Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/262
Title: THE USING OF ORGANIC FEED IN BROILER AND LAYER HEN PRODUCTIONS 
การใช้อาหารอินทรีย์ในการผลิตไก่เนื้อและไก่ไข่
Authors: Kannikar Hamprakorn
กรรณิกา ฮามประคร
Buaream Maneewan
บัวเรียม มณีวรรณ์
Maejo University. Animal Science and Technology
Keywords: organic feed, broiler, layer hen
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: The use of organic feed in broiler and layer hen production was conducted in 2 experiments. Experiment 1; Two hundred and forty 1 day old chickens were randomly assigned to 5 experimental groups of 48 chickens with completely randomized design (CRD) each group had  4 replicates. Group 1, the chickens were fed with the non-organic control diet. Group of 2, 3, 4 and 5 the chickens were fed with the organic diets containing organic corn at 0, 10, 20 and 30 % respectively. The experimental period was 6 weeks. There were no significant differences in carcass component, pH of meat, lightness (L*), drip loss, cook loss, and shear force by different organic corn levels in the broiler diets (P>0.05). Feed intake and feed conversion ratio increased while body weight gain decreased in the organic feed groups during all the experimental periods (P<0.05). The final weight and living weight of the 20 and 30% organic corn groups were lower than those of the control group (P<0.05). The liver weight of the 0 and 10% organic corn groups were lower than those of the control group (P<0.05). The thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) of organic feed groups at days 3 and 7 were lower than those of the control group (P<0.05). The redness (a*) and yellowness (b*) of the 0% organic corn level group were lower than those of the control group (P<0.05). The ileal number of villi of the 20% organic corn group was higher than that of the control group (P<0.05). The duodenal crypt cells of the 10% organic corn group was higher than that of the control group (P<0.05). The jejunal villus heights and area of the 0 and 10% organic corn groups were higher than those of the control group (P<0.05). Experiment 2; Two hundred and forty 75 weeks old laying hen (CP brown) were randomly assigned to 5 experimental groups of 48 chickens with completely randomized design (CRD) each group had 4 replicates. The experimental design was similar to that in Experiment 1. The experiment period was 8 weeks. There were no significant differences in egg production, feed conversion ratio, feed intake and egg quailty by feeding with different organic corn levels (P>0.05). However, the yolk color decreased with decreasing organic corn levels (P<0.05). The yolk color of the 0% organic corn group was lowered (P<0.05). The duodenal and jejunal number of villi in the 0% organic corn group was higher than those of the control group (P<0.05). The duodenal and jejunal crypt cells, villus heights and area of the 10% organic corn level group was higher than those of the control group (P<0.05). In conclusion, the use of organic feed in broiler had on effect on carcass component and meat quality except the redness (a*) and yellowness (b*) of 0% organic corn groups decreased and the TBARS of organic groups were low. Feed intake and feed conversion ratio of organic groups were high but body weight gain was low. Feeding of 0 and 10% organic corn diets improve the final weight. The use of organic feed in laying hens had no effect on feed intake, egg product, feed conversion ratio and egg quailty. The egg yolk color deceased with the decrease in organic corn level. The organic diets enhanced intestinal morphology of both broiler and laying hens. Therefore, the organic corn in organic diets could be reduced by using 10 % of organic corn in broiler diet, which would improve the efficiency of production. In laying hen diet, the organic corn can be used at any level without any effect on egg production efficiency except the egg yolk color. Therefore, the use of low level organic corn in layer hen diets has to be supplemented with the natural pigment to increase the intensity of egg yolk color.
การศึกษาผลของการใช้อาหารอินทรีย์ในการผลิตไก่เนื้อและไก่ไข่แบ่งออกเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 การศึกษาผลของระดับการใช้ข้าวโพดอินทรีย์ที่แตกต่างกันต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก คุณภาพเนื้อ และสัณฐานวิทยาของลำไส้ในไก่เนื้อ โดยใช้ลูกไก่เนื้ออายุ 1 วัน จำนวน 240 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มการทดลอง แต่ละกลุ่มการทดลองมี 4 ซ้ำ ในกลุ่มทดลองละ 48 ตัว กลุ่มที่1 คืออาหารควบคุมที่ได้จากวัตถุดิบทั่วไปไม่ใช่อินทรีย์ กลุ่มที่ 2, 3, 4 และ 5 ที่ใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ 0, 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าการใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ในระดับที่ต่างกันไม่ส่งผลต่อองค์ประกอบซาก ค่าความเป็นกรด-ด่างของเนื้อ ค่าความสว่างของเนื้อ (L*) ค่าการสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น ค่าการสูญเสียน้ำจากการทำให้สุกด้วยการต้ม และค่าแรงตัดผ่านเนื้อ (P>0.05) แต่ส่งผลให้ปริมาณอาหารที่กิน และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักสูงขึ้น แต่ทำให้หนักตัวที่เพิ่มขึ้นมีค่าลดลงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) น้ำหนักตัวเมื่อสิ้นสุดการทดลองและน้ำหนักมีชีวิตของกลุ่มที่ใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) น้ำหนักตับของกลุ่มที่ใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ 0 และ 10 เปอร์เซ็นต์มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) ค่าการเกิดออกซิเดชันของเนื้อในวันที่ 3 และ 7 ของกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) ค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ของเนื้อของกลุ่มที่ใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ 0 เปอร์เซ็นต์มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) และกลุ่มที่ใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ 20 เปอร์เซ็นต์ส่งผลให้จำนวนวิลไลภายในลำไส้เล็กส่วนไอเลียมมีค่ามากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) กลุ่มที่ใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ที่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ส่งผลให้จำนวนคริปท์ภายในลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัมมีค่ามากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) กลุ่มที่ใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ 0 และ 10 เปอร์เซ็นต์ส่งผลให้ความสูงของวิลลัสและพื้นที่ของวิลลัสภายในลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมมีค่ามากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) การทดลองที่ 2 การศึกษาผลของระดับการใช้ข้าวโพดอินทรีย์ที่แตกต่างกันต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต คุณภาพไข่ และสัณฐานวิทยาของลำไส้ในไก่ไข่ โดยใช้ไก่ไข่อายุ 75 สัปดาห์ จำนวน 240 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) เช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 แต่ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าการใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ในระดับที่ต่างกันไม่ส่งผลต่อผลผลิตไข่ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่ ปริมาณอาหารที่กิน และคุณภาพของไข่ (P>0.05) แต่ค่าสีของไข่แดงลดลงเมื่อมีการลดปริมาณของข้าวโพดอินทรีย์ในสูตรอาหาร (P<0.05) และกลุ่มที่ใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ที่ระดับ 0 เปอร์เซ็นต์ส่งผลให้จำนวนวิลไลภายในลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม และเจจูนัมมีค่ามากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) กลุ่มที่ใช้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ที่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ส่งผลให้จำนวนคริปท์ ความสูงของวิลลัส และพื้นที่ของวิลลัสภายในลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม และเจจูนัมมีค่ามากกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม (P<0.05) จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า การใช้อาหารอินทรีย์ในการผลิตในไก่เนื้อไม่ส่งผลต่อองค์ประกอบซาก และคุณภาพของเนื้อ ยกเว้นค่าความเป็นสีแดง (a*)และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) มีค่าลดลงในกลุ่มอาหารอินทรีย์ที่ใช้ข้าวโพดที่ระดับ 0 เปอร์เซ็นต์ และค่าการเกิดการออกซิเดชันของเนื้อในทุกกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์มีค่าต่ำ การใช้อาหารอินทรีย์ในการผลิตไก่เนื้อส่งผลให้ปริมาณอาหารที่กิน และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักมีค่าสูง แต่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมีค่าต่ำและการให้อาหารอินทรีย์ที่มีข้าวโพดอินทรีย์ในระดับ 0 และ 10 เปอร์เซ็นต์ช่วยปรับปรุงให้น้ำหนักตัวเมื่อสิ้นสุดการทดลองมีค่าสูงขึ้น ส่วนการใช้อาหารอินทรีย์ในไก่ไข่ไม่ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่กิน ผลผลิตไข่ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นไข่ และคุณภาพของไข่ แต่ระดับของข้าวโพดอินทรีย์ในสูตรอาหารส่งผลอย่างเห็นได้ชัดในส่วนของสีของไข่แดง ซึ่งสีของไข่แดงจะลดลงตามปริมาณการใช้ข้าวโพดอินทรีย์ในระดับที่ต่ำลง การเลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์จะช่วยให้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลำไส้ทั้งในไก่เนื้อและไก่ไข่ดีขึ้น ดังนั้นสามารถลดการใช้ข้าวโพดอินทรีย์ในสูตรอาหารสัตว์อินทรีย์ได้ โดยในไก่เนื้อการใช้ข้าวโพดอินทรีย์เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ก็ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการผลิต ส่วนในอาหารไก่ไข่สามารถใช้ได้ทุกระดับโดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตยกเว้นสีของไข่แดง ดังนั้นการใช้ปริมาณข้าวโพดในระดับที่ต่ำในสูตรอาหารไก่ไข่จะต้องมีการเสริมสารสีที่ได้มาจากธรรมชาติเพื่อเป็นการเพิ่มสีของไข่แดงให้มีความเข้มมากขึ้น
Description: Master of Science (Master of Science (Animal Science))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/262
Appears in Collections:Animal Science and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5922301004.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.