Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/162
Title: DATA SEEKING BEHAVIORS BEFORE THE PURCHASE OF A CAR IN THAILAND
พฤติกรรมการหาข้อมูลก่อนการเลือกซื้อรถยนต์ในประเทศไทย
Authors: Khomkit Srinavakul
คมกฤษณ์ ศรีนวกุล
Manawin Songkroh
มาณวิน สงเคราะห์
Maejo University. Business Administration
Keywords: พฤติกรรมการหาข้อมูล
การเลือกซื้อรถยนต์
ประเทศไทย
data seeking behaviors
the purchase of a car
Thailand
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this survey study were to: 1) explore data seeking behaviors for the decision making to purchase a can in Thailand; 2) compare the difference in demographic traits having an effect on the data seeking behaviors; and 3) compare market mix factors having relationships with the data seeking behaviors. A set of questionnaires was used for data collection administered with 400 Thai people. Obtained data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. T-test, One Way ANOVA, LSD and linear multiple regression (stepwise) were used for the hypothesis testing. Results of the study revealed that most of the respondents were female, 20-30 years old and bachelor’s degree holders. Most of them were private company employees with a monthly income of 15,000-25,000 baht and they had 2-3 family members. They preferred to purchase a Toyota car because it saved gasoline and good engine efficiency. It took about one month for them to make a decision to purchase a car and their family had influence on it. The price range of a car to be purchased was 600,001-800,000 baht. They purchased a car at a can service center (down payment and an installment). They preferred to purchase a second hand car and use website www.CarRecent.com for data retrieval. The following were results of the hypothesis testing: The difference in demographic traits had an effect on the difference in data seeking behaviors of the respondents. That was, the difference in age, marital status, occupation, and a number of family members had on effect on the difference in the data seeking behaviors before making a decision to purchase a car. However, the difference in sex, educational attainment, and a monthly income had no effect on the difference in the data seeking behaviors. Regarding market mix factors having relationships with the data seeking behaviors, it was found that family/relatives had the multiple correlation efficiency value at 0.167 and the inaccuracy standard of the prediction was at 0.930. For sales person, the value was found at 0.582 and the value of square of multiple correlation was found at 0.399. (The inaccuracy value was at 0.677). Data from internet had a multiple correlation efficiency value at 0.412 and the square of a multiple correlation value was at 0.169. This could be concluded that the market mix factor had a relationship with the data seeking behaviors of the respondents.
การศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการหาข้อมูลก่อนการเลือกซื้อรถยนต์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการหาข้อมูลในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางด้านการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการหาข้อมูลในการเลือกซื้อรถยนต์ในประเทศไทย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตอบแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่สร้างขึ้นมาจากการเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชากรในประเทศไทย จำนวน 400 คน โดยข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามผู้วิจัยมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคำนวณทางสถิติ โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อจำแนกข้อมูลปัจจัยที่นำมาศึกษา จากนั้นผู้วิจัยได้ทดสอบสมมติฐานระหว่างต้นแปรอิสระและตัวแปรตามด้วยสถิติ T-test, One Way ANOVA, LSD และการถอดถอยเชิงเส้นแบบพหุคุณ วิธี Stepwise ผลการวิจัย พบว่าประชากรส่วนใหญ่มีเพศหญิง ส่วนอายุ ในช่วง 20-30 ปี สถานภาพโสด ส่วนระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนประมาณ 15,001-25,000 บาท อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จำนวนสมาชิกในครอบครัว 2-3 คน ใช้รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า วัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อรถยนต์ คือ เพื่อใช้ในการทำงาน ประหยัดน้ำมันและสมรรถนะของเครื่องยนต์ ระยะเวลาตัดสินใจการซื้อรถยนต์ประมาณ ภายใน 1 เดือน บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ คือ ครอบครัว ราคารถยนต์ที่เลือกซื้อประมาณ 600,001-800,000 บาท สถานที่ที่ใช้ในการเลือกซื้อรถยนต์ คือศูนย์บริการรถยนต์ วิธีการชำระค่ารถยนต์ โดยการวางเงินดาวน์ ผ่อนรายเดือน ใช้รถประเภทมือ 2 และเว็บไซต์ที่ท่านเลือกเข้าดูข้อมูลรถยนต์ก่อนการตัดสินใจซื้อ คือ www.CarRecent.com ผลการทดสอบสมมติฐาน 1) ประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการหาข้อมูลก่อนการเลือกซื้อรถยนต์ในประเทศไทยแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์พบว่า ประชากรที่มีอายุ สถานภาพ อาชีพ และจำนวนสมาชิกที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการหาข้อมูลก่อนการเลือกซื้อรถยนต์ในประเทศไทยแตกต่างกัน ส่วนเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการหาข้อมูลก่อนการเลือกซื้อรถยนต์ในประเทศไทยไม่แตกต่างกัน และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางด้านการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการหาข้อมูลในการเลือกซื้อรถยนต์ในประเทศไทย จากการวิเคราะห์พบว่า ด้านครอบครัว/ญาติ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณมีค่า 0.408 และกำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคุณมีค่า 0.167 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์มีค่า 0.930 ส่วนด้านเพื่อน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณมีค่า 0.447 และกำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคุณมีค่า 0.200 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์มีค่า 0.906 ส่วนด้านพนักงานขาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณมีค่า 0.582 และกำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคุณมีค่า 0.339 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์มีค่า 0.667 และด้านข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณมีค่า 0.412 และกำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคุณมีค่า 0.169 จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ปัจจัยส่วนประสมทางด้านการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการหาข้อมูลในการเลือกซื้อรถยนต์ในประเทศไทย
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/162
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6006401032.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.