Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1088
Title: ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากกล้วยไม้สกุลหวายต่อการต้านอนุมูลอิสระ และการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้
Other Titles: Bioactivity of crude extract from dendrobium spp. on antioxidant and colon cancer cell antiproliferation
Authors: จุฑามาศ วงศ์จักร์
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบจากลำต้นกล้วยไม้สกุลหวายด้วย 60% เอทานอล จำนวน 16 สายพันธุ์ ได้แก่ เอื้องสายหลวง เอื้องสายไหม เอื้องสายน้ำนม หวายตะมอย เอื้องสายสามสี เอื้องแววมยุรา พวงหยก หวายเหลืองจันทบูร เอื้องมัจฉาเหลือง เอื้องผึ้ง เอื้องจำปา เอื้องเก๊ากิ๊ว เอื้องมัจฉาณุ เอื้องสายน้ำผึ้ง เอื้องช้างน้าวและเอื้องมอนไข่ จากการศึกษาปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดทั้ง 16 ชนิด พบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณฟีนอลิกรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) โดยเอื้องมัจฉาเหลืองให้ปริมาณฟีนอลิกรวมสูงที่สุด เท่ากับ 26.12 ± 4.14 มิลลิกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิก (GAE) ต่อสารสกัด 1 กรัม นอกจากนี้ยังได้ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP assays พบว่าค่าเฉลี่ยของการทดลองทั้ง 3 วิธี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) โดยหวายตะมอยมีฤทธิ์ในต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในทั้ง 3 วิธี (IC50 = 0.46 ± 0.013 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร IC50 = 0.25 ± 0.020 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ FRAP value เท่ากับ 2.50 ± 0.06 มิลลิกรัม Trolox ต่อสารสกัด 1 กรัม ตามลำดับ) รวมถึงยังได้ทำการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ (HT-29) ด้วยวิธี MTT assay พบว่าความเข้มข้นของสารที่สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์ HT-29 ได้ 50 % (IC50) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) โดยสารสกัดหยาบจากหวายเหลืองจันทบูร มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้สูงที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 156.71 ± 33.42 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากผลการวิจัยข้างต้นทำการคัดเลือกสารสกัดจากกล้วยไม้สุกลหวาย 3 สายพันธุ์ที่ดีที่สุด คือ หวายเหลืองจันทบูร เอื้องมัจฉาเหลือง และหวายตะมอย จากนั้นทำการทดสอบกลไกการตายของเซลล์ด้วยการย้อมสี acridine orange (AO) และ propidium iodide (PI) ผลที่ได้พบว่าสารสกัดจากกล้วยไม้ทั้ง 3 ชนิด มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ผ่านกลไกการตายแบบอะพอพโทซิส และยังทำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดจากกล้วยไม้ทั้ง 3 สายพันธุ์ด้วยวิธี GC-MS โดยหวายเหลืองจันทบูรพบองค์ประกอบของสาร 1-Decene, 2,4-Bis(1,1-dimethylethyl)phenol, 3,5-Dimethylbenzaldehyde และ Cyclododecane เอื้องมัจฉาเหลืองพบองค์ประกอบของ Cyclododecane, 6-methoxy-4-phenyl-1,2-dihydronaphthalene, 3,4-Dimethylbenzaldehyde, 2,4-bis(1,1-dimethylethyl)phenol และ 2-Propenoic acid และในตัวอย่างหวายตะมอยพบองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ Cyclododecane,1-Decene, 2,4-bis(1,1-dimethylethyl)phenol, 3,5-Dimethylbenzaldehyde และ Octadecanoic acid การศึกษาครั้งนี้สามารถบ่งชี้ได้ว่ากล้วยไม้สกุลหวายบางสายพันธุ์สามารถนำไปใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในการป้องกันและ/หรือบำบัดโรคมะเร็งลำไส้ได้
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1088
Appears in Collections:Economics
Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jutamas_Wongjuk.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.