Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/30
Title:  PROPAGATION TECHNIQUE IMPROVEMENT ON (MELIENTHA SUAVIS PIERRE)
การพัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์ผักหวานป่า(Melientha suavis Pierre)
Authors: Phonekeo Anousack
Phonekeo Anousack
Pranom Yangkhamman
ประนอม ยังคำมั่น
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: Chitosan, Gibberellic acid, Seed priming, Seed germination, Melientha suavis, Micropropagation, Gibberellic acid(GA3), Benzyladenine (BA)
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: This research aimed to improve propagation technique on Melientha suavis Pierre. Both seed priming technique and In vitro propagation were done. The seed priming technique can enhance high and fast seed germination as well as good seedling growth and so may solve the problems of low seed germination and slow shoot emergence in Melientha suavis Pierre. Pulp of ripening fruits was extracted and cleaned in water then seeds were dried under shading. Soaking dry seed in each concentrations of chitosan (20, 40 and 80 mg/l) and GA3 (250, 500 and 1,000 mg/l). Dry seed without priming and hydro-priming were used for control treatments. The soaking time was 12 hours. Then seeds were sown under sand at 2 cm. depth. The results show that 500 and 1,000 mg/l GA3 soaking treatments enhanced the speed of germination index and shoot emergence. Whereas, 20 and 40 mg/l chitosan soaking treatments also enhanced the high speed of germination index but these treatments had no affect on high shoot emergence when compared to GA3  In vitro technique was used for shoot multiplication. Embryos were cultured on MS medium for 30 days, then 1 cm. of seedling shoots were transferred on MS medium supplemented with BA (0, 1, 2 mg/l) and GA3 (0, 0.5, 1 and 2 mg/l). The shoot growth was analyzed at 60 days. The results showed that the highest shoot number (5.44 shoots) was obtained on MS medium supplement with 1 mg/l BA. While, the combination of BA (1 and 2 mg/l) and GA3 (0.5 and 1 mg/l) as well as 2 mg/l BA combined with 2 mg/l GA3 also increased shoot multiplication (3.77-4.55 shoots). Whereas, the longest shoots and normal growth of shoots were obtained on MS medium supplemented with 0.5 mg/l GA3. Henceforth, these shoots were suitable for root induction. The callus induction and shoot regeneration were studied in this research.  Hypocotyl of seedling was cut into 1 mm. thickness and they were used as explants for callus induction. The explants were cultured on MS medium supplemented with BAP (0, 1, 2, 2.5 and 3 mg/l) and NAA (0 and 0.5 mg/l). The results showed that the highest percentage of callus induction per area of explant (100 %) was obtained on MS medium supplement with 3 mg/l BA combined with 0.5 mg/l NAA. The light-green color and compact callus was obtained within 30 days. After that the calluses were transferred on the new medium having same level and kind of plant growth regulators. The growth and development of callus were examined. The result showed that 100 % of shoot regeneration was obtained on MS medium supplement with 2.5 mg/l BAP and average of shoot number per callus was 1.66 shoots. The regenerated shoots were obtained within 30 days after culture callus in new medium. Key words: Propagation, Seed germination, Chitosan, Plant growth regulators, Melientha suavis  
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์ผักหวานป่าทั้งวิธีการเตรียมความพร้อมเมล็ดก่อนเพาะ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ ซึ่งในการเพาะเมล็ดได้ทำการหาวิธีการกระตุ้นการงอกของเมล็ดให้มีความงอกที่สูง งอกเร็ว และมีการเจริญของต้นกล้าที่ดี วิธีการกระตุ้นการงอกของเมล็ดผักหวานป่า ทำโดยนำเมล็ดระยะสุกแก่เต็มที่ (เปลือกผลสีเหลือง) มาแกะเนื้อผลออกล้างทำความสะอาดและผึ่งเมล็ดในที่ร่มจนแห้ง ทำการแช่เมล็ดในสารละลายไคโตซาน (20, 40 และ 80 mg/l) และ GA3 (250, 500 และ 1,000 mg/l) เทียบกับชุดควบคุม คือ การไม่แช่และการแช่เมล็ดในน้ำ ระยะเวลาในการแช่เมล็ด 12 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดมาเพาะในทรายโดยฝังกลบเมล็ดให้ลึก 2 เซนติเมตร ผลการทดลองพบว่าการแช่เมล็ดในสารละลาย GA3 ความเข้มข้น 500 และ 1,000 mg/l ช่วยส่งเสริมให้เมล็ดผักหวานป่ามีการงอกรากที่ดี ให้ค่าดัชนีความเร็วในการงอก และเปอร์เซ็นต์การเกิดยอดที่สูง ส่วนการแช่เมล็ดในสารละลายไคโตซาน ความเข้มข้น 20 และ 40 mg/l ช่วยให้เมล็ดผักหวานป่ามีค่าดัชนีความเร็วในการงอกที่สูง แต่ไม่มีผลการส่งเสริมการเกิดยอดที่เพิ่มขึ่น ในกรณีการเพิ่มปริมาณยอดโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ เริ่มจากการเตรียมต้นอ่อน (embryo) ปลอดเชื้อที่ได้จากเมล็ดที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อพื้นผิวแล้ว ทำการแกะเอาเฉพาะส่วนต้นอ่อน เลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตเป็นเวลา 30 วัน จากนั้นตัดส่วนยอดขนาดความยาว 1 เซนติเมตร เลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม BA (0, 1 และ 2 mg/l) ร่วมกับ GA3 (0, 0.5, 1 และ 2 mg/l) เพื่อศึกษาการเพิ่มปริมาณยอดและการยืดของยอดผักหวานป่า ทำการบันทึกผลการเจริญของยอดหลังจากเลี้ยงในอาหารเป็นเวลา 60 วัน ผลการวิจัยพบว่าการเพิ่มปริมาณยอดผักหวานป่าสามารถทำได้โดยการเลี้ยงยอดในอาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 1 mg/l มีผลทำให้เพิ่มปริมาณยอดได้สูงสุดถึง 5.44 ยอด รองมาคือ การเลี้ยงยอดในอาหารที่เติม BA (1 และ 2 mg/l) ร่วมกับ GA3 (0.5 และ 1 mg/l) และ การให้ BA ร่วมกับ GA3 อย่างละ 2 mg/l มีผลต่อจำนวนยอดที่เพิ่มขึ้น คือให้จำนวนยอด 3.77-4.55 ยอด  ส่วนการเลี้ยงยอดในอาหารที่เติม GA3 ความเข้มข้น 0.5 mg/l ช่วยในการยืดของยอดที่เร็ว มีการเจริญของยอดดี คือมีการแผ่ของแผ่นใบที่ดี ยอดไม่อวบอ้วนและไม่ฉ่ำน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะของยอดที่เหมาะสมสำหรับการนำไปชักนำให้เกิดรากเพื่อออกปลูก จากการศึกษาการชักนำให้เกิดแคลลัสจากชิ้นส่วนของลำต้นใต้ใบเลี้ยงของต้นอ่อน (Hypocotyl) ทำการทดลองโดยการตัดชิ้นส่วนลำต้นใต้ใบเลี้ยงตามขวางและให้มีความหนา 1 มิลลิเมตร ทำการเลี้ยงชิ้นส่วนพืชในอาหารสูตร MS ที่เติม BAP (0, 1, 2, 2.5 และ 3 mg/l) ร่วมกับ NAA (0 และ 0.5 mg/l) ผลการวิจัยพบว่า อาหารสูตร MS ที่เติม BAP ในความเข้มข้น 3 mg/l ร่วมกับ NAA ในความเข้มข้น 0.5 mg/ l สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสต่อพื้นที่ได้ 100 % ลักษณะของแคลลัส เป็นสีเขียวครีม เกาะกันเป็นก้อนแน่น และหลังการเกิดแคลลัสที่อายุ 30 วัน ได้ทำการย้ายอาหารใหม่เพื่อดูการเจริญและพัฒนาของแคลลัสในอาหารสูตรเดิม ผลการทดลองพบว่า อาหารสูตร MS ที่เติม BAP ในความเข้มข้น 2.5  mg/l มีผลต่อเปอร์เซ็นต์การเกิดยอด 100 % และมีจำนวนยอดเฉลี่ยต่อแคลลัส 1.66 ยอด ภายใน 30 วันหลังย้ายแคลลัส   คำสำคัญ: การขยายพันธุ์, การงอกของเมล็ด, ไคโตซาน, สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช, ผักหวานป่า 
Description: Master of Science (Master of Science (Horticulture))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/30
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5801302012.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.