Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/159
Title: CUSTOMER ENGAGEMENT IN AIS BRAND, MUANG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
ความผูกพันของลูกค้า ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อแบรนด์ เอไอเอส
Authors: Ananya Ngamcharoen
อณัญญา งามเจริญ
Preeda Srinaruewan
ปรีดา ศรีนฤวรรณ
Maejo University. Business Administration
Keywords: ความผูกพัน
ลูกค้า
แบรนด์ เอไอเอส
engagement
customer
brand AIS
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to explore engagement of customers in Chiang Mai to AIS brand based on the following: confidence, integrity, pride, and passion. The sample group in this study consisted of 400 AIS brand users who had been using it for one year and above. A set of questionnaires was used for data collection and analyzed by using percentage, mean and standard deviation. For the hypothesis testing, independent T-test and One Way Anova (Scheffe’s Method) were employed. Results of the study revealed that most of the respondents were female, 15-24 years old, undergraduate students, and their Monthly allowance was less than 5,000 baht. Most of them had been using AIS brand service for 5 years and above. As a whole, the respondent engagement to AIS brand based on integrity and confidence was found at a highest level. whereas pride and passion was found at a high level. According to integrity, the respondents put the importance on standard product service and correct legal practice based on confidence. Foe pride, the respondents were proud every time they used the service. Based on passion, the respondents put the importance on continual service using. According to the hypothesis testing, it was found that sex based on integrity. Had an effect on the difference in customer engagement. Age also had an effect on the difference in customer engagement based on passion. Educational attainment had no effect on the difference in customer engagement based on confidence and integrity. Occupation and an average monthly income had no effect on the difference in customer engagement based on integrity, confidence and pride. Besides, years of service using had no effect on customer engagement based on pride, confidence and passion.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความผูกพันของลูกค้าในจังหวัดเชียงใหม่ต่อแบรนด์ เอไอเอส โดยมุ่งศึกษาความผูกพันของลูกค้าต่อแบรนด์ เอไอเอส ซึ่งประกอบไปด้วย ความมั่นใจ (Confidence) ความซื่อสัตย์ (integrity) ความภูมิใจ (Pride) และความหลงใหล (Passion) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ค่ายเอไอเอส ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ที่มีระยะเวลาในการใช้เครือข่ายแบรนด์เอไอเอสตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระจากกัน (Independent T-Test) และ การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป (One Way Anova) โดยใช้วิธี Scheffe’s Method ในการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วงระหว่าง15-24 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นนิสิต/นักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท และ ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการใช้เครือข่ายเอไอเอส ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป จากภาพรวมผู้ใช้บริการเครือข่ายแบรนด์เอไอเอส มีความผูกพันด้านความซื่อสัตย์ (Integrity) ด้านความมั่นใจ (Confidence) ต่อแบรนด์อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความภูมิใจ (Pride) ด้านความหลงใหล (Passion) ต่อแบรนด์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันในแต่ละด้านในระดับมากที่สุด คือ ด้านความซื่อสัตย์ (Integrity) ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในด้านการให้บริการสินค้าที่มีมาตรฐาน ด้านความมั่นใจ (Confidence) ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในด้านเป็นผู้ประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนกลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันในแต่ละในระดับด้านมาก คือ ด้านความภูมิใจ (Pride) ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในด้านรู้สึกภูมิใจทุกครั้งเมื่อได้ใช้บริการ และด้านความหลงใหล (Passion) ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในด้านใช้บริการกับแบรนด์อย่างต่อเนื่อง สมมติฐานปัจจัยส่วนบุคคลทั้ง 6 ปัจจัย คือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการใช้เครือข่ายเอไอเอส ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ มีการให้ความสำคัญต่อปัจจัยความผูกพันของลูกค้าที่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ อายุ มีการให้ความสำคัญต่อปัจจัยความผูกพันของลูกค้าที่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านความหลงใหล การศึกษา มีการให้ความสำคัญต่อปัจจัยความผูกพันของลูกค้าที่ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านความมั่นใจ และด้านความซื่อสัตย์ อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีการให้ความสำคัญต่อปัจจัยความผูกพันของลูกค้าที่ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านความมั่นใจ ด้านความซื่อสัตย์ และด้านความภูมิใจ ส่วนระยะเวลาการใช้เครือข่ายเอไอเอสมีการให้ความสำคัญต่อปัจจัยความผูกพันของลูกค้าที่ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านความมั่นใจ ด้านความภูมิใจ และด้านความหลงใหล
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/159
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6006401028.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.