Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/198
Title: CLIMATE CHANGE AND GROSS PROVINCIAL PRODUCT OF THE AGRICULTURAL SECTOR IN THAILAND
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ภาคการเกษตรของประเทศไทย
Authors: Piyarat Kaewprasert
ปิยรัฐ แก้วประเสริฐ
Nirote Sinnarong
นิโรจน์ สินณรงค์
Maejo University. Economics
Keywords: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด
ผลกระทบ
Climate Change
Provincial Gross Product
Impacts
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to analyze climate change and gross provincal product of the agricultural sector in Thailand and to project impact of climate change on gross provincial product of the agricultural sector in Thailand in the future. Data during 2003 - 2017 were investigated based on annual data of each province in 7 regions. Obtained data were analyzed by using panel regression analysis. Results of the study revealed that southen Thailand had gross provincial product most (21,2547 Million bath/province/year on average). Besides, this region had an amount of rainfall per year most (2,454.64 mm. on average). Meanwhile, northeastern Thailand had agricultural land holding/province/year most (3,258,633 rai). An average temperature of Thailand was 27.32 ํC  which northeastern Thailand had variability of an average temperature most. Meanwhile, eastern Thailand had variability of an average amount of rainfall most. According to the panel regression analysis, it was found that agricultural land holding and time interval tendency had a positive statistically significant relationship with gross provincial product of the agricultural sector in  Thailand. An average temperature in southern Thailand had a positive effect on gross provincial product in this region. However, an average temperature in eastern Thailand had a negative effect on gross provincial product in this region with a statistically significant level. There was a negative statistically significant relationship between variability of an average temperature in northern, suothern, and eastern Thailand and gross provincial product in these regions. Meanwhile, an average amount of rainfall in southern and eastern Thailand had a positive relationship with gross provincial product in these regions. However, an average amount of rainfall in northern/northern Thailand, Bankok Metropolitan had a negative statistically significant relationship with gross provincial product in these regions. Regarding the project impact of climate change on gross  provincial product of the agricultural sector in Thailand in the future under the situation of the national social and economic devlopment of A2 and B2 types in 2026, 2036 and 2046, it was found that there was self-adaption to climate change in the future under the A2 situation. According analysis of impacts of climate change on gross provincial product of the agricultural sector in Thailand in the future under the A2 situation, it was found that western Thailand in 2026 and 2036 would have a chance to get a negative impact due to climate change for 23.923 and 21.924 percent. Likewise, eastern Thailand in 2046 would have a chance to get a negative impact due to climate change for 23,340 percent. For the B2 situation, it was found that eastern Thailand in 2026 and 2046 would have a  chance to get a negative impact due to climate change for 22.433 and 24.698 percent. Also, western Thailand in 2036 would have a chance to get a negative impact due to climate change for 21.837 percent.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยและจำลองผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิต่อผลิตภัณฑ์มวลรมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต โดยศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2560 รวมทั้งหมด 14 ปี โดยที่ศึกษาข้อมูลรายจังหวัดรายปี โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 ภาคและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยแบบพาเนล ผลการศึกษาพบว่าภาคใต้ของประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ 21,254.78 ล้านบาทต่อจังหวัดต่อปี และในภาคใต้ยังมีปริมาณน้ำฝนรวมต่อจังหวัดต่อปีมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ 2,454.64 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการถือครองที่ดินภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อจังหวัดต่อปีมากที่สุดที่ 3,358,633 ไร่ อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยอยู่ที่ 27.32 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีความแปรปรวนของอุณหภูมิเฉลี่ยมากที่สุด ในขณะที่ภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนรวมเฉลี่ยต่อจังหวัดต่อปีมากที่สุดที่ 2,454.64 มิลลิเมตร และในภาคตะวันออกของประเทศไทยมีความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนรวมเฉลี่ยมากที่สุดในประเทศไทย จากการวิเคราะห์การถดถอยแบบพาเนลพบว่า การถือครองที่ดินภาคการเกษตรและแนวโน้มของช่วงเวลา มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อุณหภูมิเฉลี่ยในภาคใต้ของประเทศไทยมีผลในเชิงบวกกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของภาคใต้ ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของภาคตะวันออกมีผลเชิงลบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรในภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความแปรปรวนของอุณหภูมิเฉลี่ยในภาคภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนรวมเฉลี่ยภาคใต้และภาคตะวันออกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของภาคใต้และภาคตะวันออก อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำฝนรวมเฉลี่ยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การจำลองผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยในอนาคตภายใต้สถานการณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแบบ A2 และ B2 ในปี 2569, 2579 และ 2589 พบว่าภายใต้สถานการณ์ A2 นั้นมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในอนาคตในขณะที่สถานการณ์ B2 มีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าสถานการณ์ A2 จากผลการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยของอนาคตจากภายใต้สถานการ์ A2 พบว่าในในปี พ.ศ. 2569 และ พ.ศ. 2579 ในภาคตะวันตกมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่ร้อยละ 23.923 และ 21.924  ในขณะที่ปี พ.ศ. 2589 ในภาคตะวันออกมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่ร้อยละ 23.340 ในขณะที่สถานการณ์ B2 พบว่า พ.ศ. 2569 และในปีพ.ศ. 2589 ในภาคตะวันออกมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่ร้อยละ 22.433 และ 24.698 และในปี พ.ศ. 2579 ในภาคตะวันตก มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่ร้อยละ 21.837
Description: Master of Economics (Applied Economics)
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ประยุกต์))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/198
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6012304006.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.