Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1435
Title: การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ กรณีศึกษา : สหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่ตอนหลวง จำกัด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: FINANCIAL FEASIBILITY ANALYSIS OF MICRO HYDRO-ELECTRICITY GENERATION IMPROVEMENT PROJECT BY KLONGKANLUANG MAETONLUANG ELECTRICITY COOPERATIVE LIMITED, CHIANGMAI PROVINCE
Authors: คีตวุฒิ, นับแสง
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครง การปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟ้าของสหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่ตอนหลวงจำกัด 2) ศึกษาการดำเนินงานและการให้บริการกระแสไฟฟ้าสหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่ตอนหลวง จำกัด ในปัจจุบันเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลจากสมาชิกสหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่ตอนหลวง จำกัด จำนวน 132 คน โดย ใช้เกณฑ์วิเคราะห์ทางการเงินแบบที่มีการปรับค่าเวลา (Net Present Value) และวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณาทั่วไป (Descriptive Statistics) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สมาชิกทุกคน มีความต้องการใช้บริการกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมากกว่าใช้บริการกระแสไฟฟ้าจากสหกรณ์เนื่องจากสะดวกสบายต่อการใช้บริการและสามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้มากชนิดกว่า รวมทั้งลดปัญหาเรื่องกำลังไฟฟ้าตกบ่อย ทั้งนี้ สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.4 ให้ความเห็นว่าสหกรณ์ไม่จำเป็นต้องยกเลิกกิจการ แต่ควรปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำและการให้บริการกระแสไฟฟ้า โดยผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สมาชิกสหกรณ์ ร้อยละ 25.8 ให้ความเห็นว่า ไม่ควรมีการปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟ้าและควรยกเลิกสหกรณ์ และสมาชิกสหกรณ์ร้อยละ 9.8 ไม่แสดงความคิดเห็น แล้วแต่มติเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิก การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำของสหกรณ์นั้น โดยเปรียบเทียบระหว่าง “ มี “ กับ “ ไม่มี โครงการปรับปรุง ซึ่งผลการวิเคราะห์ปรากฏผลดังนี้ กรณีที่ 1 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินที่ “ มี “ การปรับปรุงโครงการโดยนำผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ มาพิจารณาเทียบกับต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมของการปรับปรุงโครงการ สรุปได้ว่าโครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการลงทุน เพราะมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นบวก คือ 12,030,759 บาท อัตราส่วน ผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BC) มากกว่า 1 คือ 1.39 ซึ่งแสดงว่าการ " มี " โครงการปรับปรุงจะ ก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบทั้ง 2 กรณีแล้ว สรุปได้ว่า ควรมีการปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำของสหกรณ์ เพราะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าและคุ้มค่าต่อการลงทุน แม้ว่าผลตอบแทนทางการเงินจากการลงทุนจะให้ผลตอบแทนไม่มากนัก อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C) มากกว่า 1 คือ 1.39 แต่หากพิจารณาในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว การปรับปรุง โครงการจะส่งผลให้โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำคงอยู่ต่อไป ซึ่งนอกจากสหกรณ์จะสามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้ว สมาชิกยังได้รับผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการคงอยู่ของโครงการ เพราะโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำมีผลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ซึ่งหากทรัพยากรป่าไม้ลดจำนวนลงแล้ว ย่อมส่งผลให้ปริมาณน้ำในลำน้ำของพื้นที่การผลิตลดลง โครงการดังกล่าวก็ไม่อาจคงอยู่ต่อไปได้ การวิเคราะห์ความไว หรือการวิเคราะห์ภายใต้ความเสี่ยง (Sensitivity Analysis)พบว่า ณ อัตราคิดลดร้อยละ 6 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการปรับปรุงโครงการหากผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดจากโครงการลดลงเพียงร้อยละ 30 จะส่งผลกระทบต่อโครงการเพราะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นลบ คือ -635,992 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C)มีค่าน้อยกว่า 1 คือ 0.979 แต่ทั้งนี้แล้ว ย่อมขึ้นอยู่กับสมาชิกเป็นสำคัญ เพระหากสมาชิกสหกรณ์มีจิตสำนึก รู้จักรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โครงการดังกล่าวย่อมส่งผลคุ้มค่าต่อการลงทุนและจะคงอยู่เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1435
Appears in Collections:ECON-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
keetwut_napsaeng.pdf77.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.