Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1445
Title: การเพิ่มมูลค่าน้ำมันมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางและเวชภัณฑ์
Other Titles: VALUE ADDED OF COCONUT OIL AS COSMECEU TICAL AND PHARMACEUTICAL PRODUCTS
Authors: อุเทน, จำใจ
Keywords: น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า
ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม
ผลิตภัณฑ์บรรเทาปวด
Virgin coconut oil
Facial skincare product
Hair treatment product
Pain MAE relief product
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (virgin coconut oil, VCO) ถูกสกัดด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่ ผ่านความร้อนและสารเคมี น้ำมันมีลักษณะใส ไม่มีสี และมีกลิ่นของเนื้อมะพร้าวสดนำมาศึกษาฤทธิ์ ทางชีวภาพ การวิเคราะห์องค์ประกอบกรดไขมัน วิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ฤทธิ์ ยับยั้งเอนไซม์ไฟว์อัลฟารีดักเทส และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรติเนส จากนั้นนำ VCO ไป เพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม และผลิตภัณฑ์บรรเทาปวด ศึกษาความ คงตัวของผลิตภัณฑ์ภายใต้สภาวะที่แตกต่างกัน ได้แก่ 4 °C, 45 °C และอุณหภูมิห้อง และสภาวะเร่ง ร้อนสลับเย็นที่อุณหภูมิ 45 °C และ 4 °C สลับกัน จากนั้นประเมินความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ใน อาสาสมัคร 20 คน จากผลการศึกษาพบว่า VCO มีกรดลอริกเป็นกรดไขมันหลัก และมี สารประกอบฟีนอลิก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบการขจัดอนุมูลเอบีทีเอส อนุมูลดีพีพีเอช และ อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์ ซึ่ง VCO มีค่า IC50 เท่ากับ 1.39 + 0.01 มก./มล., 78.16 ± 0.06 มก./มล. และ 27.43 + 0.37 มก./มล. ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนสที่ย่อยสลาย คอลลาเจน และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสในการป้องกันการสร้างเมลานิน พบว่า VCO มีค่า IC) เท่ากับ 625.93 + 11.62 มก./มล. และ 761.89 + 18.85 มก./มล. ตามลำดับ เมื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้ง เอนไซม์ไฟว์อัลฟารีดักเทสในการป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม พบว่า VCO มีคามิลลิกรัมสมมูลของ ฟิแนสเทอไรด์ต่อตัวอย่าง 1 กรัม (FEA) เท่ากับ 0.75 + 0.07 มก. ส่วนฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เมทริกซ์ เมทัลโลโปรตีเนส ที่ช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเสื่อมของข้อ พบว่า VCO มีฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไฟว์อัลฟารีดักเทสในการป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม พบว่า VCO มีค่ามิลลิกรัมสมมูลของ ฟิแนสเทอไรด์ต่อตัวอย่าง 1 กรัม (FEA) เท่ากับ 0.75 + 0.07 มก. ส่วนฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เมทริกซ์ เมทัลโลโปรติเนส ที่ช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเสื่อมของข้อ พบว่า VCO มีฤทธิ์การยับยั้ง MMP-9 สูงที่สุด เท่ากับ 84.53 + 1.00% การหาสารประกอบฟีนอลิกในน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ พบว่ามีค่ามิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อตัวอย่าง 1 กรัม (GAE) เท่ากับ 14.79 + 0.19 มก. ฤทธิ์ ของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส เอนไซม์ไทโรซิเนส เอนไซม์ไฟว์อัลฟารีดักเทสเอนไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรติเนส ส่วนหนึ่งมาจากสารประกอบฟีนอลิกที่มี อยู่ในน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ จากฤทธิ์ชีวภาพดังกล่าวจึงนำ VCO ไปพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์บำรุง ผิวหน้า ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม และผลิตภัณฑ์บรรเทาปวด เมื่อศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์ภายใต้สภาวะที่แตกต่างกัน พบว่าผลิตภัณฑ์มีความคงตัวดีทางกายภาพในทุกสภาวะ และเมื่อประเมินความ พึงพอใจในอาสาสมัคร พบว่าอาสาสมัครมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์โดยรวมดีมาก และไม่มีอาการ ระคายเคืองตลอดช่วงเวลาประเมิน การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ VCO ที่สามารถนำมาใช้ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางและเวชภัณฑ์ และเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่ VCO
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1445
Appears in Collections:ENG-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
uthen_jumjai.pdf82.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.