Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/263
Title: TINOSPORA CORDIFOLIA CRUDE EXTRACT SUPPLEMENTATION IN BROILER DIETS
การเสริมสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดในอาหารไก่เนื้อ
Authors: Thanaphat Siriphongsathat
ธนภัทร ศิริพงศทัต
Buaream Maneewan
บัวเรียม มณีวรรณ์
Maejo University. Animal Science and Technology
Keywords: สารสกัดหยาบจากบอระเพ็ด
ไก่เนื้อ
ประสิทธิภาพการผลิต
องค์ประกอบซาก
คุณภาพเนื้อ
Tinospora cordifolia crude extract
Broiler
Production performance
Carcass quality
Meat quality
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: The use of Tinospora cordifolia crude extract (TCE) in broiler diet was conducted in 2 experiments. Experiment 1 Study of Tinospora cordifolia crude extract yield from extraction by aqueous compared with various concentrations of ethanol extraction (50, 60, 70, 80 and 90%). The extract obtained by aqueous, 50 and 60% of ethanol showed no significant differences (P>0.05) and extract by 80 and 90% ethanol showed the lowest amount of TCE compared with other groups (P<0.05). Evaporation time showed that 80 and 95% of ethanol could evaporate within 2 days. 70% of ethanol could evaporate within 3 days. 50 and 60% of ethanol could evaporate after more than 3 days and aqueous took the longest time to evaporate (more than 5 days). Therefore, the extraction of T. cordifolia by 70% of ethanol was most suitable. Experiment 2 Study of TCE supplementation in broiler diet with a different levels on the production performance, carcass quality, meat quality, number of cecal Escherichia coli (E. coli) and lactic acid bacteria, trypsin activity and histology of small intestine. 240 day-olds make broilers were assigned in completely randomized design (CRD) into 5 experiment groups. Group 1, the broilers were fed with control diet supplementation with TCE at the level of 0.05, 0.10, 0.15 and 0.20%, respectively. Each group contained 4 replicates, 12 birds per replicate. The broilers were fed the experimental diets for 35 days. The results showed that TCE had no effect on production efficiency, carcass quality, pH, colour, drip loss and the number of cecal E. coli  (P>0.05). TCE decreased loss of chicken thigh during cooking and lipid oxidation when compared with the control group (P<0.05). Dietary TCE showed a tendency of cecal E. coli decreasing (P=0.06). TCE supplementation at the level of 0.05, 0.10 and 0.20% decreased lactic acid bacteria when compared with control and 0.15% of TCE (P<0.05). In conclusion, the TCE supplementation at the level of 0.05% was sufficient for meat quality improvement and the tendency of cecal E. coli decreasing.
การศึกษาการใช้สารสกัดหยาบจากบอระเพ็ด (TCE) ในอาหารไก่เนื้อ แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาปริมาณสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดที่สกัดด้วยน้ำเปรียบเทียบกับเอทานอลเข้มข้น 50, 60, 70, 80 และ 95 เปอร์เซ็นต์ พบว่าปริมาณสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดที่สกัดด้วยด้วยน้ำ เอทานอลเข้มข้น 50 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) และการสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้น 80 และ 95 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณสารสกัดหยาบน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกกลุ่มทดลอง (P<0.05) ในขณะที่ระยะเวลาในการระเหยตัวทำละลาย พบว่า TCE จากการสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้น 80 และ 95 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลา 2 วัน การสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลา 3 วัน การสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้น 50 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลามากกว่า 3 วัน และการสกัดด้วยน้ำใช้เวลาในการระเหยนานที่สุด คือมากกว่า 5 วัน ดังนั้นการสกัด TCE ด้วยเอทานอลเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ จึงมีความเหมาะสมที่สุด การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการเสริม TCE ในอาหารไก่เนื้อในระดับที่แตกต่างกันต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก คุณภาพเนื้อ ปริมาณแบคทีเรีย E. coli และแบคทีเรียกรดแลคติกในไส้ติ่ง กิจกรรมของเอนไซม์ทริปซิน และลักษณะสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็กในไก่เนื้อ โดยใช้ไก่เนื้อเพศผู้อายุ 1 วัน จำนวน 240 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design; CRD) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่ได้รับอาหารควบคุม (TCE 0.00 เปอรร์เซ็นต์) และกลุ่มที่ 2, 3, 4 และ 5 คือกลุ่มที่ได้รับการเสริม TCE ในระดับที่ 0.05, 0.10, 0.15 และ 0.20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่ละกลุ่มประกอบด้วย 4 ซ้ำ ซ้ำละ 12 ตัว ทำการทดลองเป็นเวลา 35 วัน ผลการศึกษาพบว่าการเสริม TCE ในทุกระดับไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิต องค์ประกอบซาก ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าสี ค่าการสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น ปริมาณเชื้อ E. coli ในไส้ติ่ง และกิจกรรมของเอนไซม์ทริปซินในลำไส้เล็กของไก่เนื้อ (P>0.05) ในขณะที่การเสริม TCE ในทุกระดับจะส่งผลให้ค่าการสูญเสียน้ำจากการทำให้สุกของเนื้อสะโพก และการออกซิเดชันของไขมันในเนื้อลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P<0.05) นอกจากนี้การเสริม TCE ในทุกระดับ จะทำให้ปริมาณเชื้อ E. coli ในไส้ติ่งมีแนวโน้มลดลง (P=0.06) และการเสริม TCE ในระดับที่ 0.05, 0.10 และ 0.20 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ปริมาณเชื้อแบคทีเรียแลคติกลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับการเสริม TCE ในระดับที่ 0.15 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) ดังนั้นการเสริม TCE ในระดับที่ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ก็เพียงพอสำหรับการปรับปรุงคุณภาพเนื้อ และมีแนวโน้มช่วยลดปริมาณเชื้อ E. coli ในไส้ตื่งได้
Description: Master of Science (Master of Science (Animal Science))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/263
Appears in Collections:Animal Science and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5922301005.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.