Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1130
Title: การประเมินวัฏจักรชีวิตของระบบผลิตไฟฟ้าร่วมกับการทำความเย็น และความร้อนจากเทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพ ของน้ำพุร้อนสันกำแพง
Other Titles: Life cycle assessment of combined cooling heating and power generation system from geothermal energy technology of San Kamphaeng hot springs
Authors: ปาณิศา อ่อนดอกไม้
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตไฟฟ้าร่วมกับการทำความเย็นและความร้อน จากเทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพของกิจการน้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอแม่ออน ตามพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้น้ำพุร้อนหลุมที่ 1 มีอุณหภูมิที่พื้นผิวดิน 105 oC ผสมกับไอน้ำพุร้อนอุณหภูมิประมาณ 120 oC ที่อัตราการไหลประมาณ 3 L/s ป้อนให้กับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 9.4 kWe มีประสิทธิภาพของระบบเท่ากับ 9.53% ระบบทำความเย็นแบบดูดกลืน มีความสามารถการทำความเย็นได้ประมาณ 11.01 kW มีค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะของระบบเท่ากับ 0.56 ห้องอบแห้งแบบรวมศูนย์ มีความสามารถผลิตความร้อนได้ประมาณ 22.26 kW มีประสิทธิภาพของระบบเท่ากับ 56.16% และระบบผลิตพลังงานร่วม มีประสิทธิภาพของระบบเท่ากับ 29.83% จากผลการศึกษา พบว่า ระบบผลิตพลังงานร่วมส่งผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่ากับ 7.19E-03 kg CO2 eq/MJ การลดลงของชั้นโอโซนเท่ากับ 3.46E-10 kg CFC-11 eq/MJ การเกิดความเป็นพิษต่อมนุษย์เท่ากับ 7.09E-03 kg 1,4-DB eq/MJ การเกิดภาวะก่อตัวของฝุ่นละอองหมอกควันเท่ากับ 8.14E-06 kg PM10 eq/MJ การเกิดภาวะฝนกรดเท่ากับ 4.47E-05 kg SO2 eq/MJ การเจริญเติบโตผิดปกติของพืชในแหล่งน้ำจืดเท่ากับ 3.63E-05 kg P eq/MJ การเกิดภาวะที่เป็นพิษต่อดินเท่ากับ 6.34E-06 kg 1,4-DB eq/MJ การเกิดภาวะที่เป็นพิษต่อแหล่งน้ำเท่ากับ 1.20E-04 kg 1,4-DB eq/MJ การลดลงของเหล็กเท่ากับ 2.96E-03 kg Fe eq/MJ และการลดลงของเชื้อเพลิงฟอสซิลเท่ากับ 1.37E-03 kg oil eq/MJ ซึ่งผลกระทบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างมากที่สุด คิดเป็น 87.64% มาจากการใช้วัสดุประเภทเหล็ก 17,480 kg อลูมิเนียม 58 kg และทองแดง 408 kg รองลงมา คือ กระบวนการกำจัดซาก คิดเป็น 6.69% จากการฝังกลบวัสดุประเภทพลาสติก 1,170 kg และคอนกรีตผสมเสร็จประมาน 95 ton และกระบวนการใช้งานน้อยที่สุด คิดเป็น 5.68% จากการใช้สารทำงาน R-245fa ในการขับเคลื่อนระบบผลิตไฟฟ้าด้วยวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1130
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panisa_Ondokmai.pdf21.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.