Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1100
Title: การศึกษาความผิดปกติทางสรีรวิทยาของผลลำไย
Other Titles: The study of physiological disorder in longan fruits (Dimocarpus longan Lour.)
Authors: อังคณา เปี่ยมพร้อม
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจหลักทางภาคเหนือของไทย คุณภาพผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ตั้งแต่มีการค้นพบสารโพแทสเซียมคลอเรตที่ชักนำการออกดอกได้โดยไม่ต้องการอากาศหนาวเย็น ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกลำไยออกไปทั่วประเทศ ทั้งที่มีคุณภาพและไม่มีคุณภาพโดยเฉพาะลำไยในทางภาคเหนือเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางสีผิวเปลือกของผลทำให้ผลผลิตลำไยด้อยคุณภาพ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติทางสรีรวิทยาของผลลำไยสายพันธุ์ดอ สาขาไม้ผลบ้านโปง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าลำไยมีอาการผิดปกติทางสรีรวิทยาด้านสีผิวเปลือกของผลลำไยซึ่งมีลักษณะสีผิวเปลือกค่อนข้างแดงระหว่างการเจริญเติบโตของผลลำไย ทำให้ผลผลิตลดลงการเจริญเติบโตของผลผิดปกติทำให้ลำไยไม่มีคุณภาพจึงได้วิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผลและใบลำไย พบว่า ลำไยที่ผิดปกติมีสีผิวเปลี่ยนเป็นสีแดง ผิวขรุขระการเจริญเติบโตของผลช้ากว่าลำไยปกติและพบโปรตีน 14-3-3 family (29.5 KDa) และ โปรตีน NBS-LRR protein NBSS54 (93.5 KDa) ซึ่งโปรตีนทั้งสองชนิดนี้ได้แสดงออกเพิ่มขึ้นในลำไยที่ผิดปกติส่วนลำไยปกติแสดงโปรตีน acetyl-coenzyme A carboxylase carboxyl transferase subunit beta (59.5 KDa) และ transport inhibitor response 1-like (72.9 KDa) 20 และ 30 สัปดาห์หลังติดผล ในระยะ 30 สัปดาห์ พบโปรตีน 3 ชนิด ได้แก่ APX (37.4 KDa), WRKY transcription factor 72-3 (61.0 KDa) และ ramorin-4 (52.5 KDa) ที่สำคัญโปรตีน 14-3-3 family (29.5 KDa) เป็นโปรตีนที่รับรู้สารอาหาร (Nutrient sensing) จากงานทดลองนี้พบว่ามีผลต่อการขาดธาตุสังกะสีและโบรอนในใบลำไยอย่างชัดเจน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1100
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Angkana_Pirmporm.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.