Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/264
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPatcharee Somraken
dc.contributorพัชรี สมรักษ์th
dc.contributor.advisorPrapakorn Tarachaien
dc.contributor.advisorประภากร ธาราฉายth
dc.contributor.otherMaejo University. Animal Science and Technologyen
dc.date.accessioned2020-01-28T04:15:05Z-
dc.date.available2020-01-28T04:15:05Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/264-
dc.descriptionMaster of Science (Master of Science (Animal Science))en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์))th
dc.description.abstractThe effects of dietary lysine (Lys) and methionine (Met) levels on growth performance, nitrogen balance (N balance), carcass compositions, and meat quality in Black-boned chickens at 0-12 weeks of age were studied. A total 240 day-old Black-boned chickens were randomly distributed in completely randomized design (CRD). 4 dietary treatments were assigned with different concentrations of Lys and Met levels, 80% (T1), 90% (T2), 100% (T3), and 110% (T4) of broiler recommendation by NRC (1994) with an age 3 period of 0-4, 4-8, and 8-12 weeks in both experiments. Chickens received feed and water and was freely available at all times (ad libitum). The results as follows: Experiment 1: 0-4 week of age, body weight gain and feed conversion ratio were not difference among group (P > 0.05). However, chicks group 2 (Lys : Met 90% of broiler recommendation by NRC (1994) = 0.99 : 0.45) showed a tendency to increase feed intake and showed the greater value of N balance than other group (P < 0.05). Carcass characteristic were not affected by different levels of Lys and Met. But, meat of chicks group 2 (Lys : Met 90% of broiler recommendation by NRC (1994) = 0.99 : 0.45) had TBAR at day 7 and shear force lower than other group (P<0.05). Experiment 2: 4-8 week of age, feed intake and feed conversion ratio were not difference among group (P > 0.05). However, chicks group 3 (Lys: Met 100% of broiler recommendation by NRC (1994) = 1.00 : 0.38) showed a tendency to increase body weight gain, improve N balance, and weight of wings and thighs more than chicks fed in other group. TBAR, water holding capacity, and shear force values of meat in chicks group 3 (Lys: Met 100% of broiler recommendation by NRC (1994) = 1.00 : 0.38) were lower than other group. Experiment 3: 8-12 week of age, feed intake was not difference among group (P > 0.05). However, chicks group 4 (Lys: Met 110% of broiler recommendation by NRC (1994) = 1.10: 0.42) showed a tendency to improve body weight gain, feed conversion ratio, N balance, and weight of wings, thighs and breasts. TBAR values at day 7, water holding capacity and shear force value of breast meat in chicks group 4 (Lys: Met 110% of broiler recommendation by NRC (1994) = 1.10: 0.42) were lower than other group. In conclusion, this study indicated that the proper lysine and methionine levels in diets for improve growth performance, N balance, meat quality, and carcass composition in Black-boned chickens during 0-4, 4-8, and 8-12 week of age should be at 90%, 100% and 110% of broiler recommendation by NRC (1994), respectively.en
dc.description.abstractการศึกษาผลของระดับกรดอะมิโนไลซีนและเมทไธโอนีน ในอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต สมดุลไนโตรเจน องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อในไก่กระดูกดำที่อายุ 0-12 สัปดาห์ ใช้ไก่กระดูกดำแรกเกิด จำนวน 240 ตัว ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับกรดอะมิโน (ไลซีนและเมทไธโอนีน) ในอาหาร คือ 80% (T1), 90% (T2), 100% (T3) และ 110% (T4) และแบ่งระยะการให้อาหารเป็น 3 ระยะ คือ 0-4, 4-8 และ 8-12 สัปดาห์ ให้ไก่กระดูกดำได้รับน้ำและอาหารอย่างเต็มที่ตลอดการทดลอง จากผลการศึกษาพบว่า การทดลองที่ 1 ไก่กระดูกดำในช่วงอายุ 0-4 สัปดาห์ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวในแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่อย่างไรก็ตาม ไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 2 (กรดอะมิโนไลซีน : เมทไธโอนีน 90% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 0.99 : 0.45) มีแนวโน้มค่าปริมาณอาหารที่กินเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ และยังมีค่าสมดุลไนโตรเจนที่ดีกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อาหารที่มีระดับกรดอะมิโนที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อลักษณะซากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่ไก่กลุ่มที่ 2 (กรดอะมิโนไลซีน : เมทไธโอนีน 90% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 0.99 : 0.45) มีค่าการออกซิเดชันที่ 7 วัน หลังฆ่า และค่าแรงตัดผ่านของเนื้อหน้าอกต่ำกว่ากลุ่มอื่น (P<0.05) การทดลองที่ 2 ไก่กระดูกดำในช่วงอายุ 4-8 สัปดาห์ ปริมาณอาหารที่กินและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวในแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่อย่างไรก็ตาม ไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 3 (กรดอะมิโนไลซีน : เมทไธโอนีน 100% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 1.00 : 0.38) มีแนวโน้มน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น มีสมดุลไนโตรเจนมากขึ้น และมีน้ำหนักปีกและสะโพก มากกว่ากลุ่มอื่น (P<0.05) ค่าการออกซิเดชัน ค่าความสามารถในการอุ้มน้ำ และค่าแรงตัดผ่านของเนื้อไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 3 (กรดอะมิโนไลซีน : เมทไธโอนีน 100% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 1.00 : 0.38) ต่ำกว่ากลุ่มอื่น การทดลองที่ 3 ไก่กระดูกดำในช่วงอายุ 8-12 สัปดาห์ ปริมาณอาหารที่กินในแต่ละกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่อย่างไรก็ตาม ไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 4 (กรดอะมิโน  ไลซีน : เมทไธโอนีน 110% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 1.10 : 0.42) มีแนวโน้มปรับปรุงน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว สมดุลไนโตรเจน และน้ำหนักปีกและน่องมากกว่ากลุ่มอี่น ค่าการออกซิเดชันที่ 7 วัน หลังฆ่า ค่าการสูญเสียน้ำ และค่าแรงตัดผ่านของเนื้อหน้าอกไก่กระดูกดำกลุ่มที่ 4 (กรดอะมิโน  ไลซีน : เมทไธโอนีน 110% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) เท่ากับ 1.10 : 0.42) ต่ำกว่ากลุ่มอื่น จากการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าระดับไลซีนและเมทไธโอนีนที่เหมาะสมในอาหารที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการเจริญเติบโต สมดุลไนโตรเจน องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อของไก่กระดูกดำในช่วงอายุ 0-4, 4-8 และ 8-12 สัปดาห์ มีค่าเป็น 90%, 100% และ 110% ของคำแนะนำสำหรับไก่กระทงโดย NRC (1994) ตามลำดับ th
dc.language.isoth-
dc.publisherMaejo University-
dc.rightsMaejo University-
dc.subjectไลซีน เมทไธโอนีน ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต สมดุลไนโตรเจน องค์ประกอบซาก ไก่กระดูกดำth
dc.subjectLysine, Methionine, growth performance, N balance, carcass compositions, Black-Boned chickensen
dc.subject.classificationAgricultural and Biological Sciencesen
dc.titleEFFECTS OF DIETARY LYSINE AND METHIONINE LEVELS ON GROWTH PERFORMANCE, CARCASS COMPOSITION, AND MEAT QUALITY IN BLACK-BONED CHICKENSen
dc.titleผลของระดับกรดอะมิโนไลซีนและเมทไธโอนีนในอาหารต่อประสิทธิภาพ การเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อในไก่กระดูกดำth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Animal Science and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5922301006.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.