Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/461
Title: THE STUDY OF TREDITIONAL KNOWLEDGE TIE-DYE IN HUAY TONG NOI VILLAGE, OMKOI DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
การศึกษาการทำด้ายมัดย้อมโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ชุมชนบ้านห้วยตองน้อย ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Suriwan Soemmathiwong
สุรีวรรณ เสริมมติวงศ์
Phanit Nakayan
ผานิตย์ นาขยัน
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: การจัดการความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้ายมัดย้อม
ชุดการเรียนรู้การทำด้ายมัดย้อม
knowledge management
local wisdom
tie dyeing
learning kit on tie dyeing
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to : 1) explore folk wisdom related to tie dyeing and its utilization of people in the community; 2) investigate a method of tie dyeing by using folk wisdom; and 3) prepare a learning kit on tie dyeing of the community.  There was the collection of body of knowledge about tie dyeing at Baan Huay Tong Noi using a tool of the seven steps of a knowledge management process.  It was used to determine data collection together with participatory learning management.  Results of study revealed that there were five patterns of the traditional tie pattern in the community.  There were : 1) Nikkhigchor (Flowing water pattern), 2) Khokhibo (Two leg pattern), 3) Maeder (Glasses pattern), 4) Nikkhigpo (Small tie-dye pattern, three-round pattern), and 5) Nikkhigpo (Small tie-dye pattern, Two-round pattern).  In addition, there were there patterns of newly developed tie dyeing related to this folk wisdom designed by four local scholars.  It consisted of the following: 1) local scholar on tie dyeing (2 persons), 2) local scholar on natural dyeing (1 person), and 3) local scholar on making tools for weaving (1 person).  Not only this, there were 60 persons there involving in tie dyeing using.  Local people there wove traditional tube skirts made of Toray tread or artificial skill (3-5 pieces per family) and made of tie-dyed cotton from natural color (1-3 pieces per family).  Findings showed that the local people there aged 30 years old and above were more interested in natural dyed cotton than those of below 30 years old.  Ten percent of the local people there were interested in tie dyeing and natural dyeing.  As a whole, local people there had knowledge and skills in tie dyeing for children and youths with the intention to conserve this local wisdom.  Twelve participants (100%) in this study had knowledge and skills in tie dyeing and were able to transfer this knowledge to others.  Furthermore, it was found that the learning kit was appropriate with climate condition of Baan Huay Tong Noi and the learning facilitation there.  This was under the supervision of “Mae Fah Luang” the learning center for the mountain Thai community.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจภูมิปัญญาการทำด้ายมัดย้อมในชุมชนและการใช้ด้ายมัดย้อมของชาวบ้านในชุมชน 2) ศึกษาวิธีการทำด้ายมัดย้อมโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน 3) สร้างชุดการเรียนรู้การทำด้ายมัดย้อมของชุมชนโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาการทำด้ายมัดย้อมบ้านห้วยตองน้อยด้วยการใช้เครื่องมือของกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน มากำหนดการเก็บรวบรวมข้อมูล ร่วมกับจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า มีลายมัดย้อมดั้งเดิมของชุมชน ทั้งหมด 5 ลาย  ได้แก่ 1. ลายนิกคิกจ่อ (ลายน้ำไหล) 2. ลายโคะคีโบ (ลายขา 2 ข้าง) 3. ลายแมะเดอ (ลายแว่นตา) 4. ลายมัดย้อมแถบเล็ก (นิกคิกโพ) แบบ 3 รอบ 5. ลายมัดย้อมแถบเล็ก (นิกคิกโพ)แบบ 2 รอบ  และลายมัดย้อมลายใหม่ที่พัฒนาขึ้น 3 ลาย มีภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการทำด้ายมัดย้อม จำนวน 4 คน ได้แก่ 1. ปราชญ์ภูมิปัญญาการทำด้ายมัดย้อม จำนวน 2 คน  2. ปราชญ์การย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 1 คน 3. ปราชญ์การทำเครื่องมือเกี่ยวกับงานผ้าทอ จำนวน 1 คน  และการใช้ด้ายมัดย้อมของชาวบ้านในชุมชนบ้านห้วยตองน้อย จำนวน 60 คน โดยชาวบ้านจะทอผ้าซิ่นจากด้ายโทเรหรือไหมประดิษฐ์ ครอบครัวละ 3 – 5 ผืน และทอผ้าซิ่นจากฝ้ายมัดย้อมจากสีธรรมชาติ ครอบครัวละ 1 – 3 ผืน ชาวบ้านที่มีช่วงอายุ  30 ปีขึ้นไปจะมีความสนใจการใช้ฝ้ายมัดย้อมจากสีธรรมชาติมากกว่าชาวบ้านที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี  มีชาวบ้านร้อยละ 10 ที่สนใจการทำด้ายมัดย้อม และการย้อมด้วยสีธรรมชาติ ชุมชนมีความรู้และสามารถทำด้ายมัดย้อมได้  มีด้ายมัดย้อมไว้ใช้เอง ไม่ต้องซื้อใช้จากชุมชนอื่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และฝึกทักษะการทำด้ายมัดย้อมสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นในการทำด้ายมัดย้อม ผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 12 คน มีความรู้ สามารถทำด้ายมัดย้อมได้ และสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดการทำด้ายมัดย้อมให้กับบุคคลอื่นได้ คิดเป็นร้อยละ 100 จากผู้ร่วมกิจกรรม การจัดสร้างและใช้ชุดการเรียนรู้การทำด้ายมัดย้อมของชุมชนโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน  พบว่าการใช้สื่อชุดการเรียนรู้การทำด้ายมัดย้อมในการจัดการเรียนรู้สำหรับเยาวชน สื่อไวนิลมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของบ้านห้วยตองน้อย และเหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ที่เป็นกลุ่มตามรูปแบบการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัดของศูนย์การเรียนการเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”
Description: Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/461
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5901417020.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.