Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1297
Title: การศึกษาและพัฒนาศักยภาพการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
Other Titles: Participatory Development of Community Potential on Community-Based Tourism Services: A Case study in Kued-Chang Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Province.
Authors: สุวิชญา, ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์
อรจนา, แสนไชย จันทร์ประยูร
อรุณโรจน์, พวงสุวรรณ
รักธิดา, ศิริ
ทรงศักดิ์, ภู่น้อย
มิ่งขวัญ, แดงสุวรรณ
กาญจนา, ปงหาญ
สมใจ, ปงหาญ
Keywords: การพัฒนาศักยภาพ
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การมีส่วนร่วมของชุมชน
การให้บริการการท่องเที่ยว
Development of Community Potential
Participatory Community-Based Tourism
Community Participation
Tourism Services
Issue Date: 2015
Publisher: Chiangmai: Maejo University
Abstract: การศึกษาและพัฒนาศักยภาพการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนายุวชน นำเที่ยวและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการนำเที่ยว 2) พัฒนาระบบสื่อความหมายแบบ 2 ภาษา เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 3) พัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้เทคนิคเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบไปด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแกนนำการท่องเที่ยวชุมชน 1 ราย กลุ่มผู้รู้ในชุมชน 4 ราย กลุ่ม เยาวชน 14 ราย และกลุ่มตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 ราย ใช้แบบสอบถามแบบปลายปิด และปลายเปิด (Open-ended Question) แบบทดสอบก่อนและหลัง (Pre-test and Post-test) ใช้วัด ความรู้ แบบวัดทักษะปฏิบัติ (Skill Testing) ใช้วัดทักษะการนำเที่ยว แบบประเมิน (Attitude Testing) ใช้ศึกษาทัศนคติ ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนมากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 มีอายุสูงสุด 18 ปี อายุต่ำสุด 13 ปี มีค่าเฉลี่ย 14.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.50 ซึ่งส่วนมาก อายุน้อยกว่า 16 ปี ไม่เคยมีประสบการณ์นำเที่ยว และ “ไม่เคย” มีส่วนร่วมในด้านการท่องเที่ยวเลย โดยการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์อยู่ในระดับ “น้อย” ความรู้เบื้องต้นด้านการให้บริการท่องเที่ยว พบว่าทั้งหมดเยาวชนสอบ “ไม่ผ่าน” กระบวนการพัฒนาศักยภาพพบว่า มีทักษะการนำเที่ยวอยู่ใน ระดับ “ดี” กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาระบบสื่อความหมาย 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) แบบมีส่วน ร่วม เครือข่ายผู้ให้การสนับสนุนคือ 1) ผู้รู้ในชุมชน 2) ตัวแทนกลุ่มชุมชนท่องเที่ยว และ 3) ตัวแทน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเยาวชนอย่างต่อเนื่อง และมุ่งหวัง ให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากกระบวนการพัฒนาความรู้และทักษะด้างต่างๆ ของเยาวชนจากทั้ง 2 ชุมชน พบว่า ทั้งหมด “สอบผ่าน” ด้านความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวหลังการเข้าร่วมโครงการ โดยเยาวชนมี ความรู้ในระดับ “มาก” การทดสอบการให้บริการท่องเที่ยวโดยใช้ภาษาอังกฤษในการนำเที่ยว อาสาสมัครนักท่องเที่ยว 6 ราย พบว่าเยาวชนมีทักษะการใช้ภาษานำเที่ยวในระดับ “ดี” ทั้งด้านการ ให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว เทคนิคการนำท่องเที่ยว การส่งแขกและการอำลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ต้อนรับ อยู่ในระดับ “ดีเยี่ยม” เยาวชนเห็นความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมด้านให้บริการการท่องเที่ยวในระดับ “มาก” ผลผลิตจากกิจกรรมคือ คู่มือสื่อความหมายทรัพยากรท่องเที่ยวฉบับ ชุมชน (ภาษาไทย-อังกฤษ) มีเนื้อหาเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว เยาวชนมีทัศนคติต่อหลักสูตร 3.83) ใช้พัฒนาศักยภาพว่ามีประโยชน์ในระดับ “มาก” (ค่าเฉลี่ย ทั้งในด้านเนื้อหา ความตรง ประเด็น และความครอบคลุม ส่วนทัศนคติของผู้ให้บริการท่องเที่ยวอื่นๆ (Supply Side) คือ กลุ่ม การท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่อื่นรวม 20 ราย พบว่าทัศนคติต่อประโยชน์ของคู่มือสื่อความหมาย ฉบับชุมชน 2 ภาษา อยู่ในระดับ “มาก” ทั้งในด้านรูปภาพ คำอธิบายภาพและตัวอย่างประโยค รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและศักยภาพชุมชน ความรู้และทักษะของเยาวชนระหว่างบ้านเมืองยึดและบ้านแม่ตะมาน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับ 0.05 ในด้าน 1) ประสบการณ์การนำเที่ยวของเยาวชน 2) การมีส่วนร่วม ด้านการท่องเที่ยวในชุมชน 3) ทักษะการใช้ภาษาไทยนำเที่ยวก่อนการพัฒนาความรู้และทักษะของ เยาวชนมีความแตกต่างระหว่างชายหญิง การศึกษาสหสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่า 1) อายุและประสบการณ์ด้านการนำเที่ยวที่มากจะ ทำให้บุคลิกภาพ และทักษะการแนะนำตนเอง การนำเที่ยว และการให้ข้อมูลมากตามไปด้วย 2) ผู้ที่ มีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยวน้อยจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมมาก 3) ผู้ที่มีความรู้ ความรู้ด้านการนำเที่ยวมากจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมด้านการใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว และมีความรู้ หลังการได้รับการพัฒนามากขึ้นกว่าผู้ที่มีความรู้น้อย ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 (r = 0.767) 4) ผู้ที่มี บุคลิกภาพการนำเที่ยวโดยใช้ภาษาไทยที่ดีจะมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการให้บริการที่ดี เช่นกัน 5) ผู้ที่มีทักษะที่ดีในการใช้ภาษาไทยแนะนำ จะมีทักษะการใช้ภาษาไทยในการให้ข้อมูล เพื่อการนำเที่ยวที่ดีด้วย (r = 0.934 และ 0.856) ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 รวมถึงทักษะการใช้ = ณ ภาษาอังกฤษเพื่อการให้บริการที่ดีด้วย (r = 0.566) 6) ผู้มีความรู้ด้านการนำเที่ยวก่อนเข้าร่วม กิจกรรมการพัฒนา จะมีความรู้หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาที่ดีด้วย
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1297
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwichaya_supaudomrerk1.pdf65.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.