Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/439
Title: THE PRODUCTION OF HIGT QUALITY SEEDLINGS OF Dipterocarpus alatus Roxb., Dipterocarpus tuberculatus  Roxb. AND Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq. 
การผลิตกล้าไม้ ยางนา ยางพลวง และยางเหียง เชิงคุณภาพ
Authors: Sirinthip Chaimongkhon
ศิรินทิพย์ ชัยมงคล
Thanakorn Lattirasuvan
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
Maejo University. Maejo University - Phrae Campus
Keywords: ยางนา
ยางพลวง
ยางเหียง
กล้าไม้คุณภาพ
Dipterocarpus alatus
Dipterocarpus tuberculatus
Dipterocarpus obtusifolius
Quality seedlings
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives studied efficiency of mother plants consist in Dipterocarpus alatus, Dipterocarpus tuberculatus, and Dipterocarpus obtusifolius about phenology, germination rate and growth rate. The methodology was 3 parts compose of following the phenology and germination rate, testing mycorrhiza and follow growth rate at nursery. The study area in natural forest at Phrae province and surveyed Dipterocarpus alatus 75 trees, Dipterocarpus tuberculatus 56 trees and Dipterocarpus obtusifolius 52 trees. Moreover, following the flowering and fruiting phenology and average rainfall in the period April 8th, 2019 to May 11th, 2020. The study area were 5 places such as 1) the Watershed Watershed Conservation Development Study Center and Chetawan Arboretum, Phrae Province (CW), 2) Ban Sridonchai, Thung Laeng Sub-district, Long District, Phrae Province (TL), 3) Maejo University Phrae Campus (MJU), 4) the channel 7 signal station area original color Khao Haeng (KK) and 5) Ban Mai community forest allocated to Rong Khem Subdistrict, Rong Kwang District (BM) As the results, seed germination from natural forest that Dipterocarpus alatus at CW and TL was not significant of germination rate. On the other hand, Dipterocarpus obtusifolius at MJU and KK was significant of germination rate. Dipterocarpus tuberculatus at BM and MJU was not significant of average days and germination rate. The results of testing mycorrhiza of three species at nursery which putting mycorrhiza 10 cc., 20 cc. and not putting mycorrhiza. After one way – ANOVA analysis which growth of three species was significant at 95% confidence level. Therefore, mycorrhiza with seedling is better growth the without mycorrhiza.
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแม่ไม้ของต้นยางนา ยางพลวง ยางเหียง เพื่อดูอัตราการงอก การเจริญเติบโตของกล้าไม้ ที่แข็งแรงมีประสิทธิภาพ วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) การงอกของเมล็ดจากการเพาะเมล็ดพันธุ์จากป่าธรรมชาติ 2) การทดลองการใส่เชื้อเห็ดและการติดตามการเจริญเติบโตของกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ 3) การทดลองการปลูกกล้าไม้ต้นยางพลวงในแปลงปลูก พื้นที่ศึกษาในป่าธรรมชาติอยู่ใน จ.แพร่ ทำการสำรวจยางนา Dipterocarpus alatus (75 ต้น) ยางพลวง Dipterocarpus tuberculatus (56 ต้น) และยางเหียง Dipterocarpus obtusifolius (52 ต้น) การติดตามการออกดอกติดผล การเปลี่ยนแปลงของใบในช่วง 8 เม.ย. 2562 – 11 พ.ค. 2563 ในพื้นที่ 5 แห่ง ได้แก่ 1) พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอนุรักษ์ต้นน้ำลุ่มน้ำยมและสวนรุกขชาติเชตวัน (CW) 2) บ้านศรีดอนชัย ต.ทุ่งแล้ง อ.ลอง (TL) 3) พื้นที่ป่ามหาวิทยาแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ (MJU) 4) บริเวณสถานีสัญญาณช่อง 7 สี เดิมเขาครึ่ง (KK) 5) ป่าชุมชนบ้านใหม่จัดสรร ต.ร้องเข็ม อ.ร้องกวาง (BM) และศึกษาปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่า การงอกของเมล็ดจากการเพาะเมล็ดพันธุ์จากป่าธรรมชาติ พบการงอกของเมล็ดยางนาในพื้นที่ CW และ TL มีค่าที่ต่างกันไม่มากสำหรับอัตราการงอกสะสม การงอกของเมล็ดยางเหียงในพื้นที่ MJU และ KK มีค่าอัตราการงอกสะสมที่ต่างกัน การงอกของเมล็ดยางพลวงในพื้นที่ BM และ MJU มีค่าเฉลี่ยวันที่งอกไม่ต่างกัน และอัตราการงอกสะสมที่ต่างกันไม่มาก ผลของการทดลองการใส่เชื้อเห็ดและการติดตามการเจริญเติบโต กล้าไม้ ยางนา ยางเหียง และยางพลวง ในเรือนเพาะชำ โดยการทดลองการใส่เชื้อเห็ดขนาด 10 ซีซี 20 ซีซี และไม่ใส่เชื้อเห็ด และทดสอบทางสถิติ one way – ANOVA พบว่า ความโตของต้นยางนา ต้นยางเหียง และต้นยางพลวงที่มีการใส่เชื้อเห็ดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งต้นที่ใส่เชื้อเห็ดมีความโตได้ดีกว่าต้นที่ไม่ใส่เชื้อเห็ด ผลการทดลองการปลูกกล้าไม้ยางพลวงในแปลงปลูก โดยต้นกล้าไม้ยางพลวงที่มีการใส่เชื้อเห็ดและไม่ใส่เชื้อเห็ดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยกล้าไม้ที่ใส่เชื้อเห็ดมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นที่ไม่ใส่เชื้อเห็ดในแปลงปลูกที่มีสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมลักษณะเดียวกัน
Description: Master of Science (Master of Science (Forest Management))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการป่าไม้))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/439
Appears in Collections:Maejo University - Phrae Campus

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6208301018.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.