Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/24
Title: Development of Mungbean Lines for High Yield
การพัฒนาสายพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อเพิ่มผลผลิต
Authors: Wattana Kamkerd
วัฒนา คำเกิด
Ruangchai Juwattanasamran
เรืองชัย จูวัฒนสำราญ
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: ถั่วเขียว
เพิ่มผลผลิต
อัตราพันธุกรรม
ผลผลิต
องค์ประกอบผลผลิต
high yield
mungbean
heritability
yield
yield component
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: The development of mungbean lines for high yield consists of 2 experiments. Experiment 1. Selecting the parent varieties for high yield compared with 3 standard varieties in RCB at Maejo University. Result was that  line no. 13 achieved the highest yield being the same as Kamphaeng Saen 1 and Kamphaeng Saen 2 varieties which were 2,213.09 2,191.82 and 2,272.67 Kg/ha, respectively. Experiment 2. Mungbean Breeding for high yielding ability of crosss selected lines with commercial varieties. The results found that 21 lines were obtained from 8 crosses by pedigree selection. The heritability (h2) based on F4 - F3 population was 62.34 %. The percentage of h2 on yield components of 1,000 seeds weight, number of pods per plant and number of seeds per pod were 81.61, 67.17 and 94.02 % respectively. The heritability of F5- F4 populations of yield, 1,000 seeds weight, number of pods per plant and number of seeds per pod were to 61.15, 66.67, 79.67 and 31.71 % respectively. The comparison was between 27 advanced breeding lines with 3 standard varieties in 2 environments at Maejo University and Irrigation No.1 Maetaeng station.The result found that  line no. MBS5-01(48)57 save the highest yield at 1,627.47 kg/ha. at MJU station. As will as lines no. MBS2-01(125)108 MBS4-03-14-78 MBS5-01(48)57 MBS4-02(48)16 MBS1-02(24)1 and MBS4-02-54-54 achieving 1,263.11 1,247.41 1,237.21 1,176.6 1,172.34 and 1,157 kg/ha respectively. The comparison of selection methods between pedigree selection and single seed descant selection on generation 6.at found that significantly differences on yield at Maejo University were 1,091.14 and 793.22 kg/ha for cross no.3, 862.35 and 1,138.55 kg for cross no.7, 648.03 and 1,153.78 for cross no.1 at Maetaeng Irrigation station.
การพัฒนาสายพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อเพิ่มผลผลิต ประกอบด้วย 2 การทดลอง โดยการทดลองที่1 คัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่ที่มีผลผลิตสูง เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐานกับ 3 พันธุ์ ทำการวางแผนทดลองแบบสุ่มลงในบล็อคอย่างสมบรูณ์ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ถั่วเขียวสายพันธุ์หมายเลข #13 มีผลผลิตสูงเท่ากับพันธุ์มาตรฐาน กำแพงแสน1 กำแพงแสน2 มีค่าเท่ากับ 2,213.09,2,191.82 และ2,272.67 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ  การทดลองที่ 2 เป็นการพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียว โดยการผสมสายพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ที่ดีกับพันธุ์มาตรฐาน ผลการทดลอง พบว่า สร้างลูกผสมได้ 8 คู่ผสม ทำการคัดเลือกแบบจดประวัติได้ 21 สายพันธุ์ เมื่อทำการศึกษาอัตราพันธุกรรมระหว่างชั่วที่ 4 บนชั่วที่ 3 พบว่า ลักษณะผลผลิต มีค่าเท่ากับ 62.34 เปอร์เซ็นต์ องค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด จำนวนฝักต่อต้น และจำนวนเมล็ดต่อฝัก มีค่าเท่ากับ 81.61,67.17 และ 94.02 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนอัตราพันธุกรรมระหว่างชั่วที่ 5 บนชั่วที่ 4 พบว่า ลักษณะผลผลิต มีค่าเท่ากับ 61.15 เปอร์เซ็นต์ องค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด จำนวนฝักต่อต้น และ จำนวนเมล็ดต่อฝัก มีค่าเท่ากับ 66.6 79.67 และ31.71 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบผลผลผลิตสายพันธุ์ใหม่ 27 สายพันธุ์ กับพันธุ์มาตรฐาน 3 พันธุ์ ใน 2 สภาพแวดล้อม ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่1(แม่แตง) ผลการทดลองมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า สายพันธุ์ MBS5-01(48)57 มีผลผลิตต่อเฮกตาร์สูงสุดเท่ากับ 1,625 กิโลกรัม สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่1 (แม่แตง) พบว่า สายพันธุ์ MBS2-01(125)108 MBS403-1478 MBS5-01(48)57 MBS4-02(48)16 MBS1-02(24)1 และMBS402-5454 มีผลผลิตต่อเฮกตาร์สูงเท่ากับ 1,263.11 1,247.41 1,237.21 1,176.6 1,172.34 และ 1,157 กิโลกรัม ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกระหว่างแบบจดประวัติ และแบบเมล็ดต่อต้นในชั่วที่ 6 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า คู่ผสมที่ 3 วิธีการคัดเลือกแบบจดประวัติมีผลผลิต เท่ากับ 1,091.14 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ แตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการแบบเมล็ดต่อต้น มีค่าเท่ากับ 793.22 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ และคู่ผสมที่ 7 วิธีการคัดเลือกแบบจดประวัติมีค่าผลผลิต เท่ากับ 862.35 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ แตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการแบบเมล็ดต่อต้น มีค่าเท่ากับ 1,138.55 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ส่วนสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 1 (แม่แตง) พบว่า คู่ผสมที่ 1 วิธีการคัดเลือกแบบจดประวัติ มีค่าผลผลิต เท่ากับ 648.03 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ แตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการแบบเมล็ดต่อต้นมีค่าเท่ากับ 1,153.78 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์
Description: Master of Science (Master of Science (Agronomy ))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชไร่))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/24
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5801301003.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.