Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2270
Title: SATISFACTION OF PUBLIC CULTURAL SERVICES QUALITYIN URBAN COMMUNITIES: A CASE STUDY ONBAIHEYUAN COMMUNITY IN NANAN DISTRICT,CHONGQING, CHINA
ความพึงพอใจต่อคุณภาพวัฒนธรรมการบริการสาธารณะในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนไป่เหอหยวนในเขตหนานหนาน ฉงชิ่ง ประเทศจีน
Authors: Xin Deng
Xin Deng
Non Naprathansuk
นนท์ น้าประทานสุข
Maejo University
Non Naprathansuk
นนท์ น้าประทานสุข
non@mju.ac.th
non@mju.ac.th
Keywords: ชุมชน
ความพึงพอใจ
คุณภาพการบริการวัฒนธรรมสาธารณะ
community
satisfaction
quality of public cultural services
Issue Date:  4
Publisher: Maejo University
Abstract: The research aims to the following 3 objectives: 1) To study the current those exist in the quality of public cultural services in Nanan District Baiheyuan urban communities in Chongqing. 2) To investigate the factors improving the quality of public cultural services in Nanan District Baiheyuan urban communities in Chongqing. 3) To improve the measures of satisfaction with the quality of public cultural services in Nanan District Baiheyuan urban communities in Chongqing. This study adopts a quantitative design, electronic questionnaire was distributed to residents who had lived in the Baiheyuan neighborhood of Nanan District, Chongqing for more than one year. the quantitative research method used mainly includes literature review, questionnaire, descriptive statistics for data collection as well as processing. The two theories used in this study are service quality theory and customer satisfaction theory. The result of this study is 1) The current status of the quality of public cultural services in the urban community of Baiheyuan, Nanan District, Chongqing, was agreed by more than 50% of the respondents in terms of reliability and participation. As a result, community provision of reading and learning space venues in terms of reliability and community service workers' motivation to organize community public cultural services in terms of participation are relatively good. 2) With only about 35% of respondents agreeing on both accessibility and innovation. Therefore, there are two main factors affecting the quality of public cultural services: in terms of convenience, community service workers have the responsibility to deal with community residents' requests for public cultural services in a timely manner, and community service workers should promptly and accurately record community residents' feedback on public cultural services; In terms of innovativeness, cultural performances and exchanges are organized, and community organizations carry out a wide variety of public cultural service activities, and 3)The way to improve the quality of community public cultural services is to organize diversified community cultural activities, highlight the characteristics of the community, improve and update the facilities and equipment of community public cultural services, and enhance the digitization and innovativeness of community public cultural services, so as to improve the satisfaction of the quality of  public cultural services in Baiheyuan Community, Chongqing. Therefore, it is recommended that communities should improve the innovative capacity of community service workers and encourage them to carry out community activities in a more creative way. At the same time, the Government should strengthen the management and maintenance of community facilities and equipment for public cultural services.
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัตถุประสงค์ 3 ประการดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการวัฒนธรรมสาธารณะของชุมชนเมืองในปัจจุบันในเขตหนานหนาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการปรับปรุงคุณภาพการบริการวัฒนธรรมสาธารณะของชุมชนเมืองหนานหนาน มณฑลฉงชิ่ง และ 3) เพื่อปรับปรุงมาตรการความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการวัฒนธรรมสาธารณะในชุนเมืองชุมชนไป่เหอหยวน เขตหนานหนาน มณฑลฉงชิ่ง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเชิงปริมาณแบบอิเล็กทรอนิกส์กับกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในชุมชนไป่เหอหยวน เขตหนานหนาน มณฑลฉงชิ่ง และทำการรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทฤษฎีที่นำมาใช้ในงานวิจัยคือ ทฤษฎีคุณภาพการบริการและทฤษฎีความพึงพอใจของลูกค้า ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) เห็นด้วยกับสภาพในปัจจุบันของการบริการวัฒนธรรมสาธารณะในชุมชนไป่เหอหยวนในด้านความน่าเชื่อถือและการมีส่วนร่วม กล่าวคือทางชุมชนได้จัดสถานที่แห่งการเรียนรู้และการอ่านหนังสือ มีการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่บริการชุมชนได้จัดบริการวัฒนธรรมสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมได้ค่อนข้างดี 2) หนึ่งในสาม (ร้อยละ 35) ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับการเข้าถึงนวัตกรรม ดังนั้นจึงมีสองปัจจัยหลักที่มีผลต่อคุณภาพของการบริการวัฒนธรรมสาธารณะ ได้แก่ความสะดวก เจ้าหน้าที่บริการชุมชนมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกับคำขอรับบริการวัฒนธรรมสาธารณะของประชาชนในชุมชนอย่างทันท่วงที และพนักงานบริการชุมชนควรดำเนินการอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ บันทึกความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยในชุมชนเกี่ยวกับบริการวัฒนธรรมสาธารณะ ในแง่ของนวัตกรรม มีการจัดการแสดงทางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยน และองค์กรชุมชนดำเนินกิจกรรมบริการวัฒนธรรมสาธารณะที่หลากหลาย  3) วิธีการในการปรับปรุงคุณภาพการบริการวัฒนธรรมสาธารณะ คือการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมของชุมชนให้มีความหลากหลาย มีการเน้นลักษณะเฉพาะของชุมชน ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก และวัสดุ อุปกรณ์การบริการวัฒนธรรมสาธารณะของชุมชน และส่งเสริมให้เป็นชุมชนดิจิทัลและนวัตกรรมแห่งการบริการทางวัฒนธรรมสาธารณะ ดังนั้นจึงขอแนะนำว่าชุมชรควรมีการปรับปรุงความสามารถทางนวัตกรรมของเจ้าหน้าที่บริการชุมชน และสนับสนุนให้พวกเขาดำเนินกิจกรรมชุมชนในทางสร้างสรรค์ให้มากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลควรจะเสริมสร้างการบริหารจัดการและบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและวัสดุอุปกรณ์ของชุมชนเพื่อการบริการวัฒนธรรมสาธารณะ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2270
Appears in Collections:School of Administrative Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6505305011.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.