Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1320
Title: การบริหารจัดการเกษตกรตำบลป่าไผ่สู่ความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปลอดภัย
Other Titles: Farmers to entrepreneurs, the management of Pah pa safe agriculture
Authors: ภูษณิษา, เดชเถกิง
กัญญ์พัสวี, กล่อมธงเจริญ
ปรีดา, ศรีนฤวรรณ
จิรายุ, หาญตระกูล
Keywords: การบริหารจัดการ
การเป็นผู้ประกอบการ
การสร้างมูลค่าเพิ่ม
การบริหารการเงิน
กลุ่มเกษตรกร
ป่าไผ่
management
agricultural group
entrepreneur
value adding
finance
AgriEco
Sansai Model
Issue Date: 2019
Publisher: Chiangmai: Maejo University
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มของเกษตรกรสู่การเป็น ผู้ประกอบการเกษตรปลอดภัย การเตรียมความพร้อมความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปลอดภัย การสร้าง มูลค่าเพิ่มและช่องทางการตลาดเกษตรปลอดภัย และการบริหารการเงินของผู้ประกอบการเกษตรปลอดภัย โดยกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มเกษตรนิเวศสันทราย (Agrico) และเครือข่ายเกษตรกร ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 ราย เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประกอบการสัมภาษณ์เชิง ลึก การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลของการศึกษาโดย ใช้วิธีการพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความถูกต้องเชิงคุณภาพในแต่ละด้าน ผลการศึกษาพบว่า ด้านการบริหารจัดการกลุ่มของเกษตรกรสมาชิกกลุ่มมีแนวคิดและอุดมการณ์ เดียวกันจึงได้มารวมกลุ่มกัน และจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนร่วมกัน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิสาหกิจ ชุมชนกลุ่มเกษตรนิเวศสันทราย (AgriEco) มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความรู้ความสามารถของ สมาชิกแต่ละคน การบริหารจัดการกลุ่ม ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการ การวางแผน โครงสร้างกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม การนำ (ผู้นำกลุ่ม, การบริหารความขัดแย้ง, การทำงานร่วมกันเป็นทีม, การติดต่อสื่อสาร) การ ติดตามและประเมินผล โดยการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านการเตรียมความพร้อมเป็นผู้ประกอบการในอนาคต พบว่า คุณลักษณะเด่นของกลุ่มเป้าหมายในตำบลป่าไผ่คือการมีความมุ่งมั่น ใกล้เคียงกับ การมีความผู้พัน และความรับผิดชอบในงาน ในขณะเดียวกัน กลุ่มเป้าหมายยังมีเครือข่ายและการชี้ชวน การชักชวนจำกัด ซึ่ง ต้องปรับปรุงเพื่อผลักดันให้เกิดความพร้อมเพื่อการประกอบการการ อีกทั้งความต้องการความรู้พื้นฐานด้าน บริหารธุรกิจเชิงลึก เพื่อสร้างความมั่นใจในการเป็นผู้ประกอบการ ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทาง การตลาด พบว่าการหาทางเลือกใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ ต้องให้เชื่อมโยงกันทั้งระบบห่วงโซ่คุณค่าทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ที่ทุกส่วนต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องโดยการ ขอความร่วมมือกับหน่วยงานของทางราชการในการเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการรับรองในด้านคุณภาพ และความปลอดภัย จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีความน่าเชื่อถือ ส่วนช่องทางตลาด เปลี่ยนสมาชิกในกลุ่มจากผู้ผลิตให้เป็นผู้บริโภค เริ่มต้นจากภายในกลุ่มสมาชิก สำหรับจุดเริ่มต้นอาจปรับทิศทางในการการผลิต เพื่อบริโภคและซื้อขายหมุนเวียนกันในภายในกลุ่มก่อน จากนั้นเมื่อผู้บริโภคภายนอกเริ่มเห็นความ เคลื่อนไหวก็จะเริ่มทยอยเข้ามาหา ส่วนด้านการบริหารการเงิน กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านการบริหาร การเงิน ในเรื่องการวางแผน การจัดทำงบการเงิน ที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีทางด้านบริหาร การเงินมาใช้มากนัก
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1320
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phusanisa_thechatakerng.pdf31.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.