Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/196
Title: FARMER PERCEPTION AND ADAPTATION TO IMPACTS OF CLIMATE CHANGE ON QUALITY OF LONGAN YIELDS IN CHOM THONG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE 
การรับรู้ผลกระทบและการปรับตัวของเกษตรกรจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อคุณภาพผลผลิตลำไยในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Piyatida Ratree
ปิยะธิดา ราตรี
Waraporn Nunthasen
วราภรณ์ นันทะเสน
Maejo University. Economics
Keywords: Climate Change
Longan Production Quality
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to investigate: 1) future trends of climate change on longan quality production in Chom Thong district; 2) perception of climate change impact on longan production quality in Chom Thong district; and 3) study adaptation of farmers from climate change. The benefit of this study will be a valuable information for farmers and concerned agencies to use for the adaptation of planning or deal with the effect of climate change impacts in the future. Data were collected by using questionnaire and in-depth interview with 369 households in Chom Thong district. This was done with the future forecast data for Southeast Asia in Chom Thong district, Chiang Mai province is 60-year historical and future climate data (1988 to 2590). Data were analyzed by using descriptive statistics and ordered logit model. The results showed that most of the farmers were aware that the climate in the area changed from 94.30 percent in form of rain, not seasonal and warmer. It was also found that the climate change affected the quality of longan (grades AA, A, B, C) at 99.50 percent. The effects of temperature change on the development of longan were at a high level (average 3.59), they were mostly affected during inflorescence stage and the flowering period. The effects of rainfall change on the development of longan were at a high level (average 3.56), they were mostly affected during the small fruit and inflorescence period.  Regarding 30 years future climate change prediction in Chom Thong district, it showed that both average highest and lowest temperature tended to increase. The annual rainfall was likely to increase and decrease periodically, indicating that the frequency of the period is uncertain. This affect the development of longan because each period had different appropriate climatic conditions. If the climate was unsuitable for the period, it would affect the production in terms of quantity and quality of the produce, as well as increased outbreak of new diseases or pests. The results of the analysis using logit model showed that the factor that mostly affects production quality of longan was educational attainment, effect of temperature during harvesting period and the temperature effect during the time longan was growing which affected the probability of farmers getting grade AA longan quality at 10.34 percent, 9.59 percent and 8.27 percent, respectively. The impacts of climate change on the production quality of longan showed that most of the farmers had adapted or coped with the increased use of chemicals for nourishing and preventing insect and pests. Because of this, the farmers could not control themselves. There were short-term adaptation strategies to increased longan yields and grade AA longan quality was expected. These responses increased longan production costs. For recommendations, concerned agencies should promote understanding of past, present and future climate change as well as guidelines for farmer adaptation and a long-term study on new technologies to improve the efficiency of longan production quality and reduce production costs.
การศึกษาเรื่องการรับรู้ผลกระทบและการปรับตัวของเกษตรกรจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อคุณภาพผลผลิตลำไยในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตต่อการผลิตลำไยในอำเภอจอมทอง 2) ศึกษาการรับรับรู้ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อคุณภาพผลผลิตลำไยในอำเภอจอมทอง และ 3) ศึกษาการปรับตัวของเกษตรกรจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประโยชน์จากการศึกษาในครั้งนี้เป็นข้อมูลให้กลุ่มเกษตรกรรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้วางแผนการปรับตัว หรือรับมือเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในอำเภอจอมทอง 369 ครัวเรือน ประกอบกับข้อมูลการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศอนาคตสำหรับพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนของอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นข้อมูลสภาพอากาศในอดีตและอนาคตรวม 60 ปี (พ.ศ.2531 ถึง พ.ศ.2590) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และแบบจำลองโลจิทแบบลำดับ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่รับรู้ว่าสภาพภูมิอากาศในพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 94.30 ในรูปแบบฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล และอากาศร้อนขึ้น รวมทั้งรับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อคุณภาพผลผลิตลำไย (เกรด AA, A, B, C) คิดเป็นร้อยละ 99.50 สำหรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิต่อช่วงพัฒนาการลำไยในภาพรวมมีผลกระทบอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.59) มีผลมากที่สุดในช่วงแทงช่อดอก และช่วงดอกบาน ส่วนผลกระทบการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนต่อช่วงพัฒนาการลำไยในภาพรวมมีผลกระทบอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56) มีผลมากที่สุดในช่วงติดผลขนาดเล็ก และช่วงแทงช่อดอก การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดการณ์ในอนาคต 30 ปี ภาพรวมของอำเภอจอมทอง พบว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจนส่วนปริมาณน้ำฝนรวมรายปีมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นและลดลงเป็นช่วง ๆ แสดงให้เห็นว่าความถี่ของช่วงไม่แน่นอน ซึ่งส่งผลกระทบต่อช่วงพัฒนาการลำไยเนื่องจากในแต่ละช่วงมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมแตกต่างกัน หากสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสมต่อช่วงจะเกิดผลกระทบต่อการผลิตทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพผลผลิต รวมถึงการระบาดของโรค หรือแมลงศัตรูพืชใหม่ ๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นกว่าในปัจจุบัน  สำหรับผลการวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองดังกล่าว พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพผลผลิตลำไยมากที่สุด ได้แก่ ระดับการศึกษา ผลกระทบอุณหภูมิในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต และผลกระทบอุณหภูมิในช่วงผลกำลังเจริญเติบโต แล้วยังส่งผลต่อความน่าเป็นที่เกษตรกรจะได้ลำไยคุณภาพเกรด AA ร้อยละ 10.34 ร้อยละ 9.59 และร้อยละ 8.27 ตามลำดับ จากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตลำไยที่ได้คุณภาพนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่มีแนวทางการปรับตัว หรือรับมือโดยการเพิ่มการใช้สารเคมีต่าง ๆ สำหรับการบำรุง และป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากผลกระทบดังกล่าวเกษตรกรไม่สามารถควบคุมเองได้จึงมีแนวทางการปรับตัว หรือรับมือในระยะสั้น เพื่อให้ปริมาณผลผลิตลำไยเพิ่ม และมีคุณภาพเกรด AA อย่างที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งการรับมือเหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการทำสวนลำไยเพิ่มขึ้นด้วย ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต พร้อมแนวทางการรับมือให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และระยะยาวควรมีการศึกษาวิจัยหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตลำไยให้มีคุณภาพในแหล่งเพราะปลูกเดิม รวมทั้งการวิจัยเพื่อหาพันธุ์ลำไยที่มีความทนทาน หรือปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ในอนาคต และทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต
Description: Master of Economics (Applied Economics)
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ประยุกต์))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/196
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5912304002.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.