Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1028
Title: การขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานสีเขียวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ไปสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Policy driving of Maejo University green office leading to success : a case study of the faculty of economics, Maejo University, Chiangmai province
Authors: สาลินี วงศ์แปง
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัย เรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานสีเขียวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ไปสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความสำเร็จของนโยบายสำนักงานสีเขียว ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางสู่ความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานสีเขียวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการศึกษาผู้ให้ข้อมูลหลักของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 8 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความสำเร็จของนโยบายสำนักงานสีเขียวเกิดจากการดำเนินการเกิดจากการดำเนินการครบตามกระบวนการในเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว 7 หมวด ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ หมวดที่ 1 การบริหารจัดการองค์กร หมวดที่ 2 การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว หมวดที่ 3 การใช้พลังงานและทรัพยากร หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสำนักงาน หมวดที่ 6 การจัดซื้อและจัดจ้าง (Green Procurement) และหมวดที่ 7 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จต่อการดำเนินงาน คือ ระดับของการให้ความร่วมมือของผู้ที่รับเอานโยบายสำนักงานสีเขียวไปปฏิบัติมีระดับของความร่วมมือสูง และผลของการนำนโยบายสำนักงานสีเขียวไปสู่การปฏิบัตินั้นมีความสอดคล้องเป็นไปตามหน้าที่และพันธกิจของหน่วยงาน โดยจะต้องทราบถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาของการนำนโยบายไปปฏิบัติ และแนวทางสู่ความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานสีเขียว คือ 1) การมีวิสัยทัศน์และมุ่งมั่นของผู้บริหาร โดยผู้บริหารต้องเป็นหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย สนับสนุน และผลักดันนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมหรือนโยบายสีเขียวให้เป็นรูปธรรม และเป็นไปตามแนวทางของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยสร้างตัวนโยบายที่ชัดเจนสามารถจับต้องได้ ง่ายต่อการเข้าใจของบุคลากร พร้อมทั้งมีการกำหนดแนวทาง กระบวนการ วิธีปฏิบัติ และมาตรการในการรองรับผลกระทบที่จะตามมาไว้อย่างชัดเจน 2) มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีการมอบหมายอำนาจหรือภาระหน้าที่สำหรับผู้รับเอานโยบายไปปฏิบัติ มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากร มีการสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคลากร มีการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต่อการดำเนินงาน อีกทั้งจะต้องมีการติดตามตรวจสอบ มีประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 3) มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการจัดประชุมฝึกอบรม
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1028
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Salinee_Wongpang.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.