Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1443
Title: การพัฒนาระบบและกลไกที่เหมาะสม ของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบน
Other Titles: DEVELOPMENT OF APPROPRIATE SYSTEM AND MECHANISM OF PUBLIC POLICY FORMULATION OF LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION IN UPPER NORTHERN THAILAND
Authors: ทศพล, อะทาโส
Keywords: การกำหนดนโยบายสาธารณะ
ระบบและกลไกการตรวจสอบ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Public Policy Formulation
System and Mechanism For Verificating
Local Administrative Organization
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบและกลไกที่เหมาะสมของกระบวนการ กําหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต ภาคเหนือตอนบน ในประเด็น 2.1) องค์ประกอบที่เหมาะสมของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน 2.2) ตัวชี้วัดที่เหมาะสมของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหมาะสมของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบน และ 4) เพื่อเสนอระบบและกลไกการตรวจสอบที่ เหมาะสมของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขต คเหนือตอนบน ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็น (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยในขั้นตอนแรก การศึกษาเอกสาร (Document Research) และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured - Interview or Formal Interview) จากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อให้ทราบถึงระบบและกลไกกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการขั้นตอนที่สอง ใช้การวิจัยอนาคต (Future Research) ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เพื่อให้ได้องค์ประกอบที่เหมาะสมและตัวชี้วัดที่เหมาะสม ขั้นตอนที่สามใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษากระบวนการที่เหมาะสมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ จากปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยประชากรเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการวิเคราะห์อำนาจทดสอบ (Power of Test) โดยโปรแกรม G*Power Version 3.1 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 120 แห่ง วิเคราะห์ ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อให้ได้ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหมาะสมของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ และขั้นตอนสุดท้าย เป็นการตรวจสอบระบบและกลไกที่เหมาะสมของกระบวนการกำาหนดนโยบายสาธารณะ โดยการประชุมกลุ่มย่อย (Small Groups Discussion) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบและกลไกการตรวจสอบกระบวนการกำหนดนโยบาย สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน ยังไม่ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัด และเป็นรูปธรรมแต่ทางผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวม พบว่าระบบและกลไกการตรวจสอบกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบไปด้วย 1. ระบบกลไกด้านกฎหมาย 2.หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้กำกับดูแล 3. กลไกภาคประชาชน และ 4. กลไกจากองค์กร นายบอก 2) การศึกษาองค์ประกอบที่เหมาะสมของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะพบว่า มี 8 ข้อ ประกอบด้วย 1. ศึกษาประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น 2. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน 3.ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ 4 ดำเนินการตามแนวทางของผู้กำกับดูแล 5. กำหนดวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน 6. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม บูรณาการทุกภาคส่วน และ 8. การตัดสินใจเชิงเหตุผล ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวได้กระจายเป็นตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น 48 ตัว โดยองค์ประกอบและตัวชี้วัดทุกตัว เป็นองค์ประกอบและตัวชี้วัดที่เหมาะสมในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหมาะสมของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ปัจจัยด้านวัตถุประสงค์และเป้าหมายนโยบาย ปัจจัยด้านองค์กรภายในและปัจจัยด้านทรัพยากรนโยบาย มีความสัมพันธ์กับความเหมาะสมของกระบวนการกำหนด นโยบายสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=167.315 P<0.05) โดยปัจจัยด้านวัตถุประสงค์และ เป้าหมายนโยบายมีความสัมพันธ์สูงสุด กับความเหมาะสมของกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ (t=12.317 P<0.05) รองลงมาเป็นปัจจัยด้านหน่วยงานภายใน (t=2,895 P<0.05) และปัจจัยด้านทรัพยากรนโยบาย (t=2,246 P<0.05) ตามลำดับ โดยปัจจัยทั้งหมดร่วมกันอธิบายความผันแปรของ กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร้อยละ 81.20 (R2= .812 P<0.05) 4) ระบบการตรวจสอบกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นเตรียมการเป็นการวิเคราะห์ทรัพยากรบริหาร และศึกษาประเด็นปัญหาและข้อเท็จจริง 2. ขั้นยกร่าง เป็นการปฏิบัติงานภายใต้ ระเบียบและข้อกฎหมาย โดยคณะกรรมการที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และความต้องการ 3) ขั้นตรวจสอบ เป็นขั้นตอนการตรวจสอบความพร้อมของนโยบายสาธารณะโดยคณะกรรมการที่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นแต่งตั้ง และเสนอให้ผู้บริหารประกาศใช้ ในด้านกลไกการตรวจสอบกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะประกอบไปด้วย 1) การปฏิบัติตามขั้นตอน และหลักเกณฑ์ที่ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ 2) การปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลจากราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค 3) การตรวจสอบโดยภาคประชาสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม และ 4) การปฏิบัติตามแนวทางที่องค์กรภายนอกหรือองค์กรอิสระกำหนด
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1443
Appears in Collections:BA-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thosaphon_ataso.pdf221.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.