Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/48
Title: THE DEVELOPMENT OF A MANAGEMENT MODEL FOR THE EXISTENCE OF A SUFFICIENCY ECONOMY VILLAGE MODEL IN UPPER NORTHERN THAILAND
การพัฒนารูปแบบการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน
Authors: Suwichan Tunin
สุวิชาญ ทุนอินทร์
Phahol Sakkatat
พหล ศักดิ์คะทัศน์
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: การจัดการเพื่อการดำรงอยู่,หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ,สมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ,ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Management of the existence, Member Village sufficiency economy model, Sufficiency Economy Philosophy.
Village sufficiency economy model
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to: 1) explore contexts and situation of sufficiency economy villages in upper northern Thailand; 2) investigate factors related to the village existence management; and 3) develop a form of the management of the sufficiency economy villages. This study employed qualitative and quantitative methods. Population is this study were villages in upper northern Thailand comprising 8 provinces: Chiang Mai, Chiang Rai, Lamphun, Mae Hong Son, Lampang, Prae, Nan and Phayao. The sample group consisted of 158 villages in Lampang, Prae, Nan, and Phayao provinces (790 persons, 5 persons per village). An interview schedule was used for data collection and analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. Results of the study revealed that these villages were supported to be sufficiency economy villages by the Office of Community Development in each province. They were given a certificate as a sufficiency economy village model when they passed an assessment based on 3 levels: a moderate, high and highest level. This was under the philosophy of sufficiency economy making people in the villages be sustainable happy. Regarding a level of the management to make the village model in upper northern Thailand be existent, this was on the basis of 4 aspects: spirit and society (X=4.13, 3.97), economy (X=3.85, 3.70), learning (X=3.84, 3.65), and resources/ environment (X=3.81, 3.65, respectively). As a whole, all aspects were found at a high level (3.51-4.50). For factors having relationships with the management to mane the village model in upper northern Thailand be existent, it was found that there was a significant relationship at 0.01 among the following variables: years of being a sufficiency economy village model and main occupation (sig.= 0.05 and 0.01, respectively), and village savings/activity participation (sig.= 0.01 and 0.05, respectively). Regarding the development of a form of the management to make the village model in upper northern Thailand be existent, this was based on the following 4 aspects: 1) spirit and society-creation of understanding to village members to perceive village member participation in activities promoting the philosophy of sufficiency economy; 2) economy-assisting village members on debts and encouraging then to join various found in the village as well as career promoting; 3) learning-establishment of the village learning center for knowledge transfer from generations to generations; and 4) resources and environment-creation of consciousness about the conservation of resources and environment for a highest benefit.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและสถานการณ์ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบนทั้งระดับหมู่บ้านและสมาชิก และ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน มีวิธีการศึกษาแบบผสมผสานเป็นการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ทำการศึกษาได้แก่ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ที่ได้รับการรับรองจากกรมการพัฒนาชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา ได้กลุ่มตัวอย่างรวมกันทั้งหมด 158 หมู่บ้าน และตัวแทนที่เป็นสมาชิกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 790 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ด้วยการแจกแจงความถี่  ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น การใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆต่อการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านและสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในภาคเหนือตอนบนโดยมีผลการศึกษาดังนี้ ในด้านบริบทและสถานการณ์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน พบว่า การริเริ่มเข้าสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบนั้น หมู่บ้านเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานสำนกงานพัฒนาชุมชนแต่ละจังหวัด ให้พัฒนาตนเองและคนในหมู่บ้าน เพื่อยกระดับและเป็นตัวอย่างที่ดีกว่าหมู่บ้านอื่น จะได้รับการประเมินจากหน่วยงานที่รับผิดชอบภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยเมื่อผ่านการประเมินก็จะได้รับการประกาศเกียรติคุณให้กับหมู่บ้านเป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” ซึ่งจะเป็นต้นแบบในระดับใดนั้นแล้วแต่ความพร้อมและศักยภาพของแต่ละหมู่บ้านซึ่งมีอยู่ 3 ระดับที่ไม่จำเป็นต้องผ่านตามระดับได้แก่ “พออยู่ พอกิน” “อยู่ดี กินดี” และ “มั่งมี ศรีสุข” ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำหมู่บ้านและสมาชิกหมู่บ้านให้อยู่อย่างมีความสุขและยั่งยืน ด้านระดับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้าน และสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือพบว่าหมู่บ้านและสมาชิกมีระดับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านจิตใจและสังคม (4.13, 3.97) ด้านเศรษฐกิจ (3.85, 3.70) ด้านการเรียนรู้ (3.84, 3.65) และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (3.81, 3.65) ตามลำดับ ซึ่งผลเฉลี่ยแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 ตามลำดับ) ในด้านการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบนทั้งในระดับหมู่บ้านและสมาชิกหมู่บ้าน ผลการศึกษาพบว่า ในระดับหมู่บ้านตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่โดยรวมทั้ง 4 ด้านของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน คือ ระยะเวลาการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และอาชีพหลัก มีระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ ระดับสมาชิกหมู่บ้าน ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน คือ เงินสะสมในหมู่บ้าน และการเข้าร่วมกิจกรรม มีระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ในด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านและสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน รูปแบบที่ได้จากการพัฒนาโดยการนำปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านและสมาชิกทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านจิตใจและสังคม คือ การสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกในชุมชนรับรู้ถึงการเข้ามามีส่วนร่วม การเข้าร่วมประชุมและการเสนอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมในการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต 2) ด้านเศรษฐกิจคือการช่วยเหลือสมาชิกด้านหนี้สินส่งเสริมเข้าร่วมกลุ่มกองทุนต่างๆ ในหมู่บ้านและส่งเสริมการประกอบอาชีพในหมู่บ้านเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนในหมู่บ้าน 3) ด้านการเรียนรู้คือการส่งเสริมสร้างศูนย์การเรียนรู้ สร้างแหล่งถ่ายทอดความรู้ในหมู่บ้านและสืบทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น และ 4) ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมคือการร่วมสร้างจิตสำนึกให้เกิดการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าและสูงสุด  
Description: Docter of Philosophy (Doctor of Philosophy Resources Development and Agricultural Extension))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/48
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5801732005.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.