Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/254
Title: MULTI-CRITERIA DECISION MAKING METHOD FOR EVALUATING OF ENVIRONMENTAL PEDESTRIAN FACILITIES IN UNIVERSITY AREAS IN CHIANG MAI PROVINCE
วิธีการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเดินเท้าในพื้นที่มหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ 
Authors: จีรนันท์ อินทร์ประเสริฐ
Punravee Kongboontiam
พันธุ์ระวี กองบุญเทียม
Maejo University. Architecture and Environmental Design
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: This objective of this study was to find the needs of pedestrians on the physical environment in the university area in Chiang Mai for the benefits on the pedestrian development and evaluation in the university area. There were five steps in this study; (1) survey and data collection using questionnaires by interviewing 1157 students with quota sampling technique; (2) analysis of requirement factors by ranking scale; (3) data collection using questionnaire survey by interviewing experts in engineering, architecture, landscape architecture, administrator of buildings and premises of the university;  (4) analysis of expert requirement factors by multi-criteria decision making method with Pairwise Comparison Technique; and (5) conclusion of data to obtain the evaluation criteria for suitable environment of the walkway in the university area. It was found that the major physical environment of the walkway, required by the student were the service and facilities (44.87%), the physical perceptions (33.76%), and the physical design (21.36%). The minor factor was the temporary rest area (21.31%). Pairwise Comparison by experts indicates that minor factors were policy and development plans (43.01%), physical design (26.26%), physical perceptions (22.60%), and service and facilities (8.13%). The minor factors were budget, compliance with policies and development plans, management and value therefore the evaluation criteria for physical environment of the walkway in the university area need to be focused on the budget, compliance with the policies and development plans, including the management of the walkway in the university area. In case of application, the design, the service and facilities should be considered because most of the students are pedestrian users, so the priority should be given.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความต้องการของผู้เดินเท้าต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพในพื้นที่มหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและประเมินทางเดินเท้าในพื้นที่มหาวิทยาลัย  มีขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมด 5 ขั้นตอนได้แก่  (1) การสำรวจ  รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบสอบถามด้วยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างนักศึกษาแบบโควตาจำนวน 1,157 คน (2) การวิเคราะห์ปัจจัยด้านความต้องการโดยวิธีมาตรวัดแบบจัดลำดับของนักศึกษาตัวอย่างซึ่งถูกจำแนกออกเป็นปัจจัยหลักและปัจจัยรอง  (3) การรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิศวกรรมศาสตร์  สถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์  ผู้บริหารกองอาคารและสถานที่ของมหาวิทยาลัย  (4) การวิเคราะห์ปัจจัยด้านความต้องการของผู้เชี่ยวชาญโดยวิธีการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ด้วยใช้เทคนิควิธีการเปรียบเทียบเป็นคู่  และ (5) สรุปข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำเกณฑ์ประเมินสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเดินเท้าในพื้นที่มหาวิทยาลัย  พบว่าปัจจัยหลักทางกายภาพของการเดินเท้าที่นักศึกษาให้ความสำคัญ ได้แก่ การบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมีค่าร้อยละ 44.87  การรับรู้ทางกายภาพมีค่าร้อยละ 33.76  และการออกแบบทางกายภาพมีค่าร้อยละ 21.36 ตามลำดับ ปัจจัยรองที่คนให้ความสำคัญกับกายภาพของการเดินเท้า ได้แก่ จุดพักชั่วคราวมีค่าร้อยละ 21.31 และปัจจัยที่ทำการเปรียบเทียบเป็นคู่ของผู้เชี่ยวชาญพบว่า ระดับปัจจัยหลัก ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญเรื่องของนโยบายและแผนการพัฒนามีค่าร้อยละ 43.01  การออกแบบทางกายภาพมีค่าร้อยละ 26.26 การรับรู้ทางกายภาพมีค่าร้อยละ 22.60 และการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมีค่าร้อยละ 8.13 ตามลำดับ ระดับปัจจัยรองที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญมาก ได้แก่ งบประมาณ  ความสอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนา การบริหารจัดการ ความคุ้มค่า  ดังนั้นในการจัดทำเกณฑ์การประเมินทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพของทางเดินเท้าในพื้นที่มหาวิทยาลัยจึงต้องให้ความสำคัญกับงบประมาณ  ความสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนา รวมถึงการบริหารจัดการความคุ้มค่าของทางเดินเท้าในพื้นที่มหาวิทยาลัย  และหากนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบควรพิจารณาเรื่องการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกเนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ทางเดินเท้าดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรก
Description: Master of Science (Master of Science (Environmental design and planning))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผนสิ่งแวดล้อม))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/254
Appears in Collections:Architecture and Environmental Design

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5619301001.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.