Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/800
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอัศมนต์ สมศรี, Assamon Somsri-
dc.date.accessioned2021-09-15T08:53:36Z-
dc.date.available2021-09-15T08:53:36Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.citationhttp://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=351375en_US
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/800-
dc.description.abstractการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์ 21) เพื่อศึกษาสภาพงานด้านศิลปวัฒนธรรม ของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2) เพื่อศึกษา แนวทางการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มีประสิทธิภาพ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารด้านกิจกรรมนักศึกษาและดูแลงานด้านศิลปวัฒนธรรม อาจารย์ที่เกี่ยวข้องด้านศิลปวัฒนธรรม บุคลากรที่เกี่ยวของด้านศิลปวัฒนธรรมและนักศึกษาที่ทํา กิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม จํานวน 27 คนการวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าสภาพการบริหารจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมของ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้านบุคลากรมีเพียงพอ แต่ต้องมีการพัฒนาความสามารถเฉพาะด้านและต้อง ปรับปรุงการทํางานให้ทันกับเทคโนโลยี ควรมีการพัฒนาความสัมพันธ์ของคนในองค์กรให้ตระหนักถึง ความสําคัญของการทํางานเป็นทีม ด้านงบประมาณของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมนั้นมีเพียงพอต่องาน มีการจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม ด้านวัสดุอุปกรณ์มีเพียงพอ กิจกรรมการด้านส่งเสริมและ ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ที่จัดขึ้นมีความพอเพียงต่อกิจกรรมในแต่ละปีการศึกษากิจกรรมได้รับความ ร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายนอก และด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมมีการนําภูมิปัญญาท้องถิ่นมา สอดแทรกในการนําเสนอและจัดกิจกรรมการสนับสนุนการเผยแพร่สู่ระดับอาเซียน ด้านการสงเสริม ความรู้และทักษะในด้านศิลปวัฒนธรรมอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจด้าน ศิลปวัฒนธรรม โดยศึกษาจากเว็บไซต์ และสื่อสิ่งพิมพ์ แนวทางการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เชิงบูรณาการด้านการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้า และรวบรวม องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ การเสริมสร้างความรู้ และทักษะในด้านศิลปวัฒนธรรมของ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม การนําเสนอในลักษณะบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียน 6AA Cal (4) การสอนและการวิจัย การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมควรเป็นกิจกรรมที่ใช้สื่อทันสมัยขึ้น ให้ทันกับ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีการนําเสนอที่ทันสมัย การประชาสัมพันธ์ ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรม หลายๆ ช่องทาง เน้นสื่อโซเชียลเพราะคนยุคใหม่ใช้สื่อเหล่านี้เป็นอย่างมาก ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มี ประสิทธิภาพ นั้นควรมีการพัฒนากิจกรรมที่นําเสนอให้มีความน่าสนใจ เข้ากับยุคสมัยทันต่อ เหตุการณ์และเหมาะสมกับวัยของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม บุคลากรในหน่วยงานควรพัฒนาศักยภาพของ ตนเองในด้านการใช้ปัญญาและการใช้เครื่องมือ ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.publisherChiangmai : Maejo Universityen_US
dc.subjectศิลปวัฒนธรรมen_US
dc.subjectศูนย์ศิลปวัฒนธรรมen_US
dc.titleการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.title.alternativeArt and cultural management of the art cultural center, Maejo universityen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:BA-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Assamon_Somsri.pdf50.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.