Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/267
Title: EFFECTS OF DRIED PAPER MULBERRY LEAF SILAGE SUPPLEMENTATION ON NUTRIENT DIGETIBILITIES, GROWTH PERFORMANCE AND CARCASS QUALITY ON PIGS
ผลของการใช้ใบปอสาหมักแห้งในอาหารต่อการย่อยได้ของโภชนะ สมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพซากของสุกร
Authors: Manichan Phetthavong
Manichan Phetthavong
Mongkol Yachai
มงคล ยะไชย
Maejo University. Animal Science and Technology
Keywords: สุกร
ใบปอสาหมักแห้ง
ประสิทธิภาพการย่อยได้
สมรรถภาพการเจริญเติบโต
คุณะภาพซาก
Fattening pig
Dried paper mulberry leaf silage
Digestibility
Growth performance
Carcass quality
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This study of fermented dried paper mulberry leaves in feed on growth performance, nutritive digestibility and carcass quality of fattening pigs. Divided into 2 experiments. Experiment 1. Study on nutritive digestibility in feed experiment was designed on 4x4 Latin square using hybrid male pig (Duroc x Large white x Landrace) the average weight 35 kg per pig, one pig per cage, total 4 pigs. Feed diet to all pig by 4 formation of feed: feed mixed with fermented dried paper mulberry leaf silage (PMLS) on 0, 3, 6 and 9 % (T1, T2, T3 and T4). It found that the use (PLMS) at different levels had not any effect on the percentage of DM digestibility (P>0.05) but effect on CP, EE  and DE digestibility with T3 group (3 %) was higher than control, 6 % and 9% group (P<0.05). The digestibility of CF, Ash and ABV was higher than every (PMLS) groups (P<0.05) NFE digestibility found that control and 3% group was higher than 6 and 9 % (P<0.05). ABV digestibility with 9% being lower than control, 3 and 6% (P<0.05). Experiment 2. Study on growth performance and carcass quality of fattening pig was divided to Randomized Complete Block Design (RCBD) included 4 treatments, 5 replication per each group and 2 pig per replication (male and female) the average starting weight 20 kg total number 40 pigs. Using the same feed formula as experiment 1 all of experiment found that growth performance, carcass characteristics, meat quality and feed cost per gain 1 kg (THB) all the experiment group not significant (P>0.05). It was found that using (PMLS) dietary with different percentage had an effect on warm carcass and cool carcass weight (P<0.05) especially using (PMLS) 9 % the weight reduced.   From this study it can be concluded that the use of PMLS with 3 and 6 % are appropriate to growth performance and carcass characteristic of pig, but the use (PMLS) at 9 % reduced growth performance slightly.
การศึกษาการใช้ใบปอสาหมักแห้งในอาหารต่อการย่อยได้ สมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพซากของสุกรครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 การศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหาร โดยการวางแผนการทดลองแบบ 4x4  ลาตินสแควร์ (4x4 Latin square) โดยใช้สุกรเพศผู้ตอน ลูกผสม 3 สายพันธุ์ (ดูรอค x ลาร์จไวท์ x แลนด์เรซ) น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 35 กิโลกรัมต่อตัว จำนวน 4 ตัว นำไปขังเดี่ยวในกรงเพื่อหาค่าการย่อยได้ ให้สุกรทุกตัวได้รับอาหาร 4 สูตร ดังนี้ อาหารผสมใบปอสาหมักแห้งที่ระดับ 0, 3, 6 และ 9 % (T1, T2, T3 และ T4 ตามลำดับ) พบว่าการใช้ใบปอสาหมักแห้งในสูตรอาหารสุกรในระดับที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง (P>0.05) แต่ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การย่อยได้ของโปรตีน ไขมัน และพลังงานย่อยได้ในกลุ่มที่ใช้ใบปอสาหมักแห้งที่ระดับ 3 % มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ใช้ใบปอสาหมักแห้งที่ระดับ 6 และ 9 % (P<0.05) เปอร์เซ็นต์การย่อยได้ของเยื่อใย เถ้า และค่าชีวภาพปรากฏ กลุ่มควบคุมมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ใช้ใบปอสาหมักแห้งทุกระดับ (P<0.05) เปอร์เซ็นต์การย่อยได้ของคาร์โบไฮเดรตกลุ่มควบคุม และกลุ่มใช้ใบปอสาหมักแห้งที่ระดับ 3 % มีค่าสูงกว่ากลุ่มใช้ใบปอสาที่ระดับ 6 และ9 % (P<0.05) เปอร์เซ็นต์การย่อยได้ของชีวภาพปรากฏ กลุ่มที่ใช้ใบปอสาหมักแห้งระดับ 9 % มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และ กลุ่มที่ใช้ใบปอสาหมักแห้งที่ระดับ 3 และ 6 % มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพซากของสุกรขุน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Completely Block Design, RCBD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มการทดลอง แต่ละกลุ่มการทดลองมี 5 ซ้ำ ซ้ำละ 2 ตัว (คละเพศ) น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 20 กิโลกรัมต่อตัว รวมทั้งหมด 40 ตัว โดยใช้อาหารทดลอง 4 สูตร เหมือนกันกับการทดลองที่ 1 พบว่าตลอดระยะเวลาการทดลองสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และต้นทุนค่าอาหารที่ใช้ต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (บาท) ในทุกกลุ่มการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่พบว่าการใช้ใบปอสาหมักแห้งในสูตรอาหารระดับที่ต่างกันทำให้น้ำหนักซากอุ่น และน้ำหนักซากเย็น มีความแตกต่างกันอย่างมินัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่ใช้ใบปอสาในสูตรอาหารระดับ 9 % มีค่าลดลง จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า การใช้ใบปอสาหมักแห้งที่ระดับ 3 และ 6 % เป็นระดับที่เหมาะสมต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และลักษณะซากของสุกร แต่การที่ใช้ใบปอสาระดับ 9 % จะทำให้สรรถภาพการเจริญเติบโตมีค่าลดลงเล็กน้อยแต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
Description: Master of Science (Master of Science (Animal Science))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/267
Appears in Collections:Animal Science and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6022301005.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.