Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/180
Title: PERSONAL FACTORS HAVING INFLUENCE ON QUALITY OF WORK LIFE OF SUPPORTING TEMPORARY STAFF, MAEJO UNIVERSITY
ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของลูกจ้างชั่วคราว สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Authors: Worachet Kanjanawisan
วรเชษฐ์ กาญจนวิศาล
Kunpatsawee Klomthongjareon
กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ
Maejo University. Business Administration
Keywords: คุณภาพชีวิตในการทำงาน
ลูกจ้างชั่วคราว
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปัจจัยส่วนบุคคล
quality of work life
temporary employee
maejo university
personal factors
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to explore personal factors having influence on quality of work life of supporting temporary staff of Maejo University and find out a level of quality of their work life. A set of questionnaires was used for data collection administered with 195 supporting temporary staff of Maejo University (170 persons Chiangmai campus, 22 persons Phare campus and 3 persons Chumporn campus). Obtained data were analyzed by using percentage, frequency, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by using T-test and F-test analysis. Findings showed that most of the respondents were male, 31-40 years old, married, bachelor’s degree graduates, and their monthly income was 10,001-15,000 Baht on average. Their year of service was 7-9 years, and their job involved assistant/driver/gardener/agricultural worker/janitor. With regards to quality of work life, it was found that, as a whole, the respondents had a high level of opinions. Based on its details, they had a high level of opinions on the following factors: safe and clean environment, social integration, competency development of personnel, work life balance, and social operation. However, the following were found at a moderate level: appropriate fringe benefits, advancement and security, and work based on law and justice. As a whole, the respondents had a high level of their opinions on quality of work life. Furthermore, t-test and f-test confirmed that the personal factors on gender, age, marital status, educational attainment, monthly income, and job title had influence on the quality of work life of supporting temporary staff of Maejo University.
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของลูกจ้างชั่วคราวสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างชั่วคราว สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพื่อศึกษาถึงระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างชั่วคราวสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกจ้างชั่วคราว เฉพาะสายสนับสนุน จำนวน 195 คน ประกอบไปด้วย ลูกจ้างชั่วคราวที่สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ จำนวน 170 คน ลูกจ้างชั่วคราวที่สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 22 คน และลูกจ้างชั่วคราวที่สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 3 คน ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 สอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยชี้วัดระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของลูกจ้างชั่วคราว สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะในเรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานของลูกจ้างชั่วคราว สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้วิจัยใช้สถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ T-test และ F-test ด้านปัจจัยส่วนบุคลพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในะดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001-15,000 บาท มีอายุการทำงาน ระหว่าง 7-9 ปี และมีตำแหน่งงานในด้าน พนักงานบริการ/พนักงานขับรถยนต์/คนสวน/คนงานเกษตร/นักการภารโรง   สำหรับในส่วนของระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานพบว่า ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย ปัจจัยด้านลักษณะงานมีส่วนส่งเสริมด้านบูรณาการทางสังคมของผู้ปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี ปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานโดยส่วนรวมและ ปัจจัยด้านลักษณะงานมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ในส่วนของ ปัจจัยด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ส่งเสริมความเจริญเติบโตและความมั่นคงให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและ ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนฐานของกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และ ตำแหน่งงาน มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างชั่วคราวสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/180
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6006401024.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.