Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2108
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิษณุ พินรอด, Pitsnu pinrod-
dc.date.accessioned2024-04-25T07:13:57Z-
dc.date.available2024-04-25T07:13:57Z-
dc.date.issued2000-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2108-
dc.description.abstractในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตเมี่ยงของเกษตรกร กรณีศึกษา สหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่ตอนหลวง จำกัด ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ปีการผลิต2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตเมี่ยงของเกษตรกร โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนในการศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคในการผลิตใบเมี่ยงและขั้นตอนการศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิดในการนึ่งใบเมี้ยง จากนั้นทำการเปรียบเทียบความแตกต่างประสิทธิภาพทางเทคนิคในขั้นตอนของการนึ่งใบเมี่ยง ระหว่างเตาแบบมีแผ่นตะแกรงรองพื้นกับเตาแบบไม่มีแผ่นตะแกรงรองพื้นเตา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพทางเทคนิคโดยใช้โปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) เกษตรกรที่เป็นตัวอย่างในการศึกษาเป็นสมาชิกสหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่ตอนหลวง จำกัด จำนวน 132 ครัวเรือนจากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าประสิทธิภาพทางเทคนิคของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดในขั้นตอนของการผลิตใบเมี้ยง โดยพิจารณาจากผลผลิตใบเมี่ยงที่ได้รับของเกษตรกรแต่ละราย เปรียบเทียบกับผลผลิตใบเมี่ยงที่ประมาณการได้ของเกษตรกรแต่ละราย ปรากฎว่า ปัจจัยการผลิตของเกษตรกรที่มีผลต่อประสิทธิภาพทางเทคนิค ได้แก่ จำนวนครั้งที่ทำการเก็บใบเมี่ยง , แรงงานในการเก็บใบเมี่ยง , พื้นที่ปลูกเมี่ยงและจำนวนต้นเมี่ยงในพื้นที่ไร่ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 1.1361 , 0.4648 , 0.1424 และ 0.0890ตามลำดับ เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 50 คิดเป็นร้อยละ 88.00 การเปรียบเทียบการใช้ปัจจัยการผลิตของเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพทางเทดนิคในแต่ละระดับ ปรากฎว่าระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคที่ต่ำจะใช้ปัจจัยการผลิตที่สูงกว่าระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคที่สูง ในขั้นตอนของการนึ่งใบเมี่ยง การศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคในการใช้ปัจจัยแต่ละชนิดที่มีผลต่อปริมาณการใช้ไม้ฟันในการนิ่งใบเมี่ยง โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้ไม้ในการนึ่งใบเมี่ยงของเกษตรกรแต่ละราย เปรียบเทียบกับปริมาณการใช้ไม้เป็นฟืนในการนึงใบเมี่ยงที่ประมาณการได้ของเกษตรกรแต่ละราย ปรากฎว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางเทคนิคในการนึ่งใบเมี่ยง ได้แก่ จำนวนใบเมี่ยงที่ใช้นึ่ง(กบครั้ง) เวลาที่ใช้นั่งใบเมี่ยง (นาที/ครั้ง) และขนาดของไม้ฟืนที่ใช้นิ่งใบเมี่ยง (ลูกบาศก็เซ็นติเมตร) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.3878 , 0.2418 และ 0.1878 ตามลำดับ ประสิทธิภาพทางเทคนิคเฉลี่ยร้อยละ 63.48เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคอยู่ในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 50 คิดเป็นร้อยละ 74.99 โดยเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพทางเทตนิคในระดับสูง ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ใช้เตาแบบมีแผ่นตะแกรงรองพื้นมีประสิทธิภาพทางเทคนิคเฉลี่ยร้อยละ 71.51 ส่วนเกษตรกรที่ใช้เตาแบบไม่มีแผ่นตะแกรงรองพื้นมีประสิทธิภาพทางเทคนิคเฉลี่ยร้อยละ 40.24 ผลการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพทางเทคนิคของเตาทั้งสองชนิดที่ใช้นึ่งใบเมี่ยงพบว่า ประสิทธิภาพทางเทคนิคในการนึ่งใบเมื่ยงมีความแตกต่างกัน โดยการใช้เตาแบบมีแผ่นตะแกรงรองพื้นจะสามารถประหยัดไม้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการนึงใบเมี่ยงได้มากกว่าเตาแบบไม่มีแผ่นตะแกรงรองพื้นโดยเกษตรกรที่ใช้เตาแบบมีแผ่นตะแกรงรองพื้น จะใช้ไม้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการนึ่งใบเมื่ยงน้อยกว่าเตาแบบไม่มีแผ่นตะแกรงรองพื้นเฉลี่ย 7.0462 ลูกบาศก์เมตร/ครัวเรือนปีen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectเมี่ยงen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectแง่เศรษฐกิจen_US
dc.titleการวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตเมี่ยงของเกษตรกร:กรณีศึกษา สหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่ตอนหลวง จำกัด ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeA technical efficiency analysis in cheming tea producction : A case study on krongkanluang maetonluang electricity cooperative limited, thepsadej subdistrict, Doisaket district, Chiangmai provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pitsnu-pinrod.PDF1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.