Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1437
Title: รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
Other Titles: Cultural Tourism Management of Bo Suak Community, Mueang District, Nan Province
Authors: กชพร, เวศอุไร
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การจัดการการท่องเที่ยว
การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การมีส่วนร่วมของชุมชน
cultural tourism
tourism management
cultural tourism management
community colloboration
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทราบบริบทด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมชุมชนบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 2) เพื่อประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนดังกล่าว 3) เพื่อระบุระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนดังกล่าว 4) เพื่อวิเคราะห์การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน ดังกล่าวแล้ว ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มประชากรของสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 34 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ Participatory action research (PAR) โดยนำกระบวนการยอมรับและชื่นชม การใช้ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ การนำวิธีการมาเป็นแผนปฏิบัติการ Appreciation-Influence-Control (AIC) มาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล มาใช้ในกระบวนการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าชุมชนบ่อสวก มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งด้านวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ และวัฒนธรรม ที่ไม่ใช่วัตถุ เนื่องจากชุมชนบ่อสวกเป็นชุมชนเก่าแก่ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลบ่อสวก ชุมชนมีศักยภาพด้านสิ่งดึงดูดใจมากที่สุด เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต รวมทั้งแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุในพื้นที่ ชุมชนยังมีความพร้อมในเรื่องการรองรับทางการท่องเที่ยวในระดับมาก ชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน และมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก ในด้านการจัดการการท่องเที่ยว ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการด้านการท่องเที่ยว มีบุคลากรที่มีความรู้เรื่องวัฒนธรรม ทั้งนี้ถือได้ว่าชุมชนบ่อสวกมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สำคัญในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการที่ยั่งยืนต่อไป การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม พบว่าชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวด้านการมีส่วนร่วมในระดับการตัดสินใจ (decision making) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับการปฏิบัติการ (implementation) และในด้านการมีส่วนร่วมในระดับผลประโยชน์ (benefit) พบว่าชุมชนมีส่วนร่วมในระดับการมีส่วนร่วมแบบความร่วมมือทั้ง 3 ด้าน การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบ่อสวก ผลการศึกษาค้นพบว่าชุมชนให้ความสำคัญต่อการจัดการในด้าน 1) การพัฒนาการท่องเที่ยวจะต้องขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และความต้องการของชุมชนว่าจะต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด 2) การส่งเสริมให้ประชาชนท้องถิ่นเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวที่มีต่อเศรษฐกิจ 3) ก่อนที่จะลงมือพัฒนาการท่องเที่ยว ควรพยายามขจัดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน 4) การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมและงานเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อนักท่องเที่ยว 5) ในการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวไม่ควรให้มีผลกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่นผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนจึงต้องมีความระมัดระวังและต้องวางแผนรองรับในเรื่องนี้เอาไว้ด้วยเพื่อที่จะรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมของท้องถิ่นให้คงอยู่ 6) ควรมีความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพยายามที่จะทำให้ท้องถิ่นเป็นสถานที่พักผ่อนที่มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ 7) เงินทุนและแรงงานรวมทั้งนักบริหารทางการท่องเที่ยวควรมาจากชุมชนเจ้าของท้องถิ่น เพื่อที่ท้องถิ่นจะสามารถควบคุมการพัฒนาทางการท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการได้ 8) เรื่องราวและงานเทศกาลที่จัดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่และสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น 9) วิธีการและความถี่ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทางด้านการท่องเที่ยวควรได้รับความเห็นชอบจากประชาชนในท้องถิ่นเพราะจะเป็นเครื่องวัดความต้องการประเภทและจำนวนนักท่องเที่ยวของท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อเป็นรูปแบบในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบ่อสวก คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การจัดการการท่องเที่ยว, การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การมีส่วนร่วมของชุมชน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1437
Appears in Collections:STD-Dissertation
STD-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kodchaphorn_vesurai.pdf183.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.