Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/158
Title: PACKAGING DEVELOPMENT FOR CHILI PASTE KIN LUM BRAND, PHRAE PROVINCE
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำพริก ตรา “กิ๋นลำ” จังหวัดแพร่
Authors: Seksarn Intakeaw
เสกสรร อินถาเขียว
Pusanisa Thechatakerng
ภูษณิศา เตชเถกิง
Maejo University. Business Administration
Keywords: น้ำพริก
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์
ความต้องการ
chili paste
packaging development
packaging design
needs
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to perceive needs of consumers on the packaging of “Kin Lum” a chili past product. Entrepreneurs were interview to find a guideline for developing packaging and needs for packaging development based on its structure and graphic design. A set of questionnaires was used for data collection administered with a sample group of 150 customers gained by a formula of Yamane (1967). Results of the study revealed that most of the respondents was female, 36-45 years old, bachelor’s degree holder, employees, and their monthly income range was 5,000-10,000 baht. It was found that a problem encountered in packaging development of “Kin Lum” chili product was that the entrepreneurs lacked of knowledge and understanding about a marketing strategy on packaging development having its own brand but was not memorized by customers. Hence, the researcher analyzed, designed, and improved packaging to be appropriate and modern but not high production costs. That was, the packaging was changed from a plastic bag to be a white box. For the hypothesis testing, it was found that the respondents needed for from of packaging structure rather than graphic design on the package (Package 1). This was in terms of the following: the inside product must be seen clearly; clean packaging shape of bolt form and brand; and appropriateness under the packaging size. Regarding needs of consumers (Package 2), the respondents needed for graphic design on the package rather than package structure. That was, they preferred clearness of the reliable brand on a package.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์น้ำพริก ตรา “กิ๋นลำ” ซึ่งได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และความต้องการในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์  และได้สอบถามถึงความต้องการของผู้บริโภคในด้านรูปแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์และด้านการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีกลุ่มลูกค้า จำนวน 150 ราย โดยเป็นขนาดจำนวนของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในด้านที่ยอมรับได้ จึงใช้สูตรการคำนวนขนาดประชากรตามแนวของ Yamane (1967) ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง ซึ่งมีอายุระหว่าง 36-45 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน และมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 5,000-10,000 บาท โดยแบบสอบถามได้ทำการทดสอบความต้องการของผู้บริโภค 2 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์และด้านกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคที่มีบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำพริก “กิ๋นลำ” จากการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 2 ในการบรรจุผลิตภัณฑ์น้ำพริกและวางจำหน่ายในร้านการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์น้ำพริก “กิ๋นลำ” คือ ผู้ประกอบการยังขาดองค์ประกอบความรู้ความเข้าใจทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาดเกี่ยวกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ที่มีตราสินค้าเป็นของตัวเอง แต่ยังไม่เป็นที่จดจำของลูกค้าในกลุ่มต่าง ๆ ทั้งในลูกค้าและผู้บริโภครายใหม่ที่หันมาสุขภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการวิเคราะห์ ออกแบบและปรับเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมและทันสมัยสำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดในยุคปัจจุบัน  ซึ่งบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่ทำการพัฒนาขึ้นนั้นมีต้นทุนไม่สูงมากนัก ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์จากถุงพลาสติกใสมาเป็นกระดาษกล่องขาวแบบ ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ทำให้สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ข้างในได้ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อการทดสอบสมมติฐานพบว่าผู้บริโภคมีความต้องการทางด้านรูปแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์มากกว่าด้านกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ (Package 1) โดยมีความต้องการในด้านการที่สามารถมองเห็นสินค้าภายในได้อย่างชัดเจน มีรูปร่างบรรจุภัณฑ์ที่เด่นชัด ทั้งทางด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า มีความเหมาะสมตามขนาดของบรรจุภัณฑ์ ในส่วนความต้องการของผู้บริโภค (Package 2) มีความต้องการทางด้านกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์มากกว่าโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ โดยมีความต้องการในด้านความเด่นชัดของตราสินค้าบนบรรจุภัณฑ์มีรูปร่างบรรจุภัณฑ์ที่เด่นชัด ทั้งทางด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้ามีความน่าเชื่อถือ
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/158
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6006401027.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.