Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1300
Title: การวิเคราะห์การจัดการเทคโนโลยีด้านห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำพริกแกง ตราแม่อำพร ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Analysis of Technology Supply Chain Management of Mae Amporn Curry Paste Industry, Nong Yaeng Subdistrict, San Sai District, Chiang Mai Province with the supply chain process reference model
Authors: โสภณ, ฟองเพชร
อนุชา, กันทรดุษฎี
ปิยวรรณ, สิริประเสริฐ
Keywords: การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน
น้ำพริกแกง
ตัวแบบจำลองอ้างอิงกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน
Issue Date: 2019
Publisher: Chiangmai: Maejo University
Abstract: การวิเคราะห์การจัดการเทคโนโลยีด้านห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำพริกแกง ตราแม่อำพร ตำบลหนองแหย่ง อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยแบบจำลองอ้างอิง กระบวนการห่วงโซ่อุปทาน มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการจัดการเทคโนโลยี ด้านห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำพริกแกงตราแม่อำพร โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่มี ความสัมพันธ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานโรงงงานน้ำพริกแกงแม่อำพร ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมโรงงานน้ำพริกแกง 2) ผู้ค้าส่ง ทั้งคู่ค้ารายย่อย รายใหญ่ ภายในประเทศและต่างประเทศ 3) ผู้บริโภคทั่วไป และ 4) ผู้บริการด้านการขนส่งกระจายจัดส่ง สินค้าให้กับโรงงาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ การศึกษาจาก เอกสารและการจดบันทึก การศึกษาวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำพริกแกงด้วยแบบจำลอง อ้างถึงกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน SCOR ระดับที่ 1 โรงงานน้ำพริกแกงแม่อำพรมีความแตกต่าง จากโรงงานน้ำพริกแกงอื่นในจังหวัดเชียงใหม่ คือ เป็นโรงงานเดียวที่ได้จำหน่ายสินค้าไป ต่างประเทศ และโรงงานขายสินค้าให้กับผู้ค้ารายใหญ่เป็นหลักที่มีการทำข้อตกลงทำสัญญาเรื่อง การส่งของคืน โดยไม่มีกระบวนการส่งคืนน้ำพริกแกงให้กับทางโรงงงาน ทั้งนี้ โรงงานน้ำพริกแม่อำพร ได้รับมาตรฐานกับรับรองจากหน่วยงานต่างๆ และก่อนการจัดส่ง จะตรวจสอบสินค้า น้ำพริกแกงอย่างเคร่งครัด SCOR ระดับที่ 2 มีกระบวนการหลัก ที่ควรปรับปรุงได้แก่ การวางแผนโซ่อุปทาน (P1) กระบวนการจัดส่งเพื่อจำหน่าย (DI) และกระบวนกำลังการผลิต (M1) ของโรงงานพริกแกงแม่อำ พรและกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ (S1) และการประเมินประสิทธิภพในการผลิต (R1) ส่วน กระบวนการสนับสนุนที่ควรปรับปรุง ได้แก่ (P.4) การวางแผนจัดหาวัตถุดิบ การประเมิน ประสิทธิภาพในการจัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตน้ำพริกแกง (S2) การจัดการขนส่งน้ำพริกแกง ให้กับผู้ค้าส่ง (D6) และ SCOR ระดับที่ 3 ศึกษาส่วนประกอบกระบวนการหลักที่ความปรับปรุง จาก SCOR ระดับที่ 2 พบว่า กระบวนการวางแผนโซ่อุปทาน (P1) ปัญหาที่พบคือกิจกรรมระบุ และลำดับความต้องการโซ่อุปทานรวม ซึ่งปัญหาเริ่มจากการจัดการความต้องการลูกค้า โดยจะมีผล ต่อการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าให้สมดุลกับปริมาณการขายน้ำพริกแกงและกำลังการผลิต ของโรงงานน้ำพริกแกงแม่อำพร
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1300
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sophon_fongphet.pdf32.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.