Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1434
Title: รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเกษตรเพื่อนำไปสู่การลดภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรกรณีศึกษา บ้านจู้ด ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
Other Titles: Agricultural Community Management Model for Agricultural Holding Households Debt Decreasing : A Case study of Baan Chut, Lampang Luang Sub - district, Ko Kha District, Lampang Province
Authors: กาจน์, กอรี
Keywords: หนี้ครัวเรือน
การจัดการชุมชนเกษตรกรรม
การปรับตัวของเกษตรกร
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาวะหนี้สินและวิธีการจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยหรือเงื่อนไขที่มีผลต่อการก่อเกิดการมีภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการชุมซนเกษตรที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การลดสภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ 3.1) รูปแบบการประกอบอาชีพทางการเกษตร 3.2) รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน 3.3) รูปแบบความสัมพันธ์ของชุมชนกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง และ 4) เพื่อทราบถึงผลการประเมินการจัดการชุมชนเกษตรเกี่ยวกับ 4.1)กระบวนการแก้ไขปัญหาภาวะหนี้สิน 4.2) กระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม 4.3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของเกษตรกร และ 4.4) การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการลดสภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ครัวเรือนเกษตรกรบ้านจู้ด หมู่ที่ 5 ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งทำการเกษตรในปีการผลิต 2560/2561 จำนวน 58 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มกับผู้แทนครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 8 คน ผู้นำหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 4 คน ผู้อาวุโสหรือปราชญ์ทางการเกษตรหมู่บ้าน จำนวน 2 คน และผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน รวมจำนวน 22 คน และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1) ครัวเรือนเกษตรกรมีสภาวะหนี้สิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 276,427 บาท แหล่งเงินทุนที่มีสภาวะหนี้สินมากที่สุด ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรเกาะคา จำกัด รองลงมา คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเกาะคา มีการชำระหนี้สิน เฉลี่ยครัวเรือน 61,389 บาทต่อปี 2) ปัจจัยหรือเงื่อนไขสำคัญจากความเห็นของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรที่ส่งผลต่อการก่อเกิดสภาวะหนี้สินแบ่งเป็น 5 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านสภาพครัวเรือนเกษตรกร ได้แก่ การบริโภคนิยม การขาดความรู้และทักษะในการทำการเกษตร การขาดความสามารถในการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรกร และการขาดความสามารถการบริหารจัดการของครัวเรือนเกษตรกร ด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ได้แก่ การมีพฤติกรรมซื้อสินค้าผ่อนส่งและการลอกเลียนแบบ การไม่รวมกลุ่มกันทำกิจกรรม การขาดแคลนแรงงานในชุมชน และการไม่จัดทำบัญชีครัวเรือน ด้านสภาพแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำ ลักษณะดินแห้งแล้ง และการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ด้านสภาพเศรษฐกิจ ได้แก่ กลไกการตลาดที่ไม่เป็นธรรม ขาดการบริหารจัดการสินเชื่อการเกษตร และขาดการบริหารจัดการเครื่องมือทำการเกษตร และด้านนโยบายทางการเมือง ได้แก่ เงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีไม่เพียงพอ เงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินไม่เพียงพอและล่าช้า และครัวเรือนเกษตกรผู้ปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรังไม่ได้กำไร 3) รูปแบบการจัดการชุมชนเกษตรที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การลดสภาวะหนี้สิน จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ 3.1) รูปแบบการประกอบอาชีพทางการเกษตรมีข้อค้นพบ คือ ครัวเรือนเกษตรกรควรนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ค่าดิน ควรเพิ่มปริมาณแหล่งน้ำทำการเกษตร ควรทำการเกษตรแบบผสมผสาน และควรทำและใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ 3.2) รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ครัวเรือนเกษตรกรควรลดการบริโภคนิยมมีข้อค้นพบ คือ ควรลดพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่อนส่งและการลอกเลียนแบบ ควรจัดทำบัญชีครัวเรือน คารประกอบอาชีพเสริมและทำกิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และควรสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนอย่างพร้อมเพรียงกัน 3.3) รูปแบบความสัมพันธ์ของชุมชนกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นความสัมพันธ์ในรูปของเครือข่าย เสริมสร้างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และมีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงแลกเปลี่ยนกัน และ 4) เพื่อทราบถึงผลการประเมินการจัดการชุมชนเกษตร 4 ประการ ได้แก่ 4.1) กระบวนการแก้ไขปัญหาภาวะหนี้สิน สภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรมีแนวโน้มลดลง 4.2) กระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม ประกอบด้วย การประเมินระหว่างจัดทำกระบวนการเรียนรู้ ครัวเรือนเกษตรกรควรนำความรู้ที่ได้รับไปปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมให้ดีขึ้นหรือไปปฏิบัติเพิ่มเติม โดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มและสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน การประเมินหลังจากการจัดทำกระบวนการเรียนรู้ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการนำเนื้อหาสาระไปใช้ประโยชน์ และการประเมินความเหมาะสมและความพึงพอใจในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร ส่วนใหญ่เห็นว่า ระดับดีมาก ส่วนด้านความเหมาะสมของสถานที่จัดการฝึกอบรมและการอำนวยความสะดวก ส่วนใหญ่เห็นว่า ระดับปานกลาง 4.3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดำเนินชีวิต ด้านการทำการเกษตร ครัวเรือนเกษตรกรได้นำความรู้ไปประกอบอาชีพมากขึ้น ด้านการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ครัวเรือนเกษตรกรมีการวางแผนการใช้จ่ายและมีการประหยัดมากขึ้น ด้านความสัมพันธ์ของชุมชนกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และมีการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น และ 4.4) การมีส่วนร่วมของฃุมชนเพื่อการลดสภาวะหนี้สิน ชุมชนมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมที่มีอยู่เดิมและมีการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมใหม่ขึ้นมา โดยสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชนมากขึ้น กล่าวโดยสรุป หากครัวเรือนเกษตรกรบ้านจู้ดได้ดำเนินการตามรูปแบบการจัดการชุมชนเกษตรที่เหมาะสมทั้ง 3 รูปแบบดังกล่าวแล้ว จะทำให้ครัวเรือนเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีสภาวะหนี้สินลดลง และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้ง ยังเกิดความเข้มแข็งของชุมชนเกษตรบ้านจู้ดในการร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาวะหนี้สินของครัวเรือน เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นจนสามารถทำให้หนี้สินลดลงได้อย่างต่อเนื่อง
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1434
Appears in Collections:BA-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kart_korree_1.pdf215.59 MBAdobe PDFView/Open
kart_korree_2.pdf130.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.