Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1290
Title: ศักยภาพของน้ำมันสบู่ดำเป็นสารช่วยกระบวนการผลิตในยางวัลคาไนซ์
Other Titles: Potential of Jatropha Oil as Processing Aid in Rubber Vulcanizates
Authors: วรวรรณ, เพชรอุไร
Keywords: น้ำมันสบู่ดำ
น้ำมันปิโตรเลียม
ยางธรรมชาติ
ยางเอสบีอาร์
ยางไนไตรล์
ปิโตรเลียม
jatropha oil
petroleum oil
natural rubber
styrene butadiene rubber
nitrile rubber
Issue Date: 2016
Publisher: Chiangmai: Maejo University
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้น้ำมันสบู่ดำเปรียบเทียบกับน้ำมันปิโตรเลียมในยาง ธรรมชาติและยางสังเคราะห์ เช่น ยางเอสบีอาร์ และยางไนไตรล์ โดยแปรชนิดและปริมาณน้ำมันที่ 0, 5, 10 และ 15 phr จากผลการทดลองพบว่าค่าแรงบิดต่ำสุดและค่าแรงบิดสูงสุดของยางทุกชนิดที่ ใช้น้ำมันสบู่ดำจะมีค่าต่ำกว่าน้ำมันปิโตรเลียม โดยค่าแรงบิดต่ำสุดและค่าแรงบิดสูงสุดของยาง ธรรมชาติและยางเอสบีอาร์มีแนวโน้มลดลงตามปริมาณน้ำมันทุกชนิด แต่จะให้ผลในทางตรงกัน ข้ามกับยางไนไตรล์ เวลาที่ยางสามารถแปรรูปได้และเวลาการวัลคาไนซ์ของยางทุกชนิดมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำมัน โดยน้ำมันสบู่ดำจะทำให้เวลาที่ยางสามารถแปรรูปได้ของยางไนไตรล์ เพิ่มขึ้นและทำให้เวลาการวัลคาไนซ์ของยางเอสบีอาร์มีค่าลดลง มอดูลัสที่ระยะยึด 100% และ 300% และความแข็งของยางทุกชนิดมีค่าลดลงตามปริมาณน้ำมันในขณะที่ระยะยืดเมื่อขาดมีค่า เพิ่มขึ้น การใช้น้ำมันปิโตรเลียมในยางธรรมชาติจะให้ความต้านทานการสึกหรอที่ดีกว่าน้ำมันสบู่ ดำ ในขณะที่ค่าการกระเด้งตัวของยางทุกชนิดที่ใช้น้ำมันต่างๆ มีค่าใกล้เคียงกัน นอกจากนี้พบว่า น้ำมันสบู่ดำสามารถลดการเสียรูปหลังการกดอัด และปรับปรุงความต้านทานการสึกหรอของยาง ใน ไตรล์ได้ดี จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าน้ำมันสบู่ด่าสามารถทำหน้าที่เป็นสารช่วย กระบวนการผลิตได้ และสามารถปรับปรุงความทนแรงดึงและระยะยืดเมื่อขาดได้ดีกว่าน้ำมัน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1290
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
worawan_pheturai.pdf27.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.