Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2195
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจำนันท์ จันรอดภัย, jumnan junrodpai-
dc.date.accessioned2024-06-28T08:10:49Z-
dc.date.available2024-06-28T08:10:49Z-
dc.date.issued1999-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2195-
dc.description.abstractการวิจัยถึงกระบวนการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดพัทลุง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 2) กระบวนการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคนม ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดพัทลุงจำนวน 104 ราย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอควนขนุน อำเภอป่าพยอม และอำเภอเขาชัยสน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ผลการวิจัยเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และลักษณะการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม พบว่าผู้ให้ข้อมูลมีอายุเฉลี่ย 42 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวอยู่ระหว่าง 45 คน มีแรงงานในครอบครัวที่สามารถช่วยเหลือให้การเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 2 คน ผู้ให้ข้อมูลมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 8.315.38 บาท และเลี้ยงโคนมมาแล้วเฉลี่ย 8 ปี มีจำนวนโคที่เลี้ยงเฉลี่ย 10 ตัว ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ช่วง 4-12 ครั้งต่อปี และเข้ารับฝึกอบรม 1-3 ครั้งต่อปี ผู้ให้ข้อมูลมากกว่าครึ่ง รับฟังข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และเพื่อนบ้าน ทำให้ผู้ให้ข้อมูลตัดสินใจลงมือทำ แหล่งข่าวที่ทำให้ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ตื่นตนคือวิทยุ ส่วนสิ่งพิมพ์เป็นสื่อทำให้ผู้ให้ข้อมูลไตร่ตรองลองทำ และขั้นตัดสินใจยอมรับคือ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ผู้ให้ข้อมูลมีทรรศนะต่อบทบาทด้านต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ระดับปานกลางคือไม่ถึงกับเกิดความไม่พอใจระหว่างกัน และผู้ให้ข้อมูลมีทรรศนะต่อวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับดีมาก แสดงว่าเจ้าหน้าที่เอาใจใส่ในการปฏิบัติงานดีโดยไม่ขาดตกบกพร่อง และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างสม่ำเสมอส่วนปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุงนั้น ผู้ให้ข้อมูลมากกว่าครึ่งมีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับเจ้าหน้าที่ ผู้ให้ข้อมูลมีปัญหาระดับปานกลาง คือ มีความหนักใจในเรื่อง โคนม อาหารผสมแล้วรวมทั้งวัสดุก่อสร้างมีราคาแพง และไม่สามารถคัดเลือกพ่อพันธุ์ได้เองในด้านความต้องการในการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลนั้นเกษตรกรมีความต้องการหลายประการในระดับมาก เรียงลำดับจากต้องการมากไปหาน้อย 10 ลำดับ ได้แก่ ต้องการโคนมที่แข็งแรงจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ โคที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โคนมที่ราคาเหมาะสม แม่โคพันธุ์ดี ต้องการได้รับความรู้ในการรักษาโรคและปฏิบัติได้ ต้องการโรงเรือนที่สะอาดปลอดภัยต้องการให้สัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ตรวจระบบสืบพันธุ์หลังคลอด 45 วัน แยกโรงเรือนตามขนาดและอายุของโคนม ขายน้ำนมดิบได้ราคาดีขึ้น และให้มีการฉีดวัคซีนตามโปรแกรมen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectโคนมen_US
dc.subjectการเลี้ยงen_US
dc.subjectพัทลุงen_US
dc.titleกระบวนการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดพัทลุงen_US
dc.title.alternativeExtension process of dairy production in Phatthalung provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Business Agriculture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jumnan-junrodpai.PDF15.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.