Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/170
Title: LEARNING ORGANIZATION DEVELOPMENT TO CREATE EMPLOYEE ENGAGEMENT FOR TRAVEL BUSINESS IN CHIANG MAI PROVINCE
การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความผูกพันของพนักงาน บริษัทธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่
Authors: Patarasri Inkhao
ภัทรศรี อินทร์ขาว
Monsicha Inthajak
มนสิชา อินทจักร
Maejo University. School of Tourism Development
Keywords: องค์การแห่งการเรียนรู้, ความผูกพันต่อองค์กร
learning organization organization engagement
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to analyze learning organization and employee engagement factors; and to develop learning organization to create employee engagement for the travel business in Chiang Mai Province. Questionnaires with five-rating scale were used to collect data from 167 organizations.  In-depth interview was conducted with work line and excutives of ten tour companies in Chiang Mai.  Snowball method was used to select the sample group for the interview Results of the study showed that personal mastery factor was found at a highest level.  While, team learning factor and manager & leadership involvement factor were at a high level, respectively. The finding from Exploratory Factor Analysis (EFA) revealed that there were 6 new factors of learning organization composed of organization learning, employee participation, employee self-development, employee learning support, creation of learning climate and work system factors Regarding the employee engagement factors, it showed that work environment factor had a highest level. Work task & load factor and communication factor were consequently at a high level. In addition, EFA indicated that there were 7 new factors for employee engagement comprising compensation system, work environment & climate creation, organization internal communication, work responsibility and task, fairness of management & evaluation and employee development support factors. Furthermore, the hypothesis was accepted that learning organization factors were correlated with employee engagement factors. Results of the study showed that all of the tour companies put the importance on learning organization to create employee engagement. These factors facilitated employees to develop themselves and solve complex problems from internal and external environment to achieve the organization goal. Furthermore, employee engagement factors included compensation system, work environment & climate , work responsibility and task, and  fairness of management & evaluation.  Therefore, employee engagement to the company could reduce turnover rates in the future.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ปัจจัยความผูกพันของพนักงาน และเพื่อพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามโดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 167 แห่ง  และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเลือกการเก็บกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) จากผู้ให้ข้อมูลเป็นหัวหน้างานหรือผู้บริหารบริษัทธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 แห่ง ผลการวิจัยด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่าปัจจัยด้านการเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยรองลงมาตามลำดับ และผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) พบองค์ประกอบใหม่ทั้งหมด 6 องค์ประกอบ คือ 1) การเรียนรู้ร่วมกันในองค์กร 2) การมีส่วนร่วมบุคลากรในองค์กร 3) การพัฒนาตนเองของบุคลากร 4) การส่งเสริมการเรียนรู้ในองค์กร 5) การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ และ 6) การทำงานอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยด้านความผูกพันของพนักงาน พบว่าปัจจัยด้านความผูกพันของพนักงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ภาระงาน และการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยรองลงมาตามลำดับและผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบองค์ประกอบใหม่ทั้งหมด 7 องค์ประกอบ คือ 1) ระบบการจัดการค่าตอบแทน 2) การสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน 3) ความช่วยเหลือและความร่วมมือจากองค์กร 4) การสื่อสารภายในองค์กร 5) ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย 6) ระบบการจัดการและประเมินผลมีความเท่าเทียมในการปฏิบัติงาน และ 7) การส่งเสริมพัฒนาพนักงาน ผลจากการวิเคราะห์การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่พบว่า ทุกองค์กรให้ความสำคัญกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทุกองค์กรสร้างองค์กรของตนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้องค์และบุคลากรเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน องค์กรและบุคลากรเกิดการพัฒนา สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  ด้านปัจจัยการสร้างความผูกพันของพนักงาน ทุกองค์กรมีการจัดการระบบการจัดการค่าตอบแทน สร้างสภาพแวดล้อม ให้ความช่วยเหลือ มีระบบการจัดการ มอบหมายงาน และ การประเมินผลที่เท่าเทียม ปัจจัยเหล่านี้ช่วยให้บุคลากรเกิดแรงจูงใจในการทำงาน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อเกิดความผูกพันจะช่วยลดอัตราการลาออกของบุคลากรด้วยเช่นกัน
Description: Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Tourism Development))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาการท่องเที่ยว))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/170
Appears in Collections:School of Tourism Development

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5809501004.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.