Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/428
Title: AUTOMATIC DOOR UNLOCK USING BLUETOOTH
ปลดล็อกประตูอัตโนมัติด้วยบลูทูธ
Authors: Kittipat Khuasarn
กิตติพัฒน์ เครือสาร
Kittikorn Hantrakul
กิตติกร หาญตระกูล
Maejo University. Science
Keywords: บลูทูธ
ราสเบอร์รี่พาย
ระดับบ่งชี้ของความแรงของคลื่นความถี่วิทยุ
Bluetooth
Raspberry Pi
RSSI (Received signal strength indication)
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: Today's technology is developing faster in both hardware and software. The automatic door system at present is still verified by the key card and fingerprint. The new technology developed by the IoT (Internet of Things) have a role in the development of various systems for convenience. The research presented using Bluetooth from mobile smart phone to confirm the identity key card or fingerprint. Because the survey found that most people have a mobile smart phone with you at all times Including the introduction of Bluetooth to reduce direct contact with the device to prevent germs or the spread of viruses. Bluetooth authentication with the Bluetooth address (BD_ADDR), an identity that is unique to other devices and Bluetooth technology is an indoor positioning confirmation is more accurate than GPS. The principle of a Bluetooth signal to release the so-called RSSI (Receive Signal Strength Indicator) to confirm the position of the device. The results of the experiment, Bluetooth was able to verify the identity with the Bluetooth Address (BD_ADDR) and experiments revealed that the strength of the RSSI signal sent to the Raspberry Pi the unstable RSSI signal strength. Researchers have various theories average used for screening data and find the mean of RSSI. When tested in the 1 meter is in the good and suitable for the experimental site. However, the data that has been averaged Still found that there are some mistakes. The automatic door system configuration, signal strength based on the actual usage location.
เทคโนโลยีปัจจุบันมีการพัฒนาที่เร็วขึ้นทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยระบบประตูอัตโนมัติในปัจจุบันยังคงเป็นการยืนยันตัวตนโดยการใช้คีย์การ์ดและลายนิ้วมืออยู่ ซึ่งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่มุ่งพัฒนาโดยเอา IoT (Internet of Things) เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อความสะดวก ส่วนในงานวิจัยที่นำเสนอนี้เลือกใช้บลูทูธจากมือถือสมาร์ทโฟนมาเพื่อยืนยันตัวตนแทนคีย์การ์ดหรือลายนิ้วมือ เพราะจากการสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่มีมือถือสมาร์ทโฟนติดตัวอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการนำบลูทูธเข้ามาพัฒนาเพื่อลดการสัมผัสโดยตรงกับอุปกรณ์เพื่อป้องกันเชื้อโรคหรือการแพร่ระบาดของไวรัสได้อีกด้วย บลูทูธสามารถยืนยันตัวได้ด้วยบลูทูธแอดเดรสหรือที่เรียกว่า Bluetooth Address (BD_ADDR) ซึ่งเป็นรหัสประจำตัวที่ไม่ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่นและบลูทูธเป็นเทคโนโลยียืนยันตำแหน่งในที่ร่มแม่นยำกว่าจีพีเอส โดยหลักการทำงานของบลูทูธจะปล่อยคลื่นสัญญาณที่เรียกว่า RSSI (การวัดความแรงหรือความเข้มของสัญญาณ) ออกมาเพื่อยืนยันตำแหน่งของอุปกรณ์นั้น ๆ  จากผลการศึกษาพบว่าการใช้บลูทูธสามารถยืนยันตัวตนได้ด้วย Bluetooth Address (BD_ADDR) และการทดลองทำให้ทราบความแรงของสัญญาณ RSSI ที่ส่งไปยังราสเบอร์รี่พายนั้นมีความไม่แน่นอน ผู้วิจัยจึงมีการนำทฤษฎีค่าเฉลี่ยข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ เพื่อคัดกรองข้อมูลและหาค่ากลางของ RSSI เมื่อนำมาทดสอบพบว่าในระยะ 1 เมตร อยู่ในเกณฑ์ที่ดีและเหมาะสมกับสถานที่ที่ทำการทดลอง แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ผ่านการหาค่าเฉลี่ยมาแล้ว ยังพบว่ามีความผิดพลาดอยู่บ้างเมื่อนำมาใช้งาน ซึ่งในระบบประตูอัตโนมัตินั้นควรกำหนดค่าความแรงสัญญาณและตั้งค่าระบบโดยอ้างอิงจากสถานที่ที่ใช้งานจริงเป็นหลัก
Description: Master of Science (Master of Science (Digital Technology Innovation))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/428
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6004308002.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.