Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/56
Title: STUDY ON POSTHAVEST CHANGE IN PHYSICAL AND CHEMICAL CHARACTERISTICS OF OIL-TEA (Camellia oleifera Abel.) SEEDS  
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวทางกายภาพและเคมีของเมล็ด ชาน้ำมัน (Camellia oleifera Abel.) 
Authors: Attanon Jun-on
อรรถนนท์ จันทร์อ่อน
Sanh La-ongsri
สัณห์ ละอองศรี
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: ชาน้ำมัน กายภาพ เคมี หลังการเก็บเกี่ยว
Physical
Chemical
Postharvest
Seeds
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This research is to study the physical and chemical changes of oil tea seeds during postharvest storage and study postharvest management of oil tea seeds. The seeds were kept at different times and methods. Study was conducted of changes in oil content, moisture, seed viability, acid and peroxide in oil tea seeds for the benefit to postharvest management. In this experiment tea oil Camellia seeds were used aged 10 months after fertilization from Ban Puna plantation, Mae Fa Luang district, Chiang Rai province (Altitude 980 meters from sea level). The results showed that the seeds lost viability after 60 days of storage and seeds changed oil, acid and peroxide content in the tea seeds which increased 12.88 percent, 42.4 times and 11.43 times, respectively. After 90 days of storage the moisture content of the seeds decreased by 31.22 percent. Storage of tea oil Camellia seeds in a sealed plastic bag was most suitable packaging. At 90 days storage the amount of peroxide was 19.59 meq/kg, giberelin concentration was 300 milligram per liter, 8 days of tea seed storage could increase the amount of oil in tea oil Camellia seeds 9.47 percent compared with first day of storage. Seeds increased the amount of oil 4.47 percent.
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และเคมี ของเมล็ดชาน้ำมันระหว่างการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว และเพื่อศึกษาการจัดการเมล็ดชาน้ำมันหลังการเก็บเกี่ยว โดยเก็บรักษาด้วยวิธีการ และระยะเวลาที่แตกต่างกัน โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำมัน ความชื้น ความมีชีวิตของเมล็ด กรด และเพอร์ออกไซด์ในเมล็ดชาน้ำมัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ในการทดลองนี้ใช้เมล็ดชาน้ำมันอายุ 10 เดือนหลังจากดอกบาน บนพื้นที่ปลูกชาน้ำมัน บ้านปูนะ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย (ระดับความสูง 980 เมตรจากระดับน้ำทะเล)  ผลการศึกษานี้พบว่า เมล็ดเกิดการสูญเสียความมีชีวิตในวันที่ 60 ของการเก็บรักษา ในระยะเวลา 90 วันของการเก็บรักษาเมล็ดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณน้ำมัน ปริมาณกรด และปริมาณเพอร์ออกไซด์ในเมล็ดชาน้ำมันเพิ่มขึ้น 12.88 เปอร์เซ็นต์ 42.4 เท่า และ 11.43 เท่าตามลำดับ และปริมาณความชื้นในเมล็ดลดลง 31.22 เปอร์เซ็นต์จากการเปรียบเทียบกับวันแรกของการเก็บรักษา การเก็บรักษาเมล็ดชาน้ำมันในถุงพลาสติกปิดสนิทมีความเหมาะสมมากที่สุดในการเก็บรักษาเมล็ดชาน้ำมัน โดยในการเก็บรักษาที่ 90 วันปริมาณเพอร์ออกไซด์เท่ากับ 19.59 meq/kg และการใช้จิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้น 300 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับการเก็บรักษาเมล็ดชาน้ำมันที่ 8 วัน สามารถเพิ่มปริมาณของน้ำมันในเมล็ดได้มากที่สุดคือ 42.64 เปอร์เซ็นต์ มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำมันจากเมล็ดชาสด 9.49 เปอร์เซ็นต์ และมากกว่าเมล็ดที่ไม่ได้รับจิบเบอเรลลินที่ระยะเวลาการเก็บรักษาเท่ากัน 4.47 เปอร์เซ็นต์
Description: Master of Science (Master of Science (Horticulture))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/56
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5901302017.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.