Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1309
Title: การศึกษาประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของคุณภาพซากและปริมาณกรดไขมันในกล้ามเนื้อของไก่กระดูกดำที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระในแปลงที่มีพืชอาหารสัตว์ต่างชนิดกัน
Other Titles: Studies on growth performance, carcass quality and fatty acids content in muscle of Black-boned chicken rearing under free-range system with different of pasture type
Authors: ประภากร, ธาราฉาย
จุฬากร, ปานะถึก
อานนท์, ปะเสระกัง
กฤดา, ชูเกียรติศิริ
ครรชิต, ชมภูพันธ์
Keywords: ไก่กระดูกดำ
ระบบการเลี้ยง
สมรรถภาพการเจริญเติบโต
องค์ประกอบซาก
คุณภาพเนื้อ
พืช
อาหารสัตว์
Issue Date: 2018
Publisher: Chiangmai: Maejo University
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อ ของไก่กระดูกดำที่เลี้ยงแบบขังออกและเลี้ยงแบบปล่อยอิสระในแปลงพืชอาหารสัตว์ต่างชนิดกัน โดยใช้ไก่ กระดูกดำอายุ 4 สัปดาห์ จำนวน 480 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (Randomized Completely Block Design: RCBD) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 30 ตัว (คละเพศ) กลุ่มที่ 1 เลี้ยงแบบขัง คอกตลอดการทดลอง กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 เลี้ยงแบบขังออกและปล่อยอิสระในแปลงที่มีพืชอาหารสัตว์ต่างชนิด กัน ได้แก่ ถั่วบราซิล (Pinto peanut) หญ้ามาเลเซีย (Malaysian grass) และหญ้าแห้วหมู (Nut grass) ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าระบบการเลี้ยงที่ต่างกันไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่ (P>0.05) อย่างไรก็ ตาม ไก่กลุ่มที่เลี้ยงแบบขังคอกมีต้นทุนค่าอาหารข้นสูงกว่าไก่กลุ่มที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระทุกกลุ่มอย่างมี นัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) และไก่กระดูกดำที่เลี้ยงระบบแบบปล่อยอิสระในแปลงพืชอาหารสัตว์ที่ต่างชนิด กันมีความแตกต่างกันในปริมาณการกินได้ของพืชอาหารสัตว์ โดยแปลงถั่วบราซิลและหญ้ามาเลเซียมีการกิน พืชอาหารสัตว์สูงกว่าหญ้าแห้วหมูอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ด้านคุณซากพบว่า ไก่กลุ่มที่เลี้ยงแบบขังคอกมีน้ำหนักซากอุ่น (carcass weight) น้ำหนักซากตัดแต่ง (dressing weight) และเปอร์เซ็นต์ซากอุ่น (warm carcass percentage) สูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ด้าน คุณภาพเนื้อพบว่า เนื้อส่วนสะโพกมีค่าความเป็นกรดต่างหลังฆ่าที่ 45 นาที (pH) และมีค่าการสูญเสียน้ำจากการ แช่เย็น (drip loss) ในไก่กลุ่มที่เลี้ยงแบบขังคอกสูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ ระบบการเลี้ยงที่ต่างกันยังส่งผลต่อพฤติกรรมของไก่อีกด้วย โดยไก่กลุ่มที่เลี้ยงแบบ ขังคอกใช้เวลาในการนอน การยืน และการจิกกัน มากกว่าไก่กลุ่มที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P<0.05) ในขณะที่ไก่กลุ่มที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระใช้เวลาในการคุ้ยเขี่ยหาอาหารและการคลุกฝุ่นมากกว่าไก่กลุ่มที่เลี้ยงแบบขังคอกอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ซึ่งเป็นการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติที่ สามารถแสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ จึงมีผลต่อการลดพฤติกรรมการจิกกันของไก่ที่ทำให้อัตราการตายระหว่าง การเลี้ยงลดลง และยังทำให้ไก่ลดความเครียดระหว่างการเลี้ยงลงอีกด้วย
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1309
Appears in Collections:RAE-Technical Report
RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
praphakon_tarachai.pdf27.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.