Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2303
Title: ผลของเทคนิคการนำเสนอในรายการวิดีทัศน์ต่อการเรียนรู้ของเกษตรกร
Other Titles: Effects of vided presentation technigues on farmerslearning
Authors: นคเรศ รังควัต และวิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์
Keywords: การสื่อสาร
การสื่อสารทางการเกษตร
การเกษตร
เกษตรกรรม
เทคนิคการนำเสนอ
รายการวิดีทัศน์
การส่งเสริมการเกษตร
Issue Date: 30-Nov-1997
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของเกษตรกรจากการชมรายการวิดีทัศน์ที่มีเทคนิคการนําเสนอที่แตกต่างกัน 3 แบบ คือ (1) รายการวิดีทัศน์ปกติ ที่มีการดําเนินเรื่องเฉพาะวิธีที่ถูก (2) รายการวิดีทัศน์ที่มีการดําเนินเรื่องวิธีการปฏิบัติที่ผิดมาแทรกวิธีการปฏิบัติที่ถูกสลับกันทีละขั้นตอน โดยมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับด้วย (3) รายการวิดีทัศน์ที่มีการดําเนินเรื่องวิธีการปฏิบัติที่ผิด และวิธีการปฏิบัติที่ถูก แสดงให้เห็นพร้อมกันบนจอเดียวกัน และมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับ การวิจัยใช้การทดลองแบบ Randomized Pretest Posttest Control Group Design โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ เกษตรกรในตําบลแม่แฝกใหม่ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) จํานวนทั้งหมด 90 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมเรียนรู้จากรายการวิดีทัศน์ที่ใช้เทคนิคการดําเนิน เรื่องเฉพาะวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง กลุ่มที่สองเรียนรู้จากรายการวิดีทัศน์ที่ใช้เทคนิคการดําเนินเรื่องที่มีวิธีการปฏิบัติที่ผิดมาแทรกวิธีการปฏิบัติที่ถูกสลับกันทีละขั้นตอน โดยมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับด้วย และกลุ่มที่สาม เรียนรู้จากรายการวิดีทัศน์ที่ใช้เทคนิคการดําเนินเรื่องที่มีวิธีการปฏิบัติที่ผิด และวิธีการปฏิบัติที่ถูกแสดงให้เห็นพร้อมกันบนจอเดียวกัน และมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับด้วย เนื้อหาที่ใช้สอนคือเรื่อง “การเพาะเห็ดหลินจือ” รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบ จากนั้น จึงนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่า Chi-square, t-test และ ค่า F-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การเรียนรู้หลังชมรายการวิดีทัศน์ของเกษตรกรทั้ง 3 กลุ่ม สูงกว่าความรู้พื้นฐานก่อนชมรายการวิดีทัศน์อย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) 2. การเรียนรู้หลังชมรายการวิดีทัศน์ของเกษตรกรทั้ง 3 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัย สําคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) โดยพบว่าเกษตรกรที่เรียนจากรายการวิดีทัศน์ที่มีการดําเนินเรื่องวิธีการปฏิบัติที่ผิดมาแทรกวิธีการปฏิบัติที่ถูกสลับกันทีละขั้นตอน โดยมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับด้วย มีผลการเรียนรู้สูงสุด รองลงมาคือ รายการวิดีทัศน์ปกติ ที่มีการค้าเนินเรื่องเฉพาะวิธีที่ถูก ขณะที่รายการ วิดีทัศน์ที่มีการดําเนินเรื่องวิธีการปฏิบัติที่ผิดและวิธีการปฏิบัติที่ถูก แสดงให้เห็นพร้อมกันบนจอเดียวกันและมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับด้วย มีผลการเรียนรู้ต่ำสุด และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ของคะแนนเฉลี่ยทีละคู่ ผลปรากฏว่า 2.1 คะแนนเฉลี่ยของเกษตรกรกลุ่มที่เรียนจากรายการวิดีทัศน์ที่มีวิธีการ ปฏิบัติที่ผิดมาแทรกวิธีการปฏิบัติที่ถูกสลับกันทีละขั้นตอน โดยมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับด้วย สูงกว่ากลุ่มที่เรียนจากรายการวิดีทัศน์ที่มีการดําเนินเรื่องเฉพาะวิธีที่ถูก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01) 2.2 คะแนนเฉลี่ยของเกษตรกรกลุ่มที่เรียนจากรายการวิดีทัศน์ที่มีวิธีการปฏิบัติที่ผิดมาแทรกวิธีการปฏิบัติที่ถูกสลับกันทีละขั้นตอน โดยมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับด้วย สูงกว่ากลุ่มที่เรียนจากรายการวิดีทัศน์ที่มีการดําเนินเรื่องวิธีการปฏิบัติที่ผิด และวิธีการปฏิบัติที่ถูกแสดงให้เห็นพร้อมกันบนจอเดียวกัน และมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01) 2.3 คะแนนเฉลี่ยของเกษตรกรกลุ่มที่เรียนจากรายการวิดีทัศน์ที่มีการดําเนินเรื่องเฉพาะวิธีที่ถูก กับกลุ่มที่เรียนจากรายการวิดีทัศน์ที่มีการดําเนินเรื่องวิธีการปฏิบัติที่ผิด และวิธีการปฏิบัติที่ถูกแสดงให้เห็นพร้อมกันบนจอเดียวกัน และมีเครื่องหมาย X หรือ √ กํากับ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (0.01)
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2303
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RM-2564-0004-346246.PDF7.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.