Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1380
Title: การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายของเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนอย่าง ศรีสัชนาลัย- กำแพงเพชร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างสรรค์ ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
Other Titles: Development of The Interpretation Model for CBT Enterprise Networking in Specialized Monumental Areas of Historical Districts-Sukhothai, Si Satchanalai, and Kamphaeng Phet Based on Local People Participation for Sustainable Creative Tourism
Authors: เกษราพร, ทิราวงศ์
อำนวยพร, ใหญ่ยิ่ง
Keywords: รูปแบบการสื่่อความหมาย
การมีส่วนร่วม
เครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชน
พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายของเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนในเขตพื้นที่ พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาถึงบริบทในการสื่อความหมายของ เครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชนอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนต้นแบบ ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการสื่อ ความหมายในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร โดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อกำหนดรูปแบบการสื่อความหมายในเขตพื้นที่พิเศษอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนงานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง (non-experimental design) โดยผู้วิจัย ได้ผสมผสานวิธีการแบบเชิงคุณภาพ (qualitative method) โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะจงมีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) ซึ่งใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) ที่ เผชิญหน้ากัน (face to face) โดยมีแบบสัมภาษณ์ซึ่งประกอบด้วยคำถามปลายเปิด ซักไซ้ติดตาม ประเด็นตามหัวข้อหลัก (key topic) และวิธีการเชิงปริมาณ (quantitative method) ผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้แทนจากลุ่มการท่องเที่ยว บ้านคุกพัฒนา ตำบลสารจิตร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และ ผู้แทนจากลุ่มการท่องเที่ยวบ้านนครชุม ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ชุมชนละ 50 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการจัดประชุม เสวนา และใช้ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาบริบทชุมชน เกี่ยวกับ ทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน สำหรับการพัฒนาการรูปแบบการสื่อความหมายเพื่อการท่องเที่ยว ทั้งสองชุมชนเป้าหมาย พบ ทรัพยากรการการท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย และมีจุดเด่นด้านการ ท่องเที่ยวมากมายสำหรับสถานภาพของการจัดทำโปรแกรมสื่อความหมายชนิดต่าง ๆ ของทั้งสองพื้นที่ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด (ร้อยละ 100) ของทั้งสองพื้นที่ ระบุว่า มีการพัฒนาการสื่อ ความหมาย ประเภทใช้บุคคลและการสื่อความหมายประเภทไม่ใช้บุคคล มาบ้างแล้วในพื้นที่ โดย การสื่อความหมายประเภทใช้บุคคล ที่มีได้แก่ ผู้ให้ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว นัก สื่อความหมาย หรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่น การสาธิต การแสดง การสื่อความหมายประเภทไม่ใช้ บุคคล ที่มีได้แก่ แผ่นป้ายสื่อความหมายหรือป้ายอธิบายข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว แผ่นพับ โปสเตอร์ การท่องเที่ยวเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งสื่อที่มีในชุมชน ได้มีการพัฒนาจาก หน่วยงาน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)( อพท.) สุโขทัย โดยผู้ให้ข้อมูลระบุว่า ต้องการพัฒนาการสื่อความหมายของชุมชนใหม่ทั้งหมด เพื่อปรับปรุง ข้อมูลให้ทันสมัย และพัฒนาสื่อให้มีความสมบูรณ์ มากขึ้น โดย ผู้ให้ข้อมูลมีส่วนร่วมในการ พัฒนา สำหรับผลการวิจัย กระบวนการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมาย ทั้งสองพื้นพบว่าทั้งสอง พื้นที่มีกระบวนการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายดังนี้ 1.กำหนดประเด็นการสื่อความหมายด้วยการมีส่วนร่วมชุมชน ของทั้งสองชุมชน จาก ทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชน 2.การผลิตสื่อเพื่อประกอบการสื่อความหมายในสองพื้นที่ ทั้งการสื่อแบบอาศัยบุคคล และ ไม่อาศัยบุคคล 3.จัดอบรมนักสื่อความหมายชุมชน 4. จัดตั้งคณะทํางานฝ่ายสื่อความหมายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การกำหนดรูปแบบ การสื่อความหมายในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับผลการวิจัย การกำหนดรูปแบบการสื่อความหมายในเขตพื้นที่พิเศษอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้ กำหนดรูปแบบ การสื่อความหมายร่วมกับ ชุมชม ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ผู้นำชุมชน (leader) องค์ประกอบที่ 2 คณะทำงานหรือทีมงาน (team) องค์ประกอบที่ 3 การวิเคราะห์พื้นที่หรือทรัพยากรการท่องเที่ยว (tourism area) องค์ประกอบที่ 4 การวิเคราะห์นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือน (tourists) องค์ประกอบที่ 5 การกำหนดเค้าโครงและแผนการสื่อความหมาย (theme) องค์ประกอบที่ 6 การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น (participation) องค์ประกอบที่ 7 การออกแบบและจัดทำโปรแกรมสื่อความหมาย (interpretation and media) องค์ประกอบที่ 8 เครือข่าย (network) องค์ประกอบที่ 9 การประเมินผล (evaluation) กระบวนการพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่มีการ ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกิจกรรมการ ท่องเที่ยวของชุมชนทั้งสองพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1380
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kessaraporn_thirawong.pdf77.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.