Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1124
Title: นิเวศวิทยาของผักหวานป่าและแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชน ตามแนวทางภูมิสังคม กรณีศึกษา: บ้านโปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The ecology and geosocial based guidelines for commuity's conservation of melientha suavis pierre. : a case study of Ban Pong, Pa Phai sub-district, San Sai district, Chiang Mai province
Authors: วีรวัฒน์ มาตรทอง
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: ผักหวานป่า (Melientha suavis Pierre) เป็นพืชอาหารที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย การเก็บหาโดยขาดความรู้ ความเข้าใจถึงนิเวศวิทยาของผักหวานป่า และปริมาณกำลังผลิตจะส่งผลต่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน งานวิจัยครั้งนี้ได้เลือกพื้นที่โครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ศึกษาลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ไม้เต็งรัง ศึกษานิเวศวิทยาของผักหวานป่า และศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ผักหวานป่าของชุมชน โดยทำการวางแปลงตัวอย่างถาวรขนาด 200 x 200 เมตร ทำการวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (DBH) ของพรรณไม้ยืนต้นทุกชนิดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป บันทึกตำแหน่งต้นไม้ทุกต้น พร้อมสุ่มวัดความสูงของไม้ยืนต้น วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอรากของกล้าผักหวานและความสูงของผักหวานทุกต้น ในด้านการศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ผักหวานป่าของชุมชน ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า พบไม้ยืนต้นในแปลงตัวอย่าง 2,291 ต้นต่อเฮกแตร์ จำนวน 40 ชนิด 36 สกุล 22 วงศ์ และผักหวานป่า 202 ต้นต่อเฮกแตร์ ค่า Shannon-Wiener index เท่ากับ 2.08 ค่าดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยา (IVI) สูงสุด ได้แก่ เต็ง มีค่าเท่ากับ 66.46 ลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ ไม้ยืนต้นในแปลงตัวอย่างเป็นป่าเต็งรังทุติยภูมิ เนื่องจากมีไม้ยืนต้นขนาดเล็กร้อยละ 62.5 ของไม้ยืนต้นทั้งหมดในแปลงตัวอย่าง แต่จากกระจายของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกทำให้ทราบถึงไม้ยืนต้นในแปลงตัวอย่างอยู่ในช่วงวิกฤตขาดการสืบต่อพันธ์ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรบกวนของมนุษย์ จากการแบ่งแปลงตัวอย่างตามระดับความสูงจากน้ำทะเล พบว่าจำนวนต้นผักหวานป่าในชั้นพื้นที่ความสูงระดับกลางมากที่สุดมีจำนวน 376 ต้น และความสูงสูดของผักหวานป่าภายในพื้นที่ระดับสูง มีความสูงมากที่สุด เท่ากับ 155 เซนติเมตร ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอรากผักหวานป่าเฉลี่ยกับอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน แมกนีเซียม โพแทสเซียม และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของไม้วงศ์ยางเฉลี่ย มีความผันแปรในทิศทางตรงกัน ในขณะเดียวกันพบว่าความลาดชันของพื้นที่ระดับกลาง มีค่าเฉลี่ยของอินทรียวัตถุสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการสัมภาษณ์ประชากรบ้านโปง จำนวน 13 คน พบว่าถึงแม้ว่าผักหวานป่าบริเวณพื้นที่โครงการฯ มีปริมาณเยอะแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน จากการศึกษาทำให้ทราบว่าชุมชนยังไม่มีกฎเกณฑ์และแนวทางการอนุรักษ์ผักหวานป่าในชุมชน แต่อย่างไรก็ดีผู้เก็บหาผักหวานป่าส่วนมากจะมีรูปแบบการเก็บที่ไม่ทำลายต้นผักหวานป่า คือมีการเก็บเฉพาะส่วนที่เป็นกิ่งอ่อน ไม่ตัดทำลายกิ่งแก่เพื่อให้ต้นผักหวานป่าได้แตกใบอ่อนในฤดูกาลต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1124
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerawat_Marthong.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.