRODUCT PURCHASING BEHAVIORS OF CUSTOMERS IN MUEANG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ขายปลีกของผู้บริโภค เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Kasidit Kumpek
กษิดิศ คำเป๊ก
Pusanisa thechatakerng
ภูษณิศา เตชเถกิง
Maejo University. Business Administration
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค, เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ขายปลีก, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
customer behaviors
retail flower seeds
marketing mix
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to investigate purchasing behavior and marketing mix factors of retail flower seeds product customers in Mueang district, Chiang Mai province. A set of questionnaires was used for data collection administered with 400 people who had purchased retail flower seeds product. Results of the study revealed that product (The species flowers meets the desired type), price (Reasonable price toward the product quality), place (Various of distribution channels) and promotion (Sales staff can give advice on product information clearly and courteous) had influence on buying decision of the respondents. Besides, it was found that the respondents bought marigold flower seeds of Chia Tai company for hobby and house decoration and they bought it by themselves (1-2 packages and expenditure was 16-50 baht per time). Most of the respondents perceived data about the flower seeds through internet and retrieve the data before making a decision to purchase the flower seeds. They purchased the flower seeds more than 3 months and would purchase it again at agro-chemistry/equipment shop. They purchased it in some occasions such as trial an error and other festivals. The most important criterion was quality of the product such as germination rate and stain purity. They picked the flower seeds by themselves and grew it in a pot. Furthermore, t-test confirmed that the demographic factors on educational attainment and an average monthly income had influence on the marketing mix factors of the retail flower seeds product.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดในการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ขายปลีก ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยแสดงให้เห็นถึงปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สายพันธุ์ดอกไม้ตรงตามชนิดที่ต้องการ ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย เช่น ทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ และ โซเชียลมีเดีย และ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ได้แก่ พนักงานขายสามารถให้คำแนะนำ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจนและมีอัธยาศัยดี มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ อีกทั้งความถี่และค่าร้อยละ ยังแสดงให้เห็นถึง พฤติกรรมผู้บริโภค ส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อ ดอกดาวเรือง เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ดอกไม้จากบริษัท เจียไต๋ จำกัด (ตราเครื่องบิน) เหตุผลที่ซื้อ คือ ต้องการปลูกเป็นงานอดิเรกและตกแต่งบ้าน กลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ ตนเอง ปริมาณในการซื่อต่อครั้งโดยเฉลี่ย คือ 1 - 2 ซอง ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งโดยเฉลี่ย คือ 16 - 50 บาท ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์จากสื่อ คือ อินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่ค้นหาข้อมูลก่อนตัดใจซื้อเมล็ดพันธุ์ในเรื่อง รายละเอียดของสายพันธุ์ดอกไม้ ความถี่ในการซื้อเมล็ดพันธุ์ คือ มากกว่า 3 เดือน 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ซื้อเมล็ดพันธุ์จาก ร้านเคมีและอุปกรณ์การเกตร ซื้อปลูกเฉพาะในบางโอกาส เช่น การทดลองปลูกดอกไม้, ปลูกในงานสำคัญต่างๆ เกณฑ์ที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจซื้อ คือ คุณภาพของสินค้า เช่น อัตราการงอก ความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ ลักษณะการเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ คือ เลือกหยิบสินค้าเอง และ ลักษณะการปลูกเมล็ดพันธุ์ คือ ปลูกลงกระถางหรือในภาชนะ ค่า t-test ยืนยันว่า ระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือน มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ขายปลีก
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/151
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6006401003.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.