Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/164
Title: BRAND AUDIT OF LAURIER CONSUMERS IN CHIANG MAI
การตรวจสุขภาพแบรนด์ลอรีเอะของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ 
Authors: Ravipreeya Jirananthraporn
รวิปรียา จิระนันทราพร
Preeda Srinaruewan
ปรีดา ศรีนฤวรรณ
Maejo University. Business Administration
Keywords: การตรวจสุขภาพแบรนด์
ผู้บริโภค
แบรนด์ ลอรีเอะ
brand audit
consumer
Laurier brand
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to audit Laurier brand healthy of consumer in Chiang Mai province. It was investigated though the process of indication index perception of 9 factors; awareness, familiarity, associations, preference, decision, promise, inspiration, brand ambassador or brand advocacy. Four hundred of Laurier were asked to fill out a questionnaire. The obtained data were analyzed by using percentage, frequency, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by using One-way Anova and Scheffe’s method. Results of the study revealed that most of the respondents were 21-30 years old, undergraduate students, single and their monthly income was less than 10,000 baht. Results of the study about the 9 factors of perception showed that the overall were at a high level. The study of each factor found that the awareness factor in the sub-variable (Customers perceived that the product of Laurier was existing in the market) and was at a highest level of perception. Familiarity factor in the sub-variable (Customers had seen the Laurier product frequently) was at a highest level of perception. Association factor was at a high level of perception in all sub-variable factor. Preference factor in the sub-variables (Customers preferred the way of conveying the storytelling and the product diversity of Laurier brand) were in a high level of perception. For consideration factor, decision and promise factor were at a high level of perception in all sub-variable factor. Inspiration factor in the sub-variable (Laurier brand was the part of customer daily life and be able to help customer daily life getting better) were at a high level of perception. Moreover, in the Brand Ambassador or Brand Advocacy factor in the sub-variables (Customer satisfaction and always using the Laurier product) were also at a high level of perception. Regarding the hypothesis testing, it was found that age, occupation and marital status had an effect on the differences in the woman perception toward Laurier brand. Meanwhile, educational attainment and an average monthly income had no effect on the difference in the woman perception of all 9 aspects toward Laurier brand.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสุขภาพแบรนด์ลอรีเอะของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาผ่านกระบวนการรับรู้ดัชนีชี้วัดระดับ 9 ปัจจัย ซึ่งประกอบไปด้วย รับรู้ว่ามีอยู่จริง (Awareness) รู้สึกคุ้นเคย (Familiarity) เชื่อมโยงกับบางสิ่งบางอย่าง (Association) สนใจและชื่นชอบในตัวของแบรนด์ (Preference) ผู้บริโภคต้องการซื้อและกำลังพัฒนาแบรนด์ (Consideration) ตัดสินใจซื้อ (Decision) พิสูจน์ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ (Promise) เพิ่มเติมตัวตนของลูกค้า (Inspiration) และตัวแทนของแบรนด์ (Ambassador) ผู้สนับสนุนแบรนด์ (Advocacy) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าแบรนด์ลอรีเอะในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระจากกัน (Independent T-Test) และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป (One Way Anova) โดยใช้วิธี Scheffe’s Method ในการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุในช่วงระหว่าง 21-30 ปี มีอาชีพเป็นนิสิต/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี และส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด จาก 9 ด้านในภาพรวมมีการรับรู้อยู่ในระดับมากทั้งหมด เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยพบว่า ด้านรับรู้ว่ามีอยู่จริง โดยรับรู้ว่ามีผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ลอรีเอะอยู่ในท้องตลาดอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความรู้สึกคุ้นเคย โดยพบเห็นผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ลอรีเอะอยู่บ่อยครั้งอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเชื่อมโยงกับบางสิ่งบางอย่างที่มีคุณค่าอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย ด้านความสนใจและชื่นชอบในตัวตนของแบรนด์ โดยชื่นชอบวิธีการถ่ายทอดของแบรนด์และชอบความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ในระดับมาก ด้านความต้องการซื้อและกำลังพิจารณาแบรนด์ ด้านการตัดสินใจซื้อและ ด้านความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับมากทุกปัจจัย ส่วนด้านการเติมเต็มตัวตนของลูกค้า โดยแบรนด์ลอรีเอะเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตในแต่ละเดือน ทั้งยังมีส่วนช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันที่ดีขึ้นอยู่ในระดับมาก ในด้านตัวแทนของแบรนด์และผู้สนับสนุนแบรนด์ โดยผู้บริโภคมีความพึงพอใจในสินค้า และเป็นลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์อยู่เสมอ ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยส่วนบุคคลทั้ง 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษาและ สถานภาพ พบว่า อายุ อาชีพ และสถานภาพ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในการรับรู้ของสุภาพสตรีในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีต่อแบรนด์ลอรีเอะ ได้แก่ ด้านรับรู้ว่ามีอยู่จริง อีก 8 ด้าน ไม่พบความแตกต่าง ส่วนปัจจัยระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความคิดเห็นในการรับรู้ของสุภาพสตรีในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีต่อแบรนด์ลอรีเอะที่ไม่แตกต่างกันทั้ง 9 ด้าน
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/164
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6006401034.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.