Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1203
Title: ผลของโภชนาการที่ต่างกันในกล้วยแต่ละชนิดต่อประสิทธิภาพการย่อยอาหาร การเจริญเติบโต และระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะในปลาหมอไทย
Other Titles: Effects of the difference nutritional values of bananas (musaceae) on digestibility, growth performance and non-specific immune in Anabas testudineus
Authors: โฉมอนันต์ โพธิวงค์
Keywords: ปลาหมอไทย -- การเลี้ยง
ปลาหมอไทย -- อาหาร
ปลาหมอไทย -- การเจริญเติบโต
กล้วย -- การใช้เป็นอาหารสัตว์
ปลาหมอ -- การเลี้ยง
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: ปลาหมอไทย (Anabas testudineus) เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตไวและเป็นที่ต้องการของตลาด จึงต้องการพัฒนาอาหารต้นทุนต่ำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อจะศึกษาผลของโภชนาการที่ต่างกันในกล้วยแต่ละชนิดที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ โดยใช้วัตถุดิบในการทำอาหารคือ ปลาป่น กากถั่วเหลือง รำละเอียด ปลายข้าว ผสมกับกล้วย แบ่งเป็น 3 สูตรดังนี้ อาหารผสมกล้วยไข่ อาหารผสมกล้วยน้ำว้า และอาหารผสมกล้วยหอม เพื่อใช้เป็นอาหารให้ปลาหมอไทย แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ เลี้ยงปลานาน 120 วัน พบว่า เอนไซม์ของปลาหมอไทยมีประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบได้ดีและเหมาะสมในการนำวัตถุดิบ คือ กล้วยไข่สุก กล้วยน้ำว้าสุก และกล้วยหอมดิบ มาผลิตเป็นส่วนผสมของอาหารปลาหมอไทย อาหารที่ผสมกล้วยน้ำว้ามีค่ากิจกรรมของอัตราส่วนระหว่างเอนไซม์ทริปซิน และไคโมทริปซิน (T/C ratio) สูงที่สุด จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ พบว่า อาหารทุกกลุ่มทดลองมีเปอร์เซ็นต์ความชื้น เถ้า โปรตีน ไขมัน เยื่อใยและไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรกแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ปลาหมอไทยทุกกลุ่มทดลองมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักเพิ่มต่อวัน การเจริญเติบโตจำเพาะ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยปลาหมอในกลุ่มควบคุมมีค่าอัตรารอดสูงที่สุดและมีผลผลิตสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่น (P<0.05) อย่างไรก็ตามผลผลิตปลาในกลุ่มที่ได้รับอาหารผสมกล้วยไข่มีค่าต่ำที่สุด (P<0.05) ต้นทุนผลผลิตและอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนในแต่ละกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) พบว่า กลุ่มปลาหมอไทยที่ได้รับอาหารผสมจากกล้วยน้ำว้ามีการตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ โดยวัดจากเปอร์เซ็นต์ฟาโกไซต์สูงที่สุด จากการศึกษาพบว่า อาหารที่ผสมกล้วยต่างชนิดสามารถนำมาใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ นอกจากนี้กล้วยยังเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกและหาได้ง่าย จึงน่าจะนำไปสร้างและปรับสูตรอาหารให้เหมาะสมกับปลาหมอไทย ทั้งด้านโภชนาการและราคา
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1203
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chomanan_Potiwong.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.