Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/57
Title: STUDY ON GENETIC DIVERSITY OF MANGO CULTIVARS BY SSR MARKERS TECHNIQUE
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์มะม่วงโดยเทคนิคเครื่องหมายดีเอ็นเอ ชนิด เอส เอส อาร์
Authors: Ubonwan Hong-in
อุบลวรรณ หงษ์อินทร์
Orapin Saritnum
อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: มะม่วง, พันธุ์, สัณฐานวิทยา, เอส เอส อาร์
Mango; Cultivars; Morphological; SSR
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: Genetic diversity of a mongo cultivars were studied using morphological and molecular markers for breeding program. This study used morphological markers to identify the differences between 20 mango cultivars grown at Maejo University Farm, Chiang Mai. In the result, it was found that morphological characters can be classified into 5 groups 1) Kaeo 2) Namdokmai 3) Nangklangwan 4) Okrong and 5) Round fruit group. Namdokmai group and Okrong group were to good quality and fruit such as Jin Huang2 has the highest weight, 736.64 g. and fruit length, 201.85 cm. Chok Anan has the highest total soluble solids at 18.60oBrix. Namdokmai Sithong2 has the lowest total titratable acidity at 0.24 ml. and the highest total soluble solids/total titratable acidity at 74.64. There are significantly differences at LSD=0.05 level. SSR can identify the mango group of 20 mango cultivars into 4 groups: Group 1 are Jin Huang1, Jin Huang2, R2E2 and Carabao. Group 2 are Mahachanok1, Mahachanok2, Mandueankao and Talapnak. Group 3, Namdokmai Sithong1, Namdokmai Sithong 2, Namdokmai No.4-1, Namdokmai No.4-2 and Chok Anan. And group 4 are Tuek, Sampi, Kaeo and Kaeo Luemrang. Calculation coefficient as genetic (similarity coefficient) found that all 20 mango cultivars of the coefficient of genetic had similarity at between 0.52 to 0.94. The highest genetic similarity coefficient was 0.94 when presented in the dendrogram. The result of the classification can clearly be classified as mango cultivars. This data will be useful for further classifying and selecting mango cultivars in breeding program.
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยเครื่องหมายทางสัณฐานวิทยาและเครื่องหมายโมเลกุลสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ได้ ในการศึกษานี้ได้นำเครื่องหมายทางสัณฐานวิทยาร่วมกับเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ ชนิด SSR มาใช้ในการจำแนกความแตกต่างระหว่างพันธุ์มะม่วง 20 พันธุ์ ที่ปลูกรวบรวมในฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษา พบว่า เครื่องหมายทางสัณฐานวิทยาสามารถจำแนกพันธุ์มะม่วงออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มแก้ว 2) กลุ่มน้ำดอกไม้ 3) กลุ่มหนังกลางวัน 4) กลุ่มอกร่อง และ 5) กลุ่มผลกลม ซึ่งพบว่าลักษณะผลของกลุ่มน้ำดอกไม้ และกลุ่มอกร่อง มีลักษณะผลเชิงคุณภาพที่ดีได้แก่ จินหวง2 มีน้ำหนักผลเท่ากับ 736.64 กรัม ความยาวผลเท่ากับ 201.85 เซนติเมตร และโชคอนันต์มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดเท่ากับ 18.60 องศาบริกซ์ ส่วนน้ำดอกไม้สีทอง2 มีปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรทได้ต่ำสุดเท่ากับ 0.24 มิลลิลิตร และมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดต่อปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรทได้สูงสุดเท่ากับ 74.64 โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น LSD = 0.05 และเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ ชนิด เอส เอส อาร์ (SSR) สามารถจำแนกกลุ่มมะม่วง จำนวน 20 พันธุ์ ออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ พันธุ์จินหวง1 สามฤดูมัน เขียวใหญ่ มหาโชค จินหวง2 R2E2 และคาราบาว กลุ่มที่ 2 ได้แก่ พันธุ์มหาชนก1 มหาชนก2 มันเดือนเก้า และตลับนาค กลุ่มที่ 3 ได้แก่ น้ำดอกไม้สีทอง1 น้ำดอกไม้สีทอง2 น้ำดอกไม้ เบอร์ 4-1 น้ำดอกไม้ เบอร์ 4-2 และโชคอนันต์ และกลุ่มที่ 4 ได้แก่ พันธุ์ตึก สามปี แก้วลืมลัง และแก้ว จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนทางพันธุกรรม พบว่า มะม่วงทั้ง 20 พันธุ์ มีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรมอยู่ระหว่าง 0.52 ถึง 0.94 โดยที่พันธุ์แก้วลืมลังและพันธุ์แก้ว มีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมมากที่สุด คือ 0.94 เมื่อแสดงผลในรูปแผนภูมิความสัมพันธ์ ผลจากการจำแนกกลุ่มสามารถจำแนกสายพันธุ์ของมะม่วงที่มีความคล้ายคลึงกันได้อย่างชัดเจน ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการจัดกลุ่มและคัดเลือกสายพันธุ์มะม่วง สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
Description: Master of Science (Master of Science (Horticulture))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/57
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5901302018.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.