Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1057
Title: ผลกระทบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Impacts of electronic commerce on consumer purchasing behavior in Chiang Mai province
Authors: พลอยไพลิน สิงห์วิโรจน์
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: การศึกษาเรื่องผลกระทบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกรายย่อยของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ 2)เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการซื้อสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อร้านค้าปลีกรายย่อยของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3)เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการปรับปรุงร้านค้าปลีกรายย่อยให้สอดคล้องกับความต้องการและตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดต่อผู้บริโภคสินค้าในร้านค้าปลีกรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่ประโยชน์จากการศึกษาในครั้งนี้ เป็นข้อมูลเพื่อให้วิเคราะห์หรือใช้ประกอบแนวทางการพัฒนาแนวการส่งเสริมการบริโภคสินค้าในร้าค้าปลีกรายย่อยได้อย่างถูกต้องตามความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค อีกทั้งผู้ประกอบการยังสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการพัฒนากิจการของตนได้ในอนาคต การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และแบบจำลองโลจิทแบบลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 68.25 อายุอยู่ระหว่าง 20-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.50 มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 66.50 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 69.75 มีรายได้ระหว่าง 5,000 – 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 32.50 อาชีพเป็นนักเรียนนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 28.50 สำหรับผลการวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองดังกล่าวพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยวิธี Ordered Logit Model นั้นพบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤตกรรมของผู้บริโภคมี 8 ปัจจัย ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา เหตุผลหลักที่ผู้บริโภคเข้าใช้บริการซื้อสินค้าผ่านระบบ E-commerce ช่วงเวลาที่เข้าใช้บริการผ่านระบบ E-commerce ค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อสินค้าผ่านระบบ E-commerce วิธีหลักในการชำระเงินเมื่อซื้อผ่านระบบ E-commerce ราคาสินค้าผ่านระบบ E-commerce ถูกกว่า ราคาสินค้าในร้านค้าปลีกรายย่อย และ ราคาสินค้าผ่านระบบ E-commerce เท่ากันกับ ราคาสินค้าในร้านค้าปลีกรายย่อย สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากที่สุด ได้แก่ จากการวิเคราะห์ส่วนเพิ่ม พบว่าตัวแปรอิสระที่มีผลต่อความน่าจะเป็นที่ผู้บริโภคจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบ E-commerce (B11) การศึกษา (Education) และราคาที่ผู้บริโภคซื้อเมื่อเปรียบเทียบกับร้านค้าปลีกรายย่อยราคาเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 31.96 ร้อยละ 29.92 และร้อยละ 25.36 ตามลำดับ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1057
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ploypailin_Singwiroj.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.