Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1081
Title: การเปลี่ยนแปลงตรรกะพื้นที่ของสังคม กรณีศึกษาย่านนิมมานเหมินท์ เมืองเชียงใหม่
Other Titles: Spatial logic of space transformation case study nimmanhaemin districe, Chiang Mai
Authors: เตชิต พระภูวงศ์
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างเชิงสัณฐานของโครงข่ายสัญจรและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ทางสังคมของย่านนิมมานเหมินท์ วิธีการวิจัยใช้การวิเคราะห์เอกสาร สำรวจพื้นที่ ร่วมกับระบบภูมิสารสนเทศและแบบจำลองเชิงพื้นที่ สเปซ ซินเท็กซ์ ผลวิจัยพบว่า ย่านนิมมานเหมินท์มีการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่สำคัญ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเวลาพัฒนาย่านของเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2507 – 2540 ช่วงเวลาย่านอัตลักษณ์เมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2551 และช่วงเวลาการพัฒนาสู่ย่านอัจฉริยะ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน มีปัจจัยสำคัญเกี่ยวข้อง ได้แก่ การพัฒนาโครงข่ายสัญจร แผนพัฒนาเมือง การผังเมือง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ การท่องเที่ยว และยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะ ลักษณะโครงสร้างเชิงสัณฐานของย่านมีแนวถนนนิมมานเหมินท์เป็นถนนสายหลักรูปแบบเส้น ถนนสายรองเป็นถนนซอยรูปแบบก้างปลา และถนนภายในชุมชนเดิมรูปแบบอิสระ ศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายสัญจรย่านนิมมานเหมินท์ ปี พ.ศ. 2545 ในระดับรวมมีค่าเฉลี่ย 1.010410 ค่าต่ำสุด 0.545467 และค่าสูงสุด 1.969744 ระดับย่านมีค่าเฉลี่ย 1.451850 ค่าต่ำสุด 0.422392 และค่าสูงสุด 2.780000 และในระดับตัวเอง มีค่าเฉลี่ย 2.741940 ค่าต่ำสุด 1.000000 ค่าสูงสุด 12.000000 สำหรับปี พ.ศ. 2562 ศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายสัญจรย่านนิมมานเหมินท์ ในระดับรวมมีค่าเฉลี่ย 1.027880 ค่าต่ำสุด 0.540112 และค่าสูงสุด 2.030422 ระดับย่านมีค่าเฉลี่ย 1.430300 ค่าต่ำสุด 0.333333 และค่าสูงสุด 3.125447 และในระดับตัวเอง มีค่าเฉลี่ย 2.682350 ค่าต่ำสุด 1.000000 ค่าสูงสุด 16.000000 ส่วนสนามทัศน์ของย่านมีศักยภาพการมองเห็นที่ดีพบในพื้นที่จุดตัดโครงข่ายสัญจรหลักและรอง สำหรับค่าศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ของย่าน มีความสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์อาคาร อัตราการสัญจรของพื้นที่ย่านในวันระหว่างสัปดาห์ วันสุดสัปดาห์ และช่วงกิจกรรมงานประจำปี สอดคล้องกับรูปแบบกิจกรรมของพื้นที่ ส่งผลต่อการเข้าร่วมของผู้คนในพื้นที่ความมีชีวิตชีวาอย่างหลากหลายกิจกรรมและช่วงเวลา อย่างไรก็ดีข้อพิจารณาเพื่อปรับปรุงพื้นที่ของโครงข่ายสัญจรจำเป็นต้องคำนึงถึงบาทวิถี ภูมิทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวกประกอบบริเวณ ที่ส่งเสริมต่อการใช้สอยพื้นที่และการเดินเท้า ได้อย่างเหมาะสมกับย่านสมาร์ทนิมมานเหมินท์ของเมืองเชียงใหม่ต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1081
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Techit_Prrepoowong.pdf14.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.